สิงโตอินเดีย
สิงโตอินเดีย | |
---|---|
สิงโตอินเดี��ตัวผู้ (♂) ในอุทยานแห่งชาติป่ากีร์ | |
สิงโตอินเดียตัวเมีย (♀) ในอุทยานแห่งชาติป่ากีร์ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | P. leo |
สปีชีส์ย่อย: | P. l. persica |
Trinomial name | |
Panthera leo persica (Meyer, 1826) | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติป่ากีร์ (สีเขียว) แหล่งที่อาศัยแหล่งสุดท้ายในธรรมชาติของสิงโตอินเดียในปัจจุบัน | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
สิงโตอินเดีย หรือ สิงโตเอเชีย หรือ สิงโตเปอร์เซีย (อาหรับ: أسد آسيوي; อังกฤษ: Indian lion, Asiatic lion, Persian lion; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera leo persica) เป็นชนิดย่อยของสิงโตที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน
มีรูปร่างทั่วไปคล้ายสิงโตที่พบในทวีปแอฟริกา แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มมีน้ำหนักประมาณ 160-190 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 110–120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 เมตร ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสิงโตอินเดีย คือ มีแผงคอทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแผงคอของตัวผู้ไม่หนาและใหญ่เหมือนสิงโตในทวีปแอฟริกา มองเห็นใบหูเห็นชัดเจน ดังนั้นตัวผู้และตัวเมียจึงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งไม่พบในสิงโตในทวีปแอฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกันเนื่องจากสิงโตอินเดียอาศัยอยู่ในป่าทึบไม่เหมือนกับสิงโตในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งกว้าง และทำให้สิงโตอินเดียเป็นสัตว์ที่แฝงตัวได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติรอบตัวในศรีลังกามีสิงโตอีกสายพันธ์คือ สิงโตศรีลังกา แต่สูญพันธ์เมื่อ32,000ปีก่อนไปพร้อมกับ เสือศรีลังกา มีซากฟอสซิลบางส่วนในพิพิธภัณฑ์ในศรีลังกา[3]
ในอดีต มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เปอร์เซีย, อิรัก, ซีเรีย, อัฟกานิสถาน, ปากีสถานไปจนถึงมาซิโดเนียในกรีซ และ ศรีลังกา ด้วยแต่ปัจจุบันพบเหลือเพียงแห่งเดียวในธรรมชาติ คือ อุทยานแห่งชาติป่ากีร์ ในรัฐคุชราตทางตอนเหนือของอินเดียเท่านั้น และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ แต่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากเมื่อ���ระมาณ 30 ปี ก่อนที่เหลือเพียงไม่กี่สิบตัวเท่านั้น เป็น 530 ตัวในปัจจุบัน และอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น[3]
พฤติกรรมการรวมฝูงของสิงโตอินเดีย แตกต่างไปจากสิงโตในทวีปแอฟริกา กล่าวคือ มีขนาดฝูงที่เล็กกว่า โดยมีจำนวนอย่างมากที่สุดเพียง 5 ตัวเท่านั้น และอาจมีตัวเมียเพียง 2 ตัว และอาจมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง 2 ตัวก็เป็นได้ โดยเป็นลักษณะร่วมปกครอง ขณะที่ตัวผู้จะเข้าร่วมฝูงก็ต่อเมื่อจะล่าเหยื่อหรือในการผสมพันธุ์เท่านั้น
ในวัฒนธรรมของอินเดีย มีสิงโตอยู่มากมาย เช่น หัวเสาหินสลักในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นรูปสิงโตอินเดีย รวมถึงปรัมปราในศาสนาฮินดูที่เป็นศาสนาพื้นเมืองของอินเดีย ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิงโตอยู่มาก ในความเชื่อของชาวอินเดีย สิงโตยังเป็นพาหนะของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูอีกด้วย เช่น พระแม่อุมาเทวีหรือพระแม่ทุรคา
หรือแม้กระทั่งในประวัติศาสตร์ยุโรปเอง ก็มีภาพโมเสกของอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงร่วมล่าสิงโตกับพระสหาย ซึ่งเชื่อว่าเป็นแม่ทัพชื่อ เฮฟฟาฮิสเตียน เชื่อว่าสิงโตชนิดนั้นก็คือ สิงโตอินเดีย นั่นเอง
ทางวัฒนธรรมจีน มีการละเล่นเชิดสิงโต ซึ่งในประเทศจีนเองไม่มีสิงโตเป็นสัตว์พื้นเมือง เชื่อว่าเป็นการรับมาจากเปอร์เซีย ด้วยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันผ่านเส้นทางสายไหม [4]
สิงโตอินเดียตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 ปี ซึ่งมากกว่าสิงโตในทวีปแอฟริกา และจะออกลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนเมษายน และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 16–18 ปี ในตัวผู้ และตัวเมีย 17–18 ปี พบมากที่สุดคือ 21 ปี ถือว่ามากกว่าสิงโตทวีปแอฟริกา[5]
รูปภาพ
แก้-
ภาพโมเสก อเล็กซานเดอร์มหาราชล่าสิงโตกับพระสหาย
-
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชรูปสิงโตอินเดีย 4 ตัวหันหลังชนกัน ในปัจจุบันทางอินเดียถือเป็นตราแผ่นดิน
-
หัวสิงโตในการเชิดสิงโตของจีน ซึ่งได้ต้นแบบมาจากสิงโตอินเดีย
-
คู่สิงโตอินเดียตัวผู้และตัวเมีย ที่สวนสัตว์นูเรมเบิร์ก
อ้างอิง
แก้- ↑ Breitenmoser, U., Mallon, D. P., Ahmad Khan, J. and Driscoll, C. (2008). "Panthera leo ssp. persica". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora". In Wilson, D. E.; Reeder, D. M. Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 546. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ 3.0 3.1 "สิงโตเอเซีย Asiatic Lion (10-6-59)". ช่องนาว. 10 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-15. สืบค้นเมื่อ 19 June 2016.
- ↑ "ประวัติสิงโตเชิด ตอนที่1". my.dek-d.com/. 15 July 2012. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
- ↑ ชีววิทยาของสิงโต[ลิงก์เสีย]
อ่านเพิ่ม
แก้- Abbott, J. (1856). A Narrative of a journey from Heraut to Khiva, Moscow and St. Petersburgh. Vol. 1. Khiva: James Madden. p. 26.
- Kaushik, H. (2005). "Wire fences death traps for big cats". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22.
- Nair, S. M. (1999). Endangered Animals of India and their conservation. แปลโดย O. Henry Francis (English ed.). National Book Trust.
- Walker, S. (1994). "Executive summary of the Asiatic lion PHVA". Zoo's Print: 2–22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-25.
- Schnitzler, A.; Hermann, L. (2019). "Chronological distribution of the tiger Panthera tigris and the Asiatic lion Panthera leo persica in their common range in Asia". Mammal Review. 49 (4): 340–353. doi:10.1111/mam.12166. S2CID 202040786.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera leo persica ที่วิกิสปีชีส์