อำเภอลาดหลุมแก้ว

อำเภอในจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย

ลาดหลุมแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี​มีลักษณะ​เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีคลองผ่านหลายสายปัจจุบัน​เป็นพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทางไปจังหวัดสุพรรณบุรีและ​จังหวัดนครปฐม อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรในอำเภอ​คือเกษตรกร​และมีอุตสาหกรรม​ปะปนอยู่ด้วย

อำเภอลาดหลุมแก้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lat Lum Kaeo
คำขวัญ: 
ไข่เป็ดแดงดี มีนกให้ดู
ริมคูบัวบาน สุสานแห่งหอย
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอลาดหลุมแก้ว
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอลาดหลุมแก้ว
พิกัด: 14°2′14″N 100°24′17″E / 14.03722°N 100.40472°E / 14.03722; 100.40472
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด183.12 ตร.กม. (70.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด72,157 คน
 • ความหนาแน่น394.04 คน/ตร.กม. (1,020.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12140
รหัสภูมิศาสตร์1305
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว หมู่ที่ 1 ถนนปทุมธานี-บางเลน ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 12140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้

อำเภอลาดหลุมแก้วเดิมชื่อ อำเภอเชียงราก ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 1 เมษายน 2460 จัดแบ่งอำเภอใหม่ จากเดิมมีอำเภอเมือง อำเภอสามโคก และอำเภอเชียงราก ให้จัดการปกครองเพียงสองอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง แบ่งเป็น 15 ตำบล อำเภอสามโคก แ��่งเป็น 11 ตำบล และให้รวมท้องที่ตำบลทางตะวันตกของจังหวัดปทุมธานี คือ ตำบลระแหง ตำบลหน้าไม้ ตำบลลาดหลุมแก้ว ตำบลคูบางหลวง ตำบลคูขวาง และตำบลคูตัน มาตั้งเป็น อำเภอลาดหลุมแก้ว[2] ให้ยกเลิกอำเภอเชียงราก และย้ายคณะกรรมการอำเภอเชียงราก มาทำการ ณ ที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเชียงราก จังหวัดปทุมธานี เป็น อำเภอลาดหลุมแก้ว[1]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2479 โอนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางกะดี มาขึ้นกับอำเภอลาดหลุมแก้ว[3]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลระแหง ในท้องที่บางส่วนของตำบลระแหง[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลระแหง เป็นเทศบาลตำบลระแหง[5] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

พื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้วแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 67 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[6]
สี แผนที่
1. ระแหง Rahaeng
12
18,223
 
 
2. ลาดหลุมแก้ว Lat Lum Kaeo
7
5,604
 
3. คูบางหลวง Khu Bang Luang
12
12,743
 
4. คูขวาง Khu Khwang
5
6,131
 
5. คลองพระอุดม Khlong Phra Udom
7
9,236
 
6. บ่อเงิน Bo Ngoen
7
4,404
 
7. หน้าไม้ Namai
11
14,802
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

อำเภอลาดหลุมแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลระแหง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลระแหง
  • เทศบาลตำบลคลองพระอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพระอุดมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคูขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลระแหง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระแหง (นอกเขตเทศบาลตำบลระแหง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดหลุมแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคูบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูบางหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเงินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าไม้ทั้งตำบล

การคมนาคม

แก้

เส้นทางสายหลักของอำเภอลาดหลุมแก้ว ได้แก่

  1. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก)
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี)
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 (ถนนปทุมธานี-บางเลน)

เส้นทางสายรองของอำเภอลาดหลุมแก้ว ได้แก่ ถนนเลียบคลองพระอุดม

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
วัดเจดีย์หอย

เป็นวัดที่อยู่ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว ในบริเวณวัดมีพระพุทธรูปปางพระผอม เป็นพระพุทธรูป ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูปตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เรียกว่า "ศาลาแดง" เดิมตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ สร้างเป็นพลับพลาไม้สักทั้งหลังแม้แต่หลังคา นับเป็นพลับพลาที่สวยงามและทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่ง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 346 (ปทุมธานี-บางเลน) ถึงหลักกม.ที่ 21-22 แล้วแยกเข้าวัดไปอีก 10 กม. วัดนี้เป็นแหล่งเก่าแก่ของหอยนางรมยักษ์ มีอายุกว่า 1,000 ปี มีเจดีย์ที่ก่อสร้างขึ้นจากการนำเอาหอยนางรมมาสร้างเป็นรูปเจดีย์ จึงเรียกว่า "เจดีย์หอย" มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ องค์แรกอยู่ปากทางเข้าวัด องค์ที่สองอยู่ในบริเวณวัด ในบริเวณวัดมีบึงน้ำขนาดใหญ่มีปลาสวายที่ทางวัดเลี้ยงอยู่เป็นจำนวนมาก และบ่อเต่าอยู่ข้างๆบึง นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาและเต่าได้

ตั้งอยู่ที่ บ้านลำมหาเมฆ หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ห่างจากจังหวัดตามเส้นทางถนนปทุมธานี-บางเลน ประมาณ 14 กม. อยู่ระหว่างทางไปวัดเจดีย์หอย จะพบทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าวัด ระยะทางจากทางแยกนี้ประมาณ 1 กม. สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณบึงน้ำไหลของวัดมีนก หลากหลายชนิดอาศัยสร้างรัง ฟักไข่ตามธรรมชาติจำนวนมาก ได้แก่ นกกระยางขาว นกกระสา นกกาน้ำ และนกชนิดอื่นๆ [7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้แบ่งเขตท้องที่ ในจังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 5–6. April 1, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางกะดี จังหวัดปทุมธานี ไปขึ้นอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2120–2121. November 8, 1936.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 31-32. November 28, 1956.
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
  6. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  7. "อำเภอลาดหลุมแก้ว, ปทุมธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-12. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.