สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 (สเปน: Primera República Filipina; ตากาล็อก: Unang Republika ng Pilipinas) หรือ สาธารณรัฐมาโลโลส (สเปน: República de Malolos; ตากาล็อก: Republica ng Malolos) เป็นสาธารณรัฐอายุสั้น จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลปฏิวัติในฟิลิปปินส์ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาโลโลสเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2441 ในเมืองมาโลโลส จังหวัดบูลาคัน[Note 1] สิ้นสุดลงเมื่อเอมีลีโอ อากีนัลโด ยอมมอบตัวต่อกองทัพสหรัฐเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2443 ที่เมืองปาลานัน จังหวัดอีซาเบลา ซึ่งเป็นการสลายตัวของสาธารณรัฐที่ 1
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2442–2444 | |||||||||||
เขตการปกครองของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ | |||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||
ศาสนา | |||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ | ||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||
• พ.ศ. 2442 - 2444 | เอมีลีโอ อากีนัลโด | ||||||||||
• พ.ศ. 2444 - 2445 | มีเกล มัลบาร์ (ไม่เป็นทางการl) | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | การปฏิวัติฟิลิปปินส์ | ||||||||||
• ก่อตั้ง | 23 มกราคม[Note 1] พ.ศ. 2442 | ||||||||||
• สลายตัว[i] | 23 มีนาคม พ.ศ. 2444 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
พ.ศ. 2441 | 298,182 ตารางกิโลเมตร (115,129 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• พ.ศ. 2441 | 7832719 | ||||||||||
สกุลเงิน | เปโซฟิลิปปินส์ | ||||||||||
รหัส ISO 3166 | PH | ||||||||||
| |||||||||||
|
การจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นผลมาจากการปฏิวัติฟิลิปปินส์ต่อต้านการปกครองของสเปนในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดคาบีเต การประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์เริ่มขึ้นเมื่อมีการอ่านข้อตกลงการประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์ ข้อตกลงนี้เขียนขึ้นเป็นภาษาสเปนโดยอัมโบรซีโอ เรียนซาเรส เบาติสตา และเป็นผู้อ่านประกาศนี้เอง[1] สภามาโลโลสจัดประชุมเมื่อ 15 กันยายน และได้ออกรัฐธรรมนูญมาโลโลส[2] ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2441 จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่มีอากีนัลโดเป็นประธานาธิบดี[3][Note 1] ในเวลาเดียวกัน มีการลงนามในข้อตกลงปารีสเมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2441 ยุติสงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา มาตรา 3 ของข้อตกลงนี้ระบุว่าสเปนจะโอนฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ��เมริกา[4]
ในที่สุด เกิดสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกาขึ้น อากีนัลโดถูกกองทัพสหรัฐจับกุมเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2443 และยอมรับสิทธิของสหรัฐเหนือฟิลิปปินส์ ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2444 เขาออกประกาศว่าถูกจับกุมตัวแล้ว ให้วางอาวุธและยุติการต่อสู้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และเป็นการสิ้นสุดสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1[5] สหรัฐได้ผนวกดินแดนตามสนธิสัญญาปารีส[4][6] ฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาจนถึง พ.ศ. 2489 จึงได้ประกาศเอกราชตามข้อตกลงมะนิลา[7]
สาธารณรัฐนี้ถือเป็นสาธารณรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นแห่งแรกในเอเชีย[8][9][10] มีรัฐธรรมนูญเขียนด้วยภาษาสเปน และได้ประกาศเอกราชจากสเปน เมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2441 และมีสภามาโลโลส แม้ว่าจะมีสาธารณรัฐรุ่นเดียวกันเกิดขึ้นในเอเชีย เช่น สาธารณรัฐฟอร์โมซา สาธารณรัฐเอะโซะ แต่สาธารณรัฐมาโลโลสเป็นแห่งแรกที่มีระบบรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดว่าใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีตัวแทน มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา[3][11]
ประวัติศาสตร์
แก้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ก่อตั้งขึ้นหลังการประกาศเอกราชของฟิลิปปินส์และการล่มสลายของการปกครองฟิลิปปินส์โดยสเปน ได้ร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญในโบสถ์บาราโซอาอิในมาโลโลสเมื่อ พ.ศ. 2442 เพื่อแทนที่รัฐบาลปฏิวัติเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2441[12] รัฐบาลปฏิวัตินี้ตั้งขึ้นแทนรัฐบาลของอากีนัลโดเมื่อ 24 พฤษภาคม[13] ซึ่งได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ 18 มิถุนายน[14] รัฐธรรมนูญได้รับการรับรองจากรัฐสภาเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2441 และประกาศใช้ในวันรุ่งขึ้น[3] อากีนัลโดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2441
องค์กรของรัฐบาลท้องถิ่น
แก้ได้จัดตั้งรัฐบาลภายในสาธารณรัฐอย่างรวดเร็วในช่วง 18 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2441[15] รัฐธรรมนูญมาโลโลสได้ระบุในมาตรา 82 ให้มีองค์กรในระดับจังหวัดที่สามารถเก็บภาษีได้
กองทัพแห่งรัฐ
แก้เมื่อฟิลิปปินส์ประกาศเอกราชเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2441 กองทัพปฏิวัติฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนมาเป็นกองทัพสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อากีนัลโดได้มอบหมายให้อันโตนีโอ ลูนาเป็นผู้บัญชาการหรือผู้ช่วยเลขาธิการทางด้านสงครามเมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2441 และจัดตั้งโรงเรียนการทหารขึ้นเป็นครั้งแรกในฟิลิปปินส์ที่มาโลโลส ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม ลูนาได้เป็นผู้บัญชาการทหารแทนอาร์เตมีโอ รีการ์เต เขาได้ปรับปรุงวินัยทหารให้ดีขึ้น[16]
สงครามฟิลิปปินส์ – สหรัฐอเมริกา
แก้ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 ที่มะนิลา เกิดการสู้รบขึ้นในฟิลิปปินส์ระหว่างกองทัพสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และกองทัพสหรัฐซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากสงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา[17] ในวันนั้น ประธานาธิบดีอากีนัลโดประกาศว่าสันติภาพและความสัมพันธ์ฉันมิตรกับสหรัฐสิ้นสุดลงแล้ว ต่อไปนี้คือศัตรูที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายสงคราม[18] การสู้รบเกิดขึ้นในการทัพมะนิลาครั้งที่ 2 ซึ่งกองทัพสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ถูกบีบให้ล่าถอยออกจากเมือง[19] ในวันที่ 31 มีนาคม กองทัพสหรัฐเข้ายึดมาโลโลส ที่ตั้งรัฐบาลฟิลิปปินส์ ที่ถูกเผาโดยกองทัพสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ถอนตัวไป[20] อากีนัลโดและแกนนำของกองทัพปฏิวัติย้ายไปที่ซันอีซีโดร จังหวัดนูเวบาเอซีฮา การเจรจาสันติภาพกับฝ่ายสหรัฐเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ระหว่างเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2442 และล้มเหลว กองทัพสหรัฐเข้ายึดซันอีซีโดรได้ในวันที่ 16 พฤษภาคม กองทัพฟิลิปปินส์และรัฐบาลถอยไปยังบัมบัน ตาร์ลัก ก่อนจะย้ายต่อไปที่เมืองตาร์ลัก กลุ่มของอากีนัลโดได้ออกจากเมืองตาร์ลักซึ่งถือเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้าย เมื่อกองทัพสหรัฐเข้ายึดครองได้ในวันที่ 13 พฤศจิกายน
ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่บายัมบัง ปังกาซีนัน อากีนัลโดยอมสลายกองทัพ แต่เริ่มการสู้รบแบบกองโจร กองทัพสหรัฐพยายามปราบปราม อากีนัลโดหลบหนีไปได้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน และเกิดการสู้รบในการทัพช่องเขาตีรัดเมื่อ 2 ธันวาคม อากีนัลโดถูกจับกุมเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2443 ที่ปาลานัน อีซาเบลา อากีนัลโดประกาศรวมเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2444 ถือเป็นการสิ้นสุดสาธารณรัฐที่ 1 และเริ่มต้นการปกครองฟิลิปปินส์โดยสหรัฐอเมริกา
ที่ตั้งของรัฐบาล
แก้มาโลโลส เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1
แก้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2441 เอมีลีโอ อากีนัลโดได้เลือกโบสถ์แห่งมาโลโลสให้เป็นสำนักงานรัฐบาล และโบสถ์บาราโซอายินที่อยู่ใกล้กันเป็นรัฐสภา เมื่อสหรัฐเข้ายึดครองมาโลโลส อากีนัลโดได้สั่งให้นายพล อันโตนีโอ ลูนาเผาโบสถ์มาโลโลส
บ้านซีเดโก สำนักงานที่นูเวบาเอซีฮา
แก้บ้านหลังนี้เป็นสำนักงานของอากีนัลโดเมื่อย้ายที่ตั้งรัฐบาลมายังซันอีซีโดร ในช่วงท้ายของสงครามกับสหรัฐ ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2441 อากีนัลโดมาถึงซันอีซีโดร และตั้งให้เป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เขาเข้าพักที่บ้านซีเดโกและจัดให้เป็นสำนักงาน เมื่อสหรัฐยึดซันอีซีโดรได้ บ้านหลังนี้เป็นที่พักของนายพลเฟรเดอริก ฟุนสตัน ซึ่งต่อมา เขาคือผู้ที่จับกุมอากีนัลโดได้ที่ปาลานัน โดยกล่าวว่าแผนการจับตัวอากีนัลโดกำหนดขึ้นในบ้านหลังนี้ ปัจจุบัน บ้านหลังนี้เป็นขององค์กรคริสเตียน
การจับกุมอากีนัลโด
แก้เมื่อได้สถาปนาขึ้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2441 ที่มาโลโลส มาโลโลสได้เป็นที่ตั้งรัฐบาลของรัฐบาลฟิลิปปินส์ และได้รับผลกระทบจากกองทัพสหรัฐและกองทัพฟิลิปปินส์ในการทัพมะนิลาที่ 2 เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ กองทัพสหรัฐบุกลงมาทางเหนือจากมะนิลา เมื่อ 29 มีนาคม เมื่อกองทัพสหรัฐมาถึง ที่ตั้งของรัฐบาลก็ได้ย้ายไปซาน อิสิโดร นูเอวา เอจิยา
กองทัพสหรัฐเข้ายึดเมืองปาลิตได้ในวันที่ 4 พฤษภาคม และซานเฟร์นานโดในวันที่ 5 พฤษภาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2442 ทหารสหรัฐในซานเฟร์นานโดได้ปะทะกับทหารฟิลิปปินส์ที่อันเกเลส ในวันที่ 12 ตุลาคม กองทัพสหรัฐได้รุกและบีบให้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เคลื่อนย้ายที่ตั้งไปตาร์ลัก และบาโยมบงตามลำดับ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน การกดดันจากสหรัฐทำให้อากีนัลโดและพรรคพวกออกจากบาโยมบงไปยังสตาบาร์บารา โดยมีทหารเพียง 1,200 คน นำโดยนายพลเกรโกริโอ เดล ปีตาร์ กลุ่มของอากีนัลโดได้เดินทางต่อไปพร้อมกับกำลังทหารของเดล ปีตาร์จนถึงมาเนาอัก ปางาซีนัน เมื่อ 15 พฤศจิกายน จากนั้นได้แบ่งกองกำลังกัน กลุ่มของอากีนัลโดและเดลปีตาร์เดินทางต่อไปจนถึงตูเบาในวันที่ 16 พฤศจิกายน และไปถึงนากุยเลียนในวันที่ 19 พฤศจิกายน จากนั้นได้เดินทางไปถึงช่องเขาติรัดในวันที่ 23 พฤศจิกายน นายพลเดล ปีตาร์ตัดสินใจอยู่สู้รบกับทหารสหรัฐที่นั่นและให้อากีนัลโดเคลื่อนย้ายต่อไป
การสู้รบที่ช่องเขาตีรัดเกิดขึ้นเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2442 ฝ่ายของนายพลเดลป๊ตาร์ 60 คนถูกฆ่าไป 52 คนรวมทั้งนายพลเดล ปีตาร์ด้วย แต่ก็สามารถถ่วงเวลาได้นานพอให้อากีนัลโดหนีไปได้จนถึงบานาเนในวันที่ 7 ธันวาคม ในวันที่ 16 ธันวาคม กลุ่มของอากีนัลโดเคลื่อนย้ายไปยังอาบราเพื่อเข้าร่วมกับนายพลมานูเอล ตีนีโอ กองกำลังทั้งหมดเคลื่อนที่ไปยังอัมบายูอัน ตอนนั้น กลุ่มของอากีนัลโดเหลือเพียงเจ้าหน้าที่สนาม 1 คน เจ้าหน้าที่เส้นทาง 11 คน และผู้ขายอีก 107 คน กลุ่มของเขายังเคลื่อนย้ายต่อไปจนถึง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 อากีนัลโดจึงจัดตั้งศูนย์กลางขึ้นที่ เทียร์ราวีร์เกน จน 27 สิงหาคม จึงย้ายไปปาลานัน อากีนัลโดอยู่ในปาลานันจนถูกจับตัวได้เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2443
หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 รัฐธรรมนูญมาโลโลสได้รับการรับรองจากสภาเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2442 (ดูที่ 27 and 27a in Guevara 1972) ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเมื่อ 23 มกราคม (ดูที่ 28, 28a and 28b in Guevara 1972).
- ↑ มีแหล่งข้อมูลระบุถึงเมืองหลวงชั่วคราวของฟิลิปปินส์จำนวนมาก เช่น | Duka 2008, p. 191 โดยย้ายจากมาโลโลสไปยังคาบานาตูวัน (จังหวัดนูเวบาเอซีฮา) ไปยังตาร์ลัก ไปยังบาโยมโบง (จังหวัดนูเวบาบิซคายา) ไปยังบายัมบัง (จังหวัดปังกาซีนัน) | Schultz 2000, p. 322 กล่าวว่าเมืองหลวงย้ายจากมาโลโลสไปยังซันเฟร์นันโด (จังหวัดปัมปังกา) | Calit 2003, p. 57 กล่าวว่าอากีนัลโดตั้งเมืองหลวงที่ตั้งซันเปโดร (จังหวัดนูเวบาเอซีฮา) หลังจากละทิ้งมาโลโลส | Linn 2000a, p. 136 ไม่ได้ระบุรายชื่อไว้อย่างละเอียด แต่กล่าวว่าคณะรัฐมนตรีของอากีนัลโดซึ่งมีจำนวนรัฐมนตรีเหลือไม่มากนัก ย้ายเมืองหลวงไปเรื่อย ๆ
อ้างอิง
แก้- ↑ Kalaw 1927, pp. 413–417 Appendix A
- ↑ Guevara 1972, pp. 104–119
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Guevara 1972, pp. 104–119 (English translation by Sulpicio Guevara)
- ↑ 4.0 4.1 Treaty of Peace Between the United States and Spain; December 10, 1898, Yale
- ↑ Aguinaldo's Proclamation of Formal Surrender to the United States, Filipino.biz.ph, April 19, 1901, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28, สืบค้นเมื่อ December 5, 2009
- ↑ Carman Fitz Randolph (2009), "Chapter I, The Annexation of the Philippines", The Law and Policy of Annexation, BiblioBazaar, LLC, ISBN 978-1-103-32481-1
- ↑ TREATY OF GENERAL RELATIONS BETWEEN THE UNITED STATES OF AMERICA AND THE REPUBLIC OF THE PHILIPPINES. SIGNED AT MANILA, ON 4 JULY 1946 (PDF), United Nations, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23, สืบค้นเมื่อ 2007-12-10
- ↑ "The First Philippine Republic". Philippine Government. September 7, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ "Asia's First Republic". Mantle. June 12, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ Saulo, A. B. (1983). Emilio Aguinaldo: Generalissimo and President of the First Philippine Republic--first Republic in Asia. Phoenix Publishing House. ISBN 978-971-06-0720-4. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ Tucker 2009, p. 364
- ↑ Kalaw 1927, pp. 423–427
- ↑ Titherington 1900, pp. 357–358
- ↑ Guevara 1972, pp. 10–12
- ↑ Agoncillo, Teodoro (1960). Malolos: The Crisis of the Republic.
- ↑ Jose, Vicencio (1972). The Rise and Fall of Antonio Luna. Solar Pub. Corporation.
- ↑ Linn 2000a, p. 46
- ↑ Halstead 1898, p. 318
- ↑ Linn 2000a, pp. 46–49
- ↑ Linn 2000a, p. 99
แหล่งที่มา
แก้- Agoncillo, Teodoro A. (1997). Malolos: The Crisis of the Republic. University of the Philippines Press. ISBN 978-971-542-096-9.
- Calit, Harry S. (2003). The Philippines: current issues and historical background. Nova Science Publishers. ISBN 978-1-59033-576-5..
- Doyle, Robert C. (2010). The Enemy in Our Hands: America's Treatment of Enemy Prisoners of War from the Revolution to the War on Terror. University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-2589-3.
- Duka, C. (2008). Struggle for Freedom' 2008 Ed. Rex Bookstore, Inc. ISBN 978-971-23-5045-0.
- Guevara, Sulpico, บ.ก. (1972). The Laws of the First Philippine Republic (the laws of Malolos) 1898–1899. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Library (ตีพิมพ์ 2005). สืบค้นเมื่อ March 26, 2008.. (published online 2005, University of Michigan Library)
- Halstead, Murat (1898). The Story of the Philippines and Our New Possessions, Including the Ladrones, Hawaii, Cuba and Porto Rico.
- Kalaw, Maximo Manguiat (1927). The Development of Philippine Politics. Oriental commercial.
- Linn, Brian McAllister (2000a). The Philippine War, 1899–1902. University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-1225-3.
- Linn, Brian McAllister (2000b). The U.S. Army and Counterinsurgency in the Philippine War, 1899-1902. UNC Press Books. ISBN 978-0-8078-4948-4.
- Schultz, Jeffrey D. (2000). Encyclopedia of Minorities in American Politics: African Americans and Asian Americans. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-1-57356-148-8.
- Titherington, Richard Handfield (1900). A history of the Spanish–American War of 1898. D. Appleton and Company. (republished by openlibrary.org)
- Tucker, Spencer C. (2009). The Encyclopedia of the Spanish–American and Philippine–American Wars: A Political, Social, and Military History. ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-951-1.
- Zafra, Nicolas (1967). Philippine history through selected sources. Alemar-Phoenix Pub. House.
- The Malolos Republic
- The First Philippine Republic at Malolos
- Project Gutenberg – Panukala sa Pagkakana nang Repúblika nang Pilipinas by Apolinario Mabini