อับคาเซีย (อับคาเซีย: Аҧсны, จอร์เจีย: აფხაზეთი, รัสเซีย: Абха́зия) เป็นเขตการปกครองที่เกิดข้อโต้แย้งบนชายฝั่งตะวันออกของทะเลดำ ติดกับสหพันธรัฐรัสเซียทางเหนือ ติดกับบริเวณซาเมเกรโล-เซโม สวาเนตีของจอร์เจียทางตะวันออก เป็นที่ตั้งของสาธารณรัฐอับคาเซีย ซึ่งเป็นสาธารณรัฐเอกราชโดยพฤตินัยแต่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติ อยู่ภายในแนวชายแดนของจอร์เจีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอยู่เพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรอง ได้แก่ รัสเซีย เวเนซุเอลา นิการากัว นาอูรู[1] เซาท์ออสซีเซีย และทรานส์นีสเตรีย (สองประเทศหลังนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน[2]) รัฐบาลจอร์เจียถือว่าอับคาเซียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของตน[3] โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง (จอร์เจีย: აფხაზეთის ავტონომიური რესპუბლიკა, อับคาเซี���: Аҧснытәи Автономтәи Республика) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2008 รัฐสภาจอร์เจียได้ลงมติให้ประกาศว่าอับคาเซียเป็นดินแดนของจอร์เจียที่ถูกรัสเซียเข้ายึดครอง[4] เป็นบริเวณหนึ่งในเทือกเขาคอเคซัส

สาธารณรัฐอับคาเซีย

Аҧсны (อับคาเซีย)
Абхазия (รัสเซีย)
ธงชาติอับคาเซีย
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของอับคาเซีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของอับคาเซีย
เมืองหลวงซูฮูมี
ภาษาราชการภาษาอับคาเซียและภาษารัสเซีย
รัฐบาล
Aslan Bzhania
Alexander Ankvab
สกุลเงินอัปซาร์อับคาเซีย, รูเบิลรัสเซีย (RUB)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก)

เอกราชของอับคาเซียไม่ได้รับการรับรองจากชาติหรือองค์กรในระดับนานาชาติ และได้รับการยอมรับในฐานะสาธารณรัฐปกครองตนเองของจอร์เจีย มีสุคุมีเป็นเมืองหลวง ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยชาวอับคาซในบริเวณนี้ นำไปสู่การประกาศเอกราชจากจอร์เจียใน พ.ศ. 2535 และเกิดความขัดแย้งทางทหารระหว่างจอร์เจีย-อับคาเซียระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2536 ผลปรากฏว่ากองทัพจอร์เจียเป็นฝ่ายแพ้ เกิดการอพยพและการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ของชาวจอร์เจียออกจากอับคาเซีย การเจรจาสงบศึกใน พ.ศ. 2537 และการตรวจสอบโดยกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติและเครือรัฐอิสระ (CIS) ที่นำโดยรัสเซีย ปัญหาอธิปไตยยังไม่ได้แก้ไข และบริเวณนี้ยังคงแบ่งเป็น 2 เขต โดยพื้นที่มากกว่า 83% ของเขตปกครองควบคุมโดยขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีฐานที่มั่นที่สุคุมีและมีรัสเซียหนุนหลัง และอีก 17% บริหารโดยรัฐบาลอับคาเซีย ตั้งอยู่ที่หุบเขาโกโดรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อับคาเซียบนที่รัสเซียยึดครองอยู่

สถานะทางการเมือง

แก้

องค์กรระดับนานาชาติ เช่น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป นาโต OSCE องค์กรการค้าโลก สภาแห่งสหภาพยุโรป เครือรัฐอิสระ และรัฐเอกราชส่วนใหญ่ ถือว่าอับคาเซียเป็นส่วนหนึ่งของจอร์เจีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโดยพฤตินัยของอับคาเซียถือว่าอับคาเซียเป็นประเทศต่างหาก แม้ว่าจะไม่ได้รับการรับรองจากประเทศใดๆเลย และยังมีชนกลุ่มน้อยชาวจอร์เจียอาศัยในตำบลกาลีและโกโดรี จอร์จ ใน พ.ศ. 2548 รัฐบาลจอร์เจียยอมให้การปกครองตนเองระดับสูงแก่อับคาเซีย และเป็นได้ที่จะจัดการปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ แต่ต้องอยู่ภายในแนวชายแดนของจอร์เจีย

ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สภาโดยพฤตินัยของอับคาเซียได้เรียกร้องให้รัสเซีย องค์กรนานาชาติ และประเทศที่เหลือ รับรองเอกราชของอับคาเซีย แต่องค์กรระดับนานาชาติยังยืนยันจะสนับสนุนอธิปไตยของจอร์เจีย[5]

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

แก้
 
"ทิวทัศน์ของภูเขาอาเกบสตาและตูร์ยีโกรีจากด้านบนของ Kamennyi Stolb, Aibga Ridge.", 2014.
 
ทะเลสาบริสตา
 
ทิวทัศน์ของแหลมปิตซุนดา

อับคาเซียปกคลุมพื้นที่ประมาณ 8,600 ตารางกิโลเมตรทางด้านตะวัน��กสุดของจอร์เจีย[6][7] เทือกเขาคอเคซัสอยู่ทางด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กันอับคาเซียออกจากรัสเซีย ส่วนทางด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ อับคาเซียถูกล้อมรอบด้วยบริเวณของจอร์เจียคือ ซาเมเกรโล-เซโม สวาเนติ ส่วนทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลดำ

พื้นที่ของอับคาเซียส่วนใหญ่เป็นภูเขา เทือกเขาคอเคซัสอยู่ทางชายแดนด้านเหนือของพื้นที่ เทือกเขากากรา เทือกเขาซิบ และเทือกเขาโกโดรี ได้แบ่งพื้นที่เป็นหุบเขา และที่ราบลุ่มแม่น้ำ ยอดเขาที่สูงที่สุดของอับคาเซียอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก และมีหลายยอดที่สูงเกิน 4,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ของอับคาเซียมีทั้งเขตป่าตามชายฝั่งและพื้นที่ปลูกส้ม จนถึงพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุมทางตอนเหนือ พื้นที่เกษตรกรรมจะปลูก ชา กาแฟ ทำไวน์ และผลไม้

อับคาเซียเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำขนาดเล็ก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาคอเคซัสและเทือกเขาโกโดรี ซิบ คาลิดซ์กาและกูมิสตา แม่น้ำซูแยกอับคาเซียออกจากรัสเซีย และแม่น้ำอิงกูรีเป็นแนวชายแดนระหว่างอับคาเซียและจอร์เจีย ในพื้นที่มีทะเลสาบจำนวนมาก โดยทะเลสาบวิสตาเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

ภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.nytimes.com/2009/12/16/world/europe/16georgia.html?_r=1
  2. http://www.newsru.com/russia/17nov2006/aup.html
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
  5. "Breakaway Abkhazia seeks recognition". Al-Jazeera. 18 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2006.
  6. Cutler, David (29 April 2008). "Factbox - Key facts on Georgia's breakaway Abkhazia". reliefweb.int. Reuters. สืบค้นเมื่อ 29 November 2016.
  7. "Abkhazia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.