สุรพล อิสรไกรศีล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา และราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ (โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) แพทย์ชาวไทย แพทย์เชี่ยวชาญด้านมะเร็งโรคเลือดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับของแพทย์ไทยและแพทย์ต่างชาติ[1][2]
สุรพล อิสรไกรศีล | |
---|---|
นายกราชบัณฑิตยสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 12 เมษายน พ.ศ. 2562 – 11 เมษายน พ.ศ. 2564 | |
อุปนายก | สมบูรณ์ สุขสำราญ สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
ก่อนหน้า | โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ |
ถัดไป | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
ดำรงตำแหน่ง 12 เมษายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน | |
อุปนายก | สมบูรณ์ สุขสำราญ ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ |
ก่อนหน้า | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ราชบุรี |
คู่สมรส | รัตนา อิสรไกรศีล |
บุตร | ฤชุตา อิสรไกรศีล วิชญา อิสรไกรศีล ภคภณ อิสรไกรศีล |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 ที่ตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรชายคนโตของนายกิมฮง และนางสมพร อิสรไกรศีล มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน สมรสกับรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงรัตนา อิสรไกรศีล มีบุตรและธิดาทั้งหมด 3 คน คือ นางสาวฤชุตา อิสรไกรศีล, นางสาววิชญา อิสรไกรศีล และนายแพทย์ภคภณ อิสรไกรศีล
การศึกษา
แก้- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดอมรญาติสมาคม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเมธีชุณหะวัณวิทยาลัย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2513-2517
- วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สาขาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2518-2521
- Cert.in Experimental Hematology มหาวิทยาลัยอุล์ม ประเทศเยอรมนี, 2523-2525
- Fred Hutchinson Cancer Research Center มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา, 2528-2529
- อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สาขาโลหิตวิทยา, 2528
- FRCPA, 2540; FRCPath, 2540; FACP, 2541; FRCP (London), 2542
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งสำคัญในอดีต
- รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศาสตราจารย์ ระดับ 11 สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้อำนวยการศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูกจุฬา���รณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งปัจจุบัน
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซล��์ของศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้อำนวยการศูนย์โลหิตวิทยากรุงเทพ
- Chief Faculty, Center of Excellence for Cancer, BDMS Group
- นายกราชบัณฑิตยสภา
- Board Member UAI (Union Académique Internationale)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[5]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
รางวัลเกียรติคุณ
แก้- พ.ศ. 2535 ผลงานวิจัยดีเด่นทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2536 ผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2536 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย (ร่วมรับรางวัล)
- พ.ศ. 2537 ศิษย์เก่าดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2538 ผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ (ร่วมรับรางวัล)
- พ.ศ. 2538 รางวัลนักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- พ.ศ. 2539 ศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2541 รางวัลจาก National Heart, Lung and Blood Institute (NHLBI),National Institute of Health (NIH) สหรัฐอเมริกา ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของ NHLBI
- พ.ศ. 2548 เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- พ.ศ. 2549 หัวหน้ากลุ่มวิจัยโครงการเครือข่ายกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2551 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย
- พ.ศ. 2539, 2541, 2542, 2544, 2545, 2548, 2549, 2555 รางวัลบุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2555 บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์และเทคโนโลยี
- พ.ศ. 2556 บุคคลคุณภาพแห่งปี สาขาการแพทย์
- พ.ศ. 2559 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม (AG Ellis Research Award)
- พ.ศ. 2561 รางวัลศิริราชเชิดชูเกียรติ
- พ.ศ. 2564 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564
- พ.ศ. 2565 รางวัลศิริราชเชิดชูเกียรติ
ผลงาน
แก้- ผู้ก่อตั้ง Asia Pacific Bone Marrow Transplantation, 2531, Asia Hematology Association, 2546
- ผู้ก่อตั้งสมาคมวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด, 2554
- การค้นคว้าวิจัยเรื่องโรคโลหิตจางอะพลาสติกในประเทศไทย
- ผู้ก่อตั้ง Asian Hematology Association- การค้���คว้าวิจัยเรื่องโรคโลหิตจางอะพลาสติกในประเทศไทย
- ผลงานวิจัยเรื่องการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
- การศึกษาวิจัยเรื่อง เซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์ต้นกำเนิดบำบัด (stem cell and stem cell therapy)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล จากสำนักงานราชบัณฑิตสภา[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล – สำนักวิทยาศาสตร์ | Academy of Science" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๓๑, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗