หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ร้อยเอก หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ (9 เมษายน พ.ศ. 2460 — 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) เป็นพระโอรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ประสูติแต่หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) ต่อมาเสกสมรสใหม่กับหม่อมหลวงประอร จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม มาลากุล) ไม่มีโอรสและธิดา ทรงเป็นสมาชิกเสรีไทย
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ | |
---|---|
ประสูติ | 9 เมษายน พ.ศ. 2460 |
สิ้นชีพตักษัย | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (85 ปี) |
ภรรยา | ชายา : หม่อมเจ้าผ่องผัสมณี จักรพันธุ์ หม่อม : หม่อมหลวงประอร จักรพันธุ์ |
ราชสกุล | จักรพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ |
พระมารดา | หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายหวาน[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ประสูติแต่หม่อมหลวงโป๊ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2460
เมื่อชันษาได้ 10 ขวบ ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมาร แล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมเปริเยร์ ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เมื่อเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าการวิกจึงยังประทับที่ประเทศฝรั่งเศส และทรงศึกษาที่ Chartered Institute of Secretaries of Joint Stock Companies หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษเพื่อรักษาพระองค์ และต่อมาได้สละราชสมบัติ หม่อมเจ้าการวิกก็ได้ไปถวายรับใช้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่อังกฤษด้วย
หม่อมเจ้าการวิกเสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมเจ้าผ่องผัสมณี (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์) ต่อมาเมื่อชายาสิ้นชีพตักษัย จึงเสกสมรสกับหม่อมหลวงประอร (ราชสกุลเดิม มาลากุล)[2]
เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย
แก้ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หม่อมเจ้าการวิกทรงสมัครเป็นทหารเสรีไทยสายอังกฤษ เป็นคณะที่ 6 ที่โดดร่มเข้าไทย หม่อมเจ้าการวิกทรงถูกจับคู่ให้ปฏิบัติการกับอรุณ สรเทศน์ หรือ ไก่ฟ้า ซึ่งรับหน้าที่เป็นหัวหน้า เข้ามาโดดร่มจริงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่สถานีทดลองเกษตร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย มีแสวง กุลทองคำ หัวหน้าสถานี และภรรยา เฝ้ารอรับเสด็จ พร้อมทั้งคณะของทศ พันธุมเสน และตำรวจ หม่อมเจ้าการวิกทรงตั้งค่ายฝึกอาสาสมัครชาวเขาที่จังหวัดตาก ทรงฝึกการรบนานถึง 5 เดือน แต่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เสียก่อนเมื่อถูกโจมตีด้วยระเบิดมหาประลัย หม่อมเจ้าการวิกและคณะจึงไม่ต้องรบ และได้เดินทางไปศูนย์บัญชาการขบวนการเสรีไทย จังหวัดพระนคร หม่อมเจ้าการวิกทรงบันทึกไว้ว่า
“เช้าวันแรกที่มาถึงกรุงเทพฯ ผู้ว่าปรงพาเราเข้าพบนายปรีดีที่ทำเนียบท่าช้าง (ปัจจุบันเป็นที่ทำการขององค์การยูนิเซฟ) ซึ่งนายปรีดีได้จัดงานเลี้ยงเป็นการขอบคุณและแนะนำบรรดาเสรีไทย ที่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ และท่านได้แนะนำว่าใครมาจากไหน พอถึงผมก็บอกว่าเป็น ‘เจ้า’ ที่มาจากอังกฤษ ทำเอาพรรคพวกเพื่อนฝูงทั้งผู้ว่าฯ และผู้ใหญ่บ้านหลายคนตกใจ เพราะเรียก ‘ท่านขุน’ หรือ ‘พี่ขุน’ หรือ ‘อาจารย์’ กันมาตลอด ตอนหลังเจอกัน เขาเข้ามาไหว้ และใช้ราชาศัพท์พูดด้วย ทำเอาเขินวางตัวไม่ถูกเหมือนกัน”
เมื่อสงครามสงบลง ไทยได้ประกาศสันติภาพในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามได้หัวหน้าเสรีไทยสายอเมริกา คือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มาเป็นหัวหน้ารัฐบาล เหล่าอาสาทำงานเสรีไทยก็กลับสู่สถานะเดิม ใครเป็นนักเรียนก็กลับไปศึกษาต่อ ในปี พ.ศ. 2489 หม่อมเจ้าการวิก จึงเสด็จกลับอังกฤษ และทรงงานถวายสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งยังประทับอยู่ที่อังกฤษ[3][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
ด้านศิลปะ
แก้หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ทรงเป็นศิลปินสมัครเล่น และโปรดการวาดภาพสีน้ำ ทำการศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน จนกระทั่งมีผลงานศิลปะหลากหลาย จนได้รับการยกย่องเป็น "ปูชนียศิลปิน" สาขาทัศนศิลป์ โดยมีผลงานชิ้นโดดเด่น คือ ผลงานจิตรกรรมบ่อทราย พระตำหนักเวนขอร์ด[4]
ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียร��ิเป็น "บูรพศิลปิน" สาขาทัศนศิลป์ แด่หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ศิลปินผู้ล่วงลับ[5]
หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 สิริชันษา 85 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2538 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
- ↑ อนุสรณ์หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ป.ม., ท.ช., ท.จ.ว. เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 / หม่อมหลวงศรีเฉลิม สวัสดิวัฒน์ (หมึกแดง)
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร. ฐานข้อมูลบุคคลสำคัญของเมืองไทย
- ↑ ปูชนียศิลปิน สมัยรัตนโกสินทร์http://www.culture.go.th/cul_fund/download/bygone/58/art.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การยกย่องเชิดชูเกียรติบูรพศิลปินhttp://culture.go.th/cul_fund/download/bygone/bygone58.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา 4 ธันวาคม 2539 http://capr.tsu.ac.th/UserFiles/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%202539.pdf
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 78 หน้า 1 3 พฤษภาคม 2534