สมศักดิ์ เทพานนท์
สมศักดิ์ เทพานนท์ (5 มีนาคม พ.ศ. 2467 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) นักดนตรี และนักประพันธ์คำร้องหลากหลายแนวให้กับ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และ วงสุนทราภรณ์
สมศักดิ์ เทพานนท์
(ทัพทัต) | |
---|---|
คุณสมศักดิ์กับรางวัลทำนองชนะเลิศและรางวัลนักร้องชายชมเชยจากเพลงรักเธอเสมอได้รับรางวัลในงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ปี พ.ศ. 2509 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 5 มีนาคม พ.ศ. 2467 สมศักดิ์ ทัพทัต จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 (70 ปี) |
อาชีพ | นักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2485 - 2537 (52 ปี) |
สังกัด | วงดนตรีสุนทราภรณ์ |
ประวัติ
แก้ชื่อจริง สมศักดิ์ ทัพทัต เป็นบุตรของนายทองย้อย กับนางระเบียบ ทัพทัต ส่วนนามสกุล เทพานนท์ เป็นนามสกุลของคุณยาย และใช้ในวงการเพลงเท่านั้น มีชื่อเล่นว่าทอง เกิดที่ตำบลสำราญราษฎร์ บิดารับราชการกระทรวงกลาโหม ศึกษาจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ จบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสระเกศ และเข้าศึกษาต่อที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนไม่จบเพราะบิดาเสียชีวิต และไม่มีทุนเรียนต่อ
ชีวิตนักร้อง
แก้หลังจากออกจากการเรียนมาได้ฝึกเล่นเครื่องดนตรีกีตาร์ฮาวายเป็นชิ้นแรก จากนั้นได้สมัครเข้ารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ รุ่นเดียวกับ สมยศ ทัศนพันธ์ เสน่ห์ โกมารชุน และสุรสิทธิ์ สัตย์วงศ์ ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งวงดนตรีแจ๊สสำหรับเต้นรำขึ้น ต่อมาได้เข้าเป็นศิษย์ของครูฮอน หาญบุญตรงนักดนตรี นักแต่งเพลงชื่อดังในสมัยนั้น สมศักดิ์จึงสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น กีตาร์, กลอง, เปียโน
จากนั้นได้ย้ายมาอยู่กับคณะละครนิยมไทยได้สักพักหนึ่ง แล้วจึงย้ายไปวงดนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ ซึ่งมีมงคล อมาตยกุลเป็นหัวหน้าวง ที่วงเทศบาลนครกรุงเทพฯนี้เองที่สมศักดิ์ได้ลองแต่งเพลงเป็นครั้งแรก คือเพลง "ค่อนคืน" อยู่กับวงได้ 4 ปี ก็ย้ายมาอยู่กับวงดนตรีดุริยะโยธินของกองทัพบกไทย
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2496 ขณะอายุได้ 29 ปี ครูเวส สุนทรจามร ชวนมาอยู่วงด���ตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ ในตำแหน่งมือกลองแล้วเลื่อนมาเป็นมือกีตาร์เบส ต่อมาได้ขึ้นเป็นน��กร้องและนักประพันธ์เพลงหลากหลายบทเพลง
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2528 แต่ยังแต่งคำร้องและทำนองไว้อีกหลายเพลง ทั้งเป็นนักร้องรับเชิญให้กับ วงดนตรี สังคีตสัมพันธ์ ของ วินัย จุลละบุษปะ เป็นครั้งคราว
ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ในระยะหลังเกิดอาการแทรกซ้อน จนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ขณะอายุได้ 70 ปี
รางวัล
แก้- แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน พ.ศ. 2509 เพลง รักเธอเสมอ ขับร้องคู่ รวงทอง ทองลั่นทม
ผลงาน
แก้- ผลงานการขับร้อง ซึ่งส่วนใหญ่ท่านเป็นคนแต่งเองและขับร้องเอง
เจ็บ, บ้านนาราตรี(คู่มาริษา อมาตยกุล), รักเธอเสมอ(คู่รวงทอง ทองลั่นธม), บัวกลางบึง, พี่รักจริง(คู่มาริษา), อย่าลืมฉัน(คู่ศรีสุดา), รักใครกันแน่(คู่วินัย,เลิศ,ศรีสุดา), จุดใต้ตำตอ(คู่เลิศ,ศรีสุดา), หนีไม่พ้น(คู่เลิศ,ศรีสุดา), ไม่รักใครเลย(คู่วินัย,เลิศ,ศรีสุดา), เริงลีลาศ(คู่เลิศ), คลื่นสวาท(คู่วรนุช), รักร้าง, คู่ชีวิต(คู่รวงทอง), ไม่รู้จะบอกอย่างไร, เพราะรักที่รัก เป็นต้น
- ผลงานการแต่งเพลง
1. เพลงทั่วไป ขวัญใจเจ้าทุย(รวงทองร้อง), หงส์กับกา(รวงทองและวินัยร้อง), ไม่รักใครเลย(ร้องคู่วินัย,เลิศ,ศรีสุดา), หนีไม่พ้น(ร้องคู่เลิศ,ศรีสุดา), รักใครกันแน่(ร้องคู่วินัย,เลิศ,ศรีสุดา), ไพรพิศดาร(เลิศ,ศรีสุดาร้อง), ปลูกรัก(เอื้อร้อง), อุ่นไอรัก(รวงทองร้อง), รอคำรัก(รวงทองร้อง), ไม่ใกล้ไม่ไกล(รวงทองร้อง) นกเขาไพร(เลิศ,ศรีสุดาร้อง), ไม่มีหวัง(วรนุขร้อง), สั่งใจ(ชวลีร้อง), คลื่นสวาท(ร้องคู่วรนุช), ครูสอนรัก(เลิศ,ศรีสุดาร้อง), ใครลิขิต (อ้อย อัจฉราร้อง), สวยจริงรักจริง(วินัย,เลิศ,เอื้อร้อง), เพลงเนรมิต(ศรีสุดาร้อง), จะทำยังไง(วินัย,เลิศ,เอื้อร้อง), มนต์นางรำ(เลิศร้อง), รักฉันสักคน(ศรีสุดาร้อง), รักจ๋า(อ้อย อัจฉราร้อง), หาดสวรรค์สรรสวาท(โสมอุษาร้อง), บอกแล้วว่าอย่า(จั่นทิพย์ร้อง) เป็นต้น
2. เพลงรำวง รำวงหมองู, รำวงปูจ๋า, รำวงเทวีศรีนวล, รำวงฝนมาทุยหาย, รำวงบ้านใกล้ใจรัก, รำวงมาลัยรจนา, รำวงฝากรัก, รำวงเดือนลอยฟ้า, รำวงใต้แสงจันทร์รำวงไทยขายไทยซื้อ, รำวงชมสวรรค์, เริงเพลงกลองยาว, รำวงละอบายมุข, รำวงรอคู่รำ, รำวงลูกไม้เก่า, รำวงหมู่เฮา, รำวงบ้านป่าพาสุข, เฮฮาวาตูซี่ เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ประวัติ สมศักดิ์ เทพานนท์[ลิงก์เสีย] จากเว็บ คนรักสุนทราภรณ์
- ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สมศักดิ์ เทพานนท์ เพลง "เที่ยงคืน"[ลิงก์เสีย] ไทยโพสต์ แทบลอยด์, 8 กุมภาพันธ์ 2552