อูหฺวาน
อูหฺวาน (จีนตัวย่อ: 乌桓; จีนตัวเต็ม: 烏桓; พินอิน: Wūhuán, < ภาษาจีนฮั่นตะวันออก: *ʔɑ-ɣuɑn, < ภาษาจีนเก่า (ราว 78 ก่อนคริตตกาล): *ʔâ-wân < *Awar[1]) หรือ ออหวน[2] เป็นชนร่อนเร่ในตระกูลโพรโต-มองโกล[3] ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ในอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคือมณฑลเหอเป่ย์ เหลียวหนิง ชานซี เทศบาลนครปักกิ่ง และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
ประวัติ
แก้หลังจากที่ชนเผ่าตงหูถูกปราบโดยชนเผ่าซฺยงหนูเมื่อราว 209 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าตงหูได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ตงหูทางเหนือกลายเป็นชนเผ่าเซียนเปย์ ในขณะที่ตงหูทางใต้ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ มณฑลเหลียวหนิงในปัจจุบันกลายเป็นชนเผ่าอูหฺวาน ในพงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (โฮฺ่วฮันชู) ระบุว่า "ภาษาและวัฒนธรรมของเซียนเปย์เหมือนกับอูหฺวาน"[4] ชนเผ่าอูหฺวานเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิของชนเผ่าซฺยงหนูจนถึงเมื่อ 121 ปีก่อนคริสตกาล ในพงศาวดารราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (เล่มที่ 120) ระบุว่า "ตั้งแต่ครั้งที่มั่วตู๋ฉานยฺหวี (冒頓單于) ตีแตก อูหฺวานก็อ่อนแอลง ถูกกดขี่โดยเพื่อซฺยงหนูมาโดยตลอด และถูกบังคับให้ส่งบรรณาการเป็นประจำทุกปีด้วยหนังวัว หนังม้า และหนังแกะ ถ้าผู้ใดไม่ส่งบรรณาการ ภรรยาและลูกจะถูกพรากไป”
เมื่อ 121 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง ขุนพลของราชวงศ์ฮั่นเอาชนะชนเผ่าซฺยงหนูทางตะวันออก จากนั้นจึงจัดตั้งเมือง (郡 จฺวิ้น) ของชนเผ่าอูหฺวาน 5 เมิอง ได้แก่ ช่างกู่ (上谷) ยฺหวีหยาง (漁陽) โยฺ่วเป่ย์ผิง (右北平), เหลียวซี (遼西) และเหลียวตง (遼東) บริเวณชายแดนทางตอนเหนือของจีนเพื่อใช้ให้ชนเผ่าอูหฺวานเฝ้าระวังชนเผ่าซฺยงหนู หัวหน้าชนเผ่าอูหฺวันต้องส่งบรรณาการไปฉางอานนครหลวงของราชวงศ์ฮั่นทุกปี และได้รับบำเหน็จรางวัลตอบแทน
เมื่อ 78 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าอูหฺวานปล้นสุสานของฉานยฺหวี (單于; ตำแหน่งผู้นำชนเผ่าซฺยงหนู) ของชนเผ่าซฺยงหนู ชาวซฺยงหนูที่เดือดดาลนำกองกำลังม้าไปทางตะวันออกและตีชนเผ่าอูหฺวานแตพก่าน[5] ราชสำนักฮั่นส่งฟ่าน หมินโหยฺ่วพร้อมด้วยทหาร 20,000 นายไปช่วยเหลือชนเผ่าอูหฺวาน แต่มาถึงช้าเกินไปและชนเผ่าซฺยงหนูถอยไปไกลแล้ว ฟ่าน หมินโหยฺ่ว��ึงโจมตีชนเผ่าอูหฺวานแทนจนแตกพ่ายและตัดศีรษะผู้นำของชนเผ่าอูหฺวานสามคน[6]
เมื่อ 71 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าอูหฺวานร่วมกับราชสำนักฮั่น ชนเผ่าติงหลิง (丁零) และชนเผ่าอูซุน (烏孫) ตีชาวซฺยงหนูแตกพ่าย[5]
ในปี ค.ศ. 7 ราชสำนักฮั่นโน้มน้าวให้ชนเผ่าอูหฺวานหยุดส่งบรรณาการแก่ชนเผ่าซฺยงหนู ชนเผ่าซฺหยงจึงโจมตีชนเผ่าอูหฺวานจนแตกพ่าย[7]
ในปี ค.ศ. 49 เห่าตั้น (郝旦) ผู้อาวุโสของชนเผ่าอูหฺวานแห่งเมืองเหลียวซี เดินทางไปมาที่ราชสำนักฮั่นพ���้อมด้วยผู้นำชนเผ่าอีก 922 คน และ "ส่งบรรณาการ" แก่จักรพรรดิฮั่นกวังอู่ด้วยข้าทาส วัว ม้า เกาทัณฑ์ เสือ เสือดาวและหนังเตียว (貂)
ในปี ค.ศ. 58 เพียนเหอ (偏何) ผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์โจมตีและสังหารซินจื้อเปิน (歆志賁) ผู้นำชนเผ่าอูหฺวานที่ก่อความวุ่นวายในเมืองยฺหวีหยาง[8]
ในปี ค.ศ. 109 ชนเผ่าอูหฺวานร่วมกับชนเผ่าเซียนเปย์ในการโจมตีเมืองอู่ยฺเหวียน (五原) และเอาชนะกองกำลังท้องถิ่นของราชวงศ์ฮั่น[9]
ในปี ค.ศ. 168 ชนเผ่าอูหฺวานก่อตั้งกลุ่มย่อยที่เป็นอิสระต่อกันหลายกลุ่มภายใต้ผู้นำของตนเอง กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดนำโดยหนานโหลฺว (難樓) ในเมืองช่างกู่, ชิวลี่จฺวี (丘力居) ในเมืองเหลียวซี, ซูผูเหยียน (穌僕延) ในเมืองเหลียวตง และอูเหยียน (烏延) ในเมืองโยฺ่วเป่ย์ผิง[10]
ในปี ค.ศ. 187 ชิวลีจฺวีเข้าร่วมการกบฏของเตียวซุ่น (張純 จาง ฉุน) หลังจากเตียวซุ่นก่อกบฏไม่สำเร็จถูกตีแตกพ่ายในปี ค.ศ. 188 ชิวลี่จฺวีเข้าโจมตีกองซุนจ้านแต่พ่ายแพ้ ชิวลี่จฺวียอมจำนนต่อเล่าหงีในปี ค.ศ. 190 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 193[11] โหลฺวปาน (樓班) บุตรชายของชิวลี่จฺวียังอายุน้อยไปเกินไปที่จะสืบทอดตำแหน่งผู้นำชนเผ่าอูหฺวาน ดังนั้นเป๊กตุ้น (蹋頓 ท่าตุ้น) ลูกพี่ลูกน้องของโหลฺวปานจึงรับตำแหน่งแทน[12]
ในปี ค.ศ. 195 เป๊กตุ้น, หนานโหลฺว และซูผูเหยียนสนับสนุนอ้วนเสี้ยวในการรบกับกองซุนจ้าน[13][14]
ในปี ค.ศ. 207 เป๊กตุ้นพ่ายแพ้ต่อโจโฉในยุทธการที่เป๊กลงสาน (白狼山 ไป๋หลางชาน) และเสียชีวิตในที่รบ หลังจากพ่ายแพ้ ชาวอูหฺวานหลายคนยอมจำนนต่อโจโฉและเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังทหารม้าของโจโฉ[14][13] โหลฺวปานและซูผูเหยียนหนีไปพึ่งกองซุนของ แต่กองซุนของจับทั้งสองสังหารเสีย[12]
โจโฉแบ่งชนเผ่าอูหฺวานออกเป็นสามกลุ่มที่ตั้งอยู่ในเมืองไตกุ๋น (代郡 ไต้จฺวิ้่น) ผู้นำชนเผ่าอูหฺวานอย่างเหนิงเฉินตี่ (能臣抵) และผู่ฟู่หลู (普富盧) ยังก่อปัญหาอยู่เนือง ๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 218 เมื่อโจเจียงปราบปรามกองกำลังชนเผ่าอูหฺวานที่เหลืออยู่จนราบคาบ[15] เดนของชนเผ่าอูหฺวานกลายเป็นที่รู้จักในชื่อคู่มั่วซี (庫莫奚) ซึ่งภายหลังถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาวคีตันไปในที่สุดในศตวรรษที่ 10
ยุทธการ
แก้ผู้นำ
แก้- เห่าตั้น 郝旦 (ค.ศ. 49)
- ซินจื้อเปิน 歆志賁 (ค.ศ. 58)
- ชิวลี่จฺวี 丘力居 (ค.ศ. 187)
- หนานโหลฺว 難樓 (ค.ศ. 207)
- ซูผูเหยียน 穌僕延 (ค.ศ. 207)
- โหลฺวปาน 樓班 (ค.ศ. 207)
- เป๊กตุ้น (ท่าตุ้น) 蹋頓 (เสียชีวิต ค.ศ. 207)
- เหนิงเฉินตี 能臣抵 (ค.ศ. 207-218)
- ผู่ฟู่หลู 普富盧 (ค.ศ. 207-218)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Schuessler, Axel (2014) "Phonological Notes on Hàn Period Transcriptions of Foreign Names and Words" in Studies in Chinese and Sino-Tibetan Linguistics: Dialect, Phonology, Transcription and Text. Series: Language and Linguistics Monograph. Issue 53. p. 257 of 249-292
- ↑ ("ขณะนั้นพระเจ้าเหี้ยนเต้มาอยู่เมืองฮูโต๋ได้ยี่สิบสามปี พอออหวนอยู่เมืองไตกุ๋นคิดการขบถ โจโฉจึงให้โจเจียงผู้บุตรยกทหารห้าหมื่นไปรบเมืองไตกุ๋น") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 12, 2023.
- ↑ Kradin N. N. (2011). "Heterarchy and hierarchy among the ancient Mongolian nomads". Social Evolution & History: 188.
- ↑ West 2009.
- ↑ 5.0 5.1 Barfield 1989, p. 59.
- ↑ Whiting 2002, p. 172.
- ↑ Whiting 2002, p. 183.
- ↑ Crespigny 2007, p. 899.
- ↑ de Crespigny 2007, p. 782.
- ↑ de Crespigny 2010, p. 229.
- ↑ de Crespigny 2007, p. 710.
- ↑ 12.0 12.1 de Crespigny 2007, p. 613.
- ↑ 13.0 13.1 de Crespigny 2007, p. 780.
- ↑ 14.0 14.1 de Crespigny 2007, p. 677.
- ↑ Barfield 1989, p. 96.
บรรณานุกรม
แก้- Barfield, Thomas (1989), The Perilous Frontier: Nomadic Empires and China, Basil Blackwell
- de Crespigny, Rafe (2007), A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms, Brill
- de Crespigny, Rafe (2010), Imperial Warlord, Brill
- West, Barbara A. (2009), Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania, Facts on File
- Whiting, Marvin C. (2002), Imperial Chinese Military History, Writers Club Press