อำเภอภูเวียง
ภูเวียง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น อาณาเขตเดิมครอบคลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่นฝั่งตะวันตกทั้งหมด ปัจจุบันแบ่งพื้นที่ออกไปเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอชุมแพ[2] อำเภอสีชมพู อำเภอเวียงเก่า[3][4] อำเภอภูผาม่าน[5] อำเภอหนองนาคำ[6] และบางส่วนของอำเภอหนองเรือ[7][8][9][10] ซึ่งได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมา
อำเภอภูเวียง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phu Wiang |
คำขวัญ: ภูเวียงเมืองเก่า ศาลเจ้าจอมปากช่อง พัทยาสองโสภิณ เกาะกุดหินหาดสวรรค์ ศรัทธามั่นหลวงปู่ธีร์ ชมวิถีถิ่นควายไทย[1] | |
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอภูเวียง | |
พิกัด: 16°39′16″N 102°22′37″E / 16.65444°N 102.37694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ขอนแก่น |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 621.6 ตร.กม. (240.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 71,727 คน |
• ความหนาแน่น | 115.39 คน/ตร.กม. (298.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 40150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4016 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอภูเวียง หมู่ที่ 3 ถนนภูเวียง-กุดฉิม ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 40150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอภูเวียงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองนาคำ และอำเภอโนนสัง (จังหวัดหนองบัวลำภู)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออุบลรัตน์และอำเภอหนองเรือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองเรือและอำเภอชุมแพ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเวียงเก่า
ประวัติ
แก้ภูเวียงเป็นเมืองเก่ามาแต่โบราณกาล โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกตั้ง จังหวัดขอนแก่น มีเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ เมืองชนบท เมืองภูเวียง และเมืองขอนแก่น โดยที่เมืองภูเวียงเป็นเมืองที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก คนทั้งหลายมักจะเรียกเมืองภูเวียงว่าเป็น “หัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตก” ตามประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ของอำเภอภูเวียง ปรากฏว่าเมืองประมาณ พ.ศ. 2300 มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสิงห์ ภายลังได้รับแต่งตั้งเป็น “กวนทิพย์มนตรี” ได้เข้าไปล่าเนื้อในเขาภูเวียง กวนทิพย์มนตรีเดิมอยู่บ้านข่าเชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้เห็นในวงภูเวียงเป็นทีราบน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงชักชวนพี่น้องเข้าไปตั้งหลักฐานบ้านเรือนครั้งแรก อพยพไปประมาณ 10 ครอบครัว ไปตั้งบ้านบริเวณบริเวณด่านช้างชุม เพราะที่ตรงนั้นมีโขลงช้างป่ามารวมกันมาก คือ บ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน ขณะนั้นพื้นแผ่นดินภูเวียงขึ้นกับฝ่ายลาวล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชของประเทศไทย เมื่อกวนทิพย์มนตรีไปตั้งบ้านเรือน ณ ดังกล่าวและต่อมามีประชาชนเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทน์ เข้าไปอยู่จำนวนมาก บ้านเมืองก็ขยายออกไปหลายหมู่บ้าน ทางเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้แต่ตั้งให้กวนทิพย์มนตรีเป็นเจ้าเมืองภูเวียง ส่งผ้าขาวเป็นเครื่องบรรณาการแก่เมืองเวียงจันทน์
ต่อมากวนทิพย์มนตรีถึงแก่กรรม จึงตั้งท้าวศรีสุธอน้องชายเป็นเจ้าเมืองแทน ในระหว่างนั้น พระวอพระตาเป็นกบฎต่อเมืองผู้ครองนครเวียงจันทน์ และได้หลบตัวมาอยู่ในเมืองโกมุทไสย์ (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) ต่อมาเจ้านครเวียงจันทน์สั่งให้ทหารจับพระวอพระตา เมื่อพระวอพระตารู้ตัวจึงหลบหนีไปอยู่ดอนมดแดงแขวงเมืองอุบลราชธานี เจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้แม่ทัพคุมทหาร ติดตามไปจับพระวอพระตาประหารชีวิต ความทราบถึงพระเจ้าตากสินทราบพิโรธ เห็นเจ้านครเวียงจันทร์ดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และรุกล้ำแดนไทย จึงส่งให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) สองพี่น้องยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทน์ ปรากฏว่าพระยาจักรีตีนครเวียงจันทน์แตก และเข้ายึดเมืองนครเวียงจันทน์ และหลวงพระบางไว้ได้ ต่อมาท้าวศรีสุธอเจ้าเมืองภูเวียง ซึ่งอยู่ในความปกครองของเจ้าผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ไหวตัวทัน จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรี และพระยาจักรีจึงสั่งให้ท้าวศรีสุธอกลับไปเป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม และให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ท้าวศรีสุธอถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าเมืองต่อจากท้าวศรีสุธอต่อมาอีก 2 คน เมื่อท้าวสุธอที่ 3 ถึงแก่กรรม พระศรีธงชัยเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่องพระศรีธงชัยถึงแก่กรรม ข้าหลวงจันทร์มาซึ่งส่งมาจากหนองคายเป็นเจ้าเมืองแทน แล้วจึงยุบภูเวียงเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อเมืองขอนแก่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 โดยมี พระประสิทธิสรรการ (สีหะไกร) เป็นนายอำเภอคนเเรก ต่อมา ในปีพ.ศ. 2453 หลวงภูมิพิริยการ (สำอาง ประจันตเสน) ได้รับเเต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนที่ 2 เเละในปีเดียวกัน ได้ย้ายที่ทำการอำเภอจากเมืองเก่าไปอยู่เมืองใหม่ (ย้ายที่ว่าการอำเภอ) สำหรับบริเวณเมืองเก่าที่ย้ายออกไป ชาวบ้านเรียกว่า "บ้านเมืองเก่า" ตั้งเเต่บัดนั้นเป็นต้นมา[11]
- วันที่ 29 มีนาคม 2467 ยุบตำบลโนนคอม ไปรวมกับท้องที่ตำบลโนนหัน[5]
- วันที่ 13 มิถุนายน 2469 ยุบตำบลหนองขาม และตำบลเมืองเก่า และตั้ง เรียกรวมว่า ตำบลในเมือง[3]
- วันที่ 28 มกราคม 2484 ตั้งตำบลนาหว้า แยกออกจากตำบลหว้าทอง[12]
- วันที่ 8 สิงหาคม 2486 แยกตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลศรีสุข และตำบลขัวเรียง ของอำเภอภูเวียง ไปตั้งเป็น อำเภอชุมแพ[2]
- วันที่ 14 สิงหาคม 2494 ตั้งตำบลกุดขอนแก่น แยกออกจากตำบลโนนทอง และตำบลนาหว้า[13]
- วันที่ 15 กันยายน 2496 ตั้งตำบลกุดกว้าง แยกออกจากตำบลโนนทัน[8]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเรือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านเรือ[14]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลนาชุมแสง แยกออกจากตำบลบ้านเรือ[15]
- วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2503 โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านหัวฝาย (ในขณะนั้น) ของตำบลโนนทัน ไปตั้งเป็นหมู่ 11 ของตำบลนาชุมแสง กับโอนพื้นที่หมู่ 13 บ้านถ้ำแข้ (ในขณะนั้น) ของตำบลโนนทอง ไปตั้งเป็นหมู่ 12 ของตำบลนาชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 15 ของตำบลหว้าทอง ไปตั้งเป็นหมู่ 22 ของตำบลบ้านเรือ[9]
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2503 โอนพื้นที่ตำบลโนนทัน ตำบลโนนทอง และตำบลกุดกว้าง ของอำเภอภูเวียง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองเรือ อำเภอเมืองขอนแก่น[10]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลกุดธาตุ แยกออกจากตำบลบ้านโคก และตั้งตำบลเขาน้อย แยกออกจากตำบลในเมือง[16]
- วันที่ 13 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลหนองกุงธนสาร แยกออกจากตำบลบ้านเรือ[17]
- วันที่ 26 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนวน แยกออกจากตำบลบ้านโคก[18]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2518 ตั้งตำบลหนองกุงเซิน แยกออกจากตำบลนาหว้า และตำบลกุดขอนแก่น[19]
- วันที่ 19 กันยายน 2521 ตั้งตำบลทุ่งชมพู แยกออกจากตำบลหว้าทอง[20]
- วันที่ 19 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลสงเปือย แยกออกจากตำบลนาชุมแสง[21]
- วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ตั้งตำบลเมืองเก่าพัฒนา แยกออกจากตำบลเขาน้อย[22]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลดินดำ แยกออกจากตำบลหว้าทอง และทำให้ตำบลหว้าทอง เหลือเขตการปกครองเพียง 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านหว้าทอง และหมู่ 2 บ้านพระบาท จึงให้โอนหมู่บ้านของตำบลทุ่งชมพูมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลหว้าทอง จำนวน 5 หมู่บ้าน [23] โดยโอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านห้วยบง (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งชมพู ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลหว้าทอง กับโอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านโคกกลาง (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งชมพู ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลหว้าทอง กับโอนพื้นที่หมู่ 8 บ้านหนองผักแว่น (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งชมพู ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลหว้าทอง กับโอนพื้นที่หมู่ 7 บ้านโป่งสัง (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งชมพู ไปตั้งเป็นหมู่ 6 ของตำบลหว้าทอง กับโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านกุดหิน (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งชมพู ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลหว้าทอง และให้โอนหมู่บ้านของตำบลหว้าทองมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลทุ่งชมพู จำนวน 1 หมู่บ้าน โดยโอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านพระบาทโนนคูณ (ในขณะนั้น) ของตำบลหว้าทอง ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลทุ่งชมพู
- วันที่ 16 กันยายน 2533 โอนพื้นที่หมู่ 5 บ้านหินร่อง (ในขณะนั้น) และหมู่ 6 บ้านโนนสวรรค์ (ในขณะนั้น) ของตำบลในเมือง ไปขึ้นกับตำบลเมืองเก่าพัฒนา[24]
- วันที่ 3 ธันวาคม 2536 ตั้งตำบลภูเวียง แยกออกจากตำบลบ้านเรือ[25]
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลกุดธาตุ ตำบลบ้านโคก และตำบลขนวน ของอำเภอภูเวียง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองนาคำ[6] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอภูเวียง
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2542 เปลี่ยนแปลงชื่อสุขาภิบาลบ้านเรือ อำเภอภูเวียง เป็น สุขาภิบาลภูเวียง[26]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลภูเวียง เป็น เทศบาลตำบลภูเวียง[27] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 แยกพื้นที่ตำบลในเมือง ตำบลเมืองเก่าพัฒนา และตำบลเขาน้อย ของอำเภอภูเวียง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงเก่า[4] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอภูเวียง
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองนาคำ และกิ่งอำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง เป็น อำเภอหนองนาคำ และอำเภอเวียงเก่า[28] ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
การจัดตั้งเป็นจังหวัด
แก้ประชาชนในพื้นที่ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยกอำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา
ก่อนหน้านี้ มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป[29] ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวียงเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง[30][31]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอภูเวียงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ้านเรือ | (Ban Ruea) | 9 หมู่บ้าน | 8. | สงเปือย | (Song Puai) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | หว้าทอง | (Wa Thong) | 8 หมู่บ้าน | 9. | ทุ่งชมพู | (Thung Chomphu) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | กุดขอนแก่น | (Kut Khon Kaen) | 15 หมู่บ้าน | 10. | ดินดำ | (Din Dam) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | นาชุมแสง | (Na Chum Saeng) | 12 หมู่บ้าน | 11. | ภูเวียง | (Phu Wiang) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | นาหว้า | (Na Wa) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
6. | หนองกุงธนสาร | (Nong Kung Thanasan) | 16 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
7. | หนองกุงเซิน | (Nong Kung Soen) | 9 หมู่บ้าน |
ลำดับตำบลในอำเภอภูเวียงนี้อ้��งอิงตามกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากต้องเรียงตามลำดับรหัสตำบล
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอภูเวียงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลภูเวียง
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเรือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหว้าทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหว้าทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดขอนแก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาชุมแสงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงธนสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงธนสารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเซิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงเซินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งชมพูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดินดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดินดำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลภูเวียง)
สถานศึกษา
แก้มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย
แก้- วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเวียงพาณิชยการ
โรงเรียน
แก้- โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม (โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ)
- โรงเรียนเวียงนครวิทยาคม
- โรงเรียนกุดขอนแก่นวิทยาคม
- โรงเรียนอนุบาลภูเวียง
- โรงเรียนบ้านนาก้านเหลือง
- โรงเรียนภูเวียงศึกษา
- โรงเรียนนันทพร2
อ้างอิง
แก้- ↑ เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอชุมแพและยุบอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (41 ง): 2423. August 3, 1943. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กิ่งอากาศอำนวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และอำเภอมีชัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 223–224. June 13, 1926.
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (49 ง): 5. May 16, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลโนนคอม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งยุบไปรวมขึ้นตำบลโนนหัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 359. March 29, 1924.
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองนาคำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 27. May 26, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ "กระทู้ถามที่ ๑/๒๔๘๔ ของนายโสภัณ สุภธีระ ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เรื่อง การย้ายอำเภอภูเวียง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 3852–3853. October 28, 1941.
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (58 ง): 3270–3272. September 15, 1953.
- ↑ 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (12 ง): 280–284. February 9, 1960.
- ↑ 10.0 10.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอภูเวียง และกิ่งอำเภอหนองเรือ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (94 ก): 916–918. November 15, 1960.
- ↑ https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/elaaeruuengemuuengewiiyngekaa_0.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 114. January 28, 1941.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลกุดขอนแก่น ในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (52 ง): 3320–3322. August 14, 1951.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเรือ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-53. August 3, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จัจังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. December 23, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียงและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (67 ง): 2270–2276. July 22, 1969.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพลและอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (94 ง): 3009–3019. October 13, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอน้ำพอง และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (142 ง): 2439–2445. September 26, 1972.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอน้ำพอง และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (170 ง): 2083–2093. August 26, 1975.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอน้ำพอง กิ่งอำเภออุบลรัตน์ อำเภอน้ำพอง กิ่งอำเภอเปือยน้อย อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (98 ง): 3095–3103. September 19, 1978.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง อำเภอกระนวน และกิ่งอำเภอพระยืน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (127 ง): 2790–2797. August 19, 1980.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น หนองสองห้อง บ้านฝาง มัญจาคีรี และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (168 ง): 5968–5987. August 25, 1987.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองสองห้อง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอภูเวียง อำเภอพระยืน อำเภอชนบท และอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-91. August 31, 1988.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (174 ง): (ฉบับพิเศษ) 31-36. September 16, 1990.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (201 ง): (ฉบับพิเศษ) 22-26. December 3, 1993.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อ "สุขาภิบาลบ้านเรือ" เป็น "สุขาภิบาลภูเวียง" อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (10 ง): 5. February 4, 1999.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05.
- ↑ http://www.ichumphae.com/description.aspx?q_sec=76075851
- ↑ http://www.oknation.net/blog/panuwat838084/2010/05/07/entry-1
- ↑ http://webboard.mthai.com/5/2005-12-13/176255.html[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์เทศบาลตำบลภูเวียง เก็บถาวร 2009-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- [1]