สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (24 ตุลาคม พ.ศ. 2277 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342) มีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นพระธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระชนนีในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เป็นพระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระปัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
เจ้าฟ้าชั้นโท
ประสูติ24 ตุลาคม พ.ศ. 2277[1]
อาณาจักรอยุธยา
สิ้นพระชนม์28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342[2]
กรุงเทพมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
พระภัสดาเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระมารดาพระอัครชายา (หยก)
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ

แก้

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีพระนามเดิมว่า แก้ว เป็นพระธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติแต่พระอัครชายา (หยก) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325[3]

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน พระภัสดาผู้เป็นคหบดีชาวจีนเชื้อสายขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง มีพระโอรสธิดาด้วยกัน 6 พระองค์ คือ[4]

  1. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นต้นราชสกุลเทพหัสดิน
  2. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี
  3. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าขุนเณร (สิ้นพระพระชนม์เมื่อพระชันษา 7 ปี)
  4. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระนามเดิม บุญรอด เป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  5. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี เป็นต้นราชสกุลมนตรีกุล
  6. สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์นั้น มีพระตำหนักอยู่เบื้องหลังหมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระวิมานรัตยา เรียกว่าพระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษต้น และการสะดึงและอื่น ๆ เป็นหลายอย่าง

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันอาทิตย์ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม จ.ศ. 1161 ตร��กับวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342 พระชันษา 60 ปีเศษ

[5]

พระเกียรติยศ

แก้

พระราชอิสริยยศ

24 ตุลาคม พ.ศ. 2277 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325 : แก้ว

6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342  : สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์



พงศาวลี

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ปฐมวงศ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) จดหมายเหตุตามพระราชนิพนธ์
  2. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า
  3. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 6
  5. ราชสกุลวงศ์, หน้า 2
บรรณานุกรม
  • เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แก้
  • สุนทรี อาสะไวย์. (2544). ผู้หญิงกับอำนาจในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์: ศึกษากรณี สมเด็จพระพี่นางทั้งสองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. ใน กระจกหลายด้านฉายประวัติศาสตร์. บรรณาธิการโดย กาญจนี ละอองศรี. หน้า 95-124. กรุงเทพฯ: มติชน, 2544.