สมศักดิ์ คุณเงิน
สมศักดิ์ คุณเงิน (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 6 สมัย สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[1] และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[2]
สมศักดิ์ คุณเงิน | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | กิจประชาคม (2529–2532) เอกภาพ (2532–2535) สามัคคีธรรม (2535) เสรีธรรม (2535–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชารัฐ (2561–2565, 2566–ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทย (2565–2566) |
คู่สมรส | ปทุมรัตน์ คุณเงิน (หย่า) |
ประวัติ
แก้สมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท จากหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
งานการเมือง
แก้สมศักดิ์ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้ร่วมกับ อดิศร เพียงเกษ ในนามชมรมนักศึกษาอีสาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และก่อตั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย ทำกิจกรรมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในปี 2517 – 2519 เมื่อเรียนจบสมศักดิ์เริ่มทำงานที่การประปานครหลวง ต่อมาในปี 2523 ตั้งสำนักงานทนายความ ไชโยทนายความ ที่บ้านเกิด ก่อนที่ลงเลือกตั้งท้องถิ่น ได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เขตอำเภอหนองเรือ[4][5]
ต่อมาได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติ โดยได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ในนามพรรคกิจประชาคม ในปี 2529 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ในปี 2531 สมศักดิ์ได้ลงสมัครในนามพรรคกิจประชาคม และได้รับการเลือกตั้ง และต่อมาได้รับการเลือกตั้งมาจนถึงปี 2548 ในนามพรรคสามัคคีธรรม พรรคเสรีธรรม และพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ในช่วงสมศักดิ์ถูกตัดสิทธิทางการเมือง สมศักดิ์ทํางานในภาคประชาชน โดยเป็นประธานมูลนิธิน้ำเพื่ออีสาน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น และสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ[5]
สมศักดิ์ได้กลับเข้าสู่การเมืองระดับชาติอีกครั้ง โดยลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ โดยได้คะแนนไปเพียง 26,553 คะแนน แพ้นวัธ เตาะเจริญสุข จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนน 29,710 คะแนน ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6]
ต่อมา นวัธถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นสภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากถูกจำคุกระหว่างการดำรงตำแหน่ง สมศักดิ์ได้ลงสมัครอีกครั้ง โดยได้คะแนน 40,252 คะแนน ชนะธนิก มาสีพิทักษ์ จากพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนนไปเพียง 38,010 คะแนน[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สมศักดิ์ คุณเงิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคกิจประชาคม → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต 7 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง [จังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ ๗ นายสมศักดิ์ คุณเงิน พรรคพลังประชารัฐ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-12-30.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ ประวัตินายสมศักดิ์ คุณเงิน, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
- ↑ ประวัติ “สมศักดิ์ คุณเงิน” ว่าที่ ส.ส.ขอนแก่น คว้าชัยให้พลังประชารัฐ
- ↑ 5.0 5.1 ‘สมศักดิ์ คุณเงิน’ กลับมาแล้ว ส.ส.ขอนแก่น สมัยที่ 6
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย ๑. นายธวัช สุทธวงค์ ฯลฯ)
- ↑ พปชร.เฮ 'สมศักดิ์' ชนะเฉือน 'ธนิก' กว่า2,242 คะแนน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗