สันติอโศก
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สันติอโศก เป็นขบวนการศาสนาพุทธที่สมณะโพธิรักษ์ก่อตั้งขึ้น และตั้งอยู่ที่เลขที่ 65/1 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ ในฐานะประธานมหาเถรสมาคม ได้มีคำสั่งให้สมณะโพธิรักษ์สละสมณเพศ เนื่องจากพบว่ากระทำผิดพระธรรมวินัยอย่างต่อเนื่อง สมณะโพธิรักษ์จึงประกาศแยกตัวไม่อยู่ในอาณัติคณะสงฆ์ไทย และได้ไปตั้งชุมชนสันติอโศก ที่แขวงคลองกุ่ม เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร, ชุมชนศรีสะอโศก ที่ตำบลกระแชงใหญ่ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ, ชุมชนศาลีอโศก ที่ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ และชุมชนปฐมอโศก ที่ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ชุมชนทั้งสี่ดังกล่าวมีบ้าน วัด โรงเรียน เหมือนชุมชนทั่วไปของไทย
สำนักสันติอโศกรับบวชบุคคลให้เป็นบรรพชิตตามระเบียบที่สมณะโพธิรักษ์ตั้งขึ้น เรีกยว่า "กฎระเบียบของชาวอโศก" ขั้นตอนการบวชของชาวอโศก หากเป็นชาย ต้องเข้าปฏิบัติธรรมที่สำนักสันติอโศก โดยเริ่มจากชั้น "ปะ" ต่อมาเป็น "นาค" จากนั้นบวชเป็น "สามเณร" และ "สมณะ" และมีการแต่งกายต่างกับภิกษุสามเณรของคณะสงฆ์ไทย ส่วนผู้หญิงเริ่มจากชั้น "ปะ" ต่อมาเป็น "กรัก" จากนั้น บวชเป็น "สิกขมาต" แต่งกายด้วยเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสีกรักคลุมทับ
เนื่องจากการบวชของชาวอโศกมิชอบด้วยกฎหมายไทย ในเดือนมิถุนายน 2532 พิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น จึงสั่งให้จับกุมสมณะโพธิรักษ์และพวกทั้งหมด รวม 105 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2532 พนักงานสอบสวนจับกุม แจ้งข้อหา และสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องเป็นจำเลยจำนวน 80 คดี ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-79 มีความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 (ไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ บั��อาจแต่งกายอย่างภิกษุสงฆ์ เพื่อล่อลวงให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นภิกษุสงฆ์) และให้จำคุกคนละ 3 เดือน ส่วนจำเลยที่ 80 คือ สมณะโพธิรักษ์ สนับสนุนให้จำเลยที่คนอื่น ๆ กระทำผิดดังกล่าวจำนวน 33 กระทง พิพากษาลงโทษจำคุกเรียงกระทง กระทงละ 2 เดือน รวมเป็นจำคุก 66 เดือน ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยบางคน และศาลฎีกาพิพากษายืน โดยศาลฎีกาวินิจฉัยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 ว่า
"จำเลยที่ 80 ได้บวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกาย...และ...ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย แสดงว่า จำเลยที่ 80 ได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 80 ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ ไม่ปรากฏว่า จำเลยทุกคนถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า...ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ การประกาศของจำเลยที่ 80 กับพวกดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 80 กับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การที่ภิกษุสงฆ์นักบวชไม่อนุวัตปฏิบัติตามกฎหมายกลับมีผลเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นดังเช่นที่ปรากฏในคดีนี้"
แหล่งข้อมูลอื่น