อันเดิช เซ็ลซิอุส

นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน (ค.ศ. 1701–1744)

อันเดิช เซ็ลซิอุส (สวีเดน: Anders Celsius, เสียงอ่านภาษาสวีเดน: [ˈânːdɛʂ ˈsɛ̌lːsɪɵs]; 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2244 – 25 เมษายน พ.ศ. 2287)[1] เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักฟิสิกส์ชาวสวีเดนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยอุปซอลาเมื่อ พ.ศ. 2273 เมื่ออายุเพียง 29 ปี เซ็ลซิอุสเป็นผู้คิดแบ่งช่องหรือขีดเทอร์มอมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิเมื่อ พ.ศ. 2286 โดยนับอุณหภูมิของน้ำแข็งเท่ากับ 0 องศา และที่จุดเดือดของน้ำที่ 100 องศา ที่ระดับน้ำทะเล โดยเรียกชื่อว่าองศาเซนติเกรดซึ่งใช้มาเป็นเวลานาน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็นองศาเซลเซียสเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เซ็ลซิอุสเป็นผู้รณรงค์สนับสนุนให้เริ่มใช้ปฏิทินกริกอเรียน และเป็นผู้เริ่มสังเกตการณ์แสงออโรราหรือแสงเหนือ ใน พ.ศ. 2283 เซ็ลซิอุสได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการหอดูดาวของมหาวิทยาลัยที่สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาเอง เซ็ลซิอุสเสียชีวิตขณะมีอายุเพียง 43 ปี

อันเดิช เซ็ลซิอุส
ภาพเหมือนโดย Olof Arenius
เกิด27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1701(1701-11-27)
อุปซอลา ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต25 เมษายน ค.ศ. 1744(1744-04-25) (42 ปี)
อุปซอลา ประเทศสวีเดน
สัญชาติสวีเกน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุปซอลา
มีชื่อเสียงจากเซลเซียส
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาดาราศาสตร์, ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, ธรณีวิทยา
ลายมือชื่อ

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

แก้

อันเดิช เซ็ลซิอุสเกิดที่อุปซอลา ประเทศสวีเดน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2244[1] ตระกูลของเขามาจาก Ovanåker ในจังหวัด Hälsingland[2] ชื่อสกุล Celsius เป็นรูปแผลงเป็นละตินจากชื่ออสังหาริมทรัพย์ (ละติน celsus "เนิน")

เขาเป็นบุตรของ Nils Celsius ศาสตรจารย์ดาราศาสตร์ และหลานชายของ Olof Celsius นักพฤกษศาสตร์ Magnus Celsius นักคณิตศาสตร์ กับ Anders Spole นักดาราศาสตร์[3][4] เขาเชี่ยวชาญในคณิตศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก อันเดิช เซ็ลซิอุสศึกษาที่มหาวิทยาลัยอุปซอลา และใน พ.ศ. 2273 ก็ได้เป็นศาสตราจารย์ดาราศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1   Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Celsius, Anders" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 5 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 609.
  2. "Anders Celsius (1701-1744)". Uppasala Astronomical Observatory. สืบค้นเมื่อ 2022-04-23.
  3. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Anders Celsius", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
  4. Collinder 1970.

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้