สถานีลาดพร้าว
สถานีลาดพร้าว (อังกฤษ: Lat Phrao station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยกรัชดา–ลาดพร้าว (จุดตัดระหว่างถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว) ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ ทั้งสองสถานีเป็นสถานีที่อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลาดพร้าว
แก้ลาดพร้าว BL15 Lat Phrao | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลาสถานีลาดพร้าว สายสีน้ำเงิน | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล | ||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ลาดพร้าว | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มีบริการ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL15 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 3,779,865 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีลาดพร้าว (รหัส: BL15) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ สถานศึกษา สถานที่ราชการ และที่พักอาศัยบริเวณตอนต้นของถนนลาดพร้าว
ที่ตั้ง
แก้ถนนลาดพร้าว บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทางแยกรัชดา–ลาดพร้าว จุดบรรจบถนนลาดพร้าวและถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สถานีลาดพร้าวตั้งอยู่ในย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมืองบริเวณถนนลาดพร้าวตอนต้น และอยู่ใกล้กับสถานศึกษาและสถานที่ราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะหน่วยงานด้านศาลยุติธรรม ซึ่งสถานีลาดพร้าวได้ตั้งชื่อ เพื่อสื่อถึงที่ตั้งสถานีที่ถนนลาดพร้าวช่วงกลาง และเป็นสถานีสำคัญสำหรับเชื่อมต่อการเดินทางจากถนนลาดพร้าวส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง เช่น ย่านโชคชัยสี่, วังทองหลาง และบางกะปิ ซึ่งต่อมาได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองผ่านย่านดังกล่าว
ในช่วงแรกที่รถไฟฟ้ามหานครเปิดให้บริการ ผู้โดยสารส่วนมากมักสับสนระหว่างสถานีลาดพร้าวกับสถานีพหลโยธิน ที่อยู่บริเวณปากทางลาดพร้าว อันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งผู้โดยสารคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว บางส่วนอาจเห็นว่าบริเวณห้าแยกลาดพร้าวมีความโดดเด่นเป็นจุดหมายตา และน่าจะเหมาะสมสำหรับชื่อสถานีลาดพร้าวมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้โดยสารส่วนหนึ่งที่ต้องการเดินทางไปห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว แต่ลงรถผิดที่สถานีลาดพร้าว ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งบนขบวนรถและในสถานีลาดพร้าวจำเป็นต้องประกาศเตือนให้ผู้โดยสารต้องลงรถที่สถานีพหลโยธินให้ถูกต้อง หากต้องการเดินทางไปยังเซ็นทรัลลาดพร้าว
รายละเอียด
แก้สีสัญลักษณ์
แก้ใช้สีฟ้าตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา[1]
รูปแบบ
แก้เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 258 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)
ทางเข้า–ออก
แก้- 1 ซอยลาดพร้าว 26, ทางแยกรัชดา–ลาดพร้าว, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว
- 2 ซอยลาดพร้าว 24
- 3 ซอยลาดพร้าว 17, ป้ายรถประจำทางไปบางกะปิ
- 4 อาคารจอดแล้วจร, ซอยลาดพร้าว 21, ศาลแขวงพระนครเหนือ, ป้ายรถประจำทางถนนรัชดาภิเษกไปแยกรัชโยธิน, สถานีลาดพร้าว (ลิฟต์)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
แก้แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- 1 ทางเดินเชื่อมอาคารจอดแล้วจรและกูร์เมต์ มาร์เก็ต (เฉพาะทางออก 4)
- 2 ชั้นร้านค้า
- 3 ชั้นออกบัตรโดยสาร
- 4 ชั้นชานชาลา
แผนผัง
แก้G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง, อาคารจอดแล้วจร ศาลแขวงพระนครเหนือ, ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล, สถานีลาดพร้าว |
B1 ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแลัวจร |
ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแลัวจร (เฉพาะทางออก 4) | ทางเดินเชื่อม กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขาเอ็มอาร์ทีลาดพร้าว และอาคารจอดแล้วจร |
B2 ทางเดินลอดถนน |
ทางเดินลอดถนน | ทางออก 1–4 |
B3 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
ศูนย์การค้าภายในสถานี
แก้ภายในสถานีลาดพร้าวได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือเมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี โดยกลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่ทั้งชั้นจาก บริษัท บางกอกเมโทรเน็ตเวิร์ค จำกัด เพื่อเปิดสาขาของกูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีแห่งนี้ โดยเปิดในรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดกลาง (2,000 ตารางเมตร) เน้นสินค้าบริโภคประเภทซื้อกลับบ้านและร้านอาหารระดับห้าดาวที่รังสรรค์โดยเชฟฝีมือคุณภาพ ทั้งนี้ชั้นดังกล่าวได้รับการปรับปรุงเพื่อเปิดทางเข้ากูร์เมต์ มาร์เก็ต ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแล้วจร แต่การบริหารพื้นที่และร้านค้าภายในสถานี กลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด เปิดให้บริการ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ สถานีลาดพร้าว
แก้ลาดพร้าว YL01 Lat Phrao | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°48′25.20″N 100°34′29.24″E / 13.8070000°N 100.5747889°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ลาดพร้าว | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | YL01 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[2] | ||||||||||
ชื่อเดิม | รัชดา–ลาดพร้าว รัชดา | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีลาดพร้าว (รหัส: YL01) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายนัคราพิพัฒน์ ยกระดับเหนือลานกิจกรรมอเนกประสงค์ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
แก้ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ภายในพื้นที่ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว บริเวณทิศเหนือของทางแยกรัชดา–ลาดพร้าว ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สถานีแห่งนี้เป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์แห่งเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนถนน เนื่องจากบริเวณทางแยกรัชดา–ลาดพร้าวมีโครงสร้างสะพานข้ามแยกและสะพานเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจรซึ่งเป็นสะพานลอยที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อครั้งดำเนินงานโยธาของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลตั้งอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถตั้งสถานีบนถนนได้เหมือนกับสถานีอื่น ๆ ของโครงการ อย่างไรก็ตามในแผนการศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว–รัชโยธิน ได้มีการกำหนดแนวเส้นทางให้ย้อนกลับไปตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนนรัชดาภิเษก ด้วยการเบี่ยงเส้นทางกลับหลังพ้นสะพานข้ามแยกลาดพร้าว และให้เบี่ยงกลับไปใช้ทางเท้าและพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินตามเดิมเพื่อสิ้นสุดโครงการต่อไป
ทั้งนี้ตามแผนงานเดิมของโครงการฯ สถานีแห่งนี้จะใช้ชื่อว่า สถานีรัชดา–ลาดพร้าว เพื่อสื่อถึงที่ตั้งและไม่ให้ซ้ำกับสถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล แต่ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนทาง รฟม. ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสถานีเป็น สถานีรัชดา ซึ่งเป็นชื่อตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จนภายหลังการลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรืออีบีเอ็มไปแล้ว ทาง รฟม. จึงได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น สถานีลาดพร้าว เนื่องจากทาง รฟม. เห็นว่าการใช้ชื่อสถานีรัชดาจะทำให้เกิดความสับสนกับสถานีรัชดาภิเษกของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีแห่งนี้ไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร จึงมีความเห็นให้ใช้ชื่อสถานีนี้ให้เหมือนกับสถานีของสายเฉลิมรัชมงคลจะเป็นการดีที่สุด[3]
รายละเอียด
แก้สีสัญลักษณ์
แก้ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้า สายนัคราพิพัฒน์
รูปแบบ
แก้เป็นสถานียกระดับกว้าง 22.7 เมตร ยาว 140 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ความสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอยซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา โดยระดับชานชาลาอยู่สูง 19 เมตรจากผิวดิน เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
ทางเข้า–ออก
แก้ประกอบด้วยทางขึ้น–ลง ได้แก่[4]
- 1 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 2 ทางแยกรัชดา–ลาดพร้าว (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 3 สกายวอล์กเชื่อม สถานีลาดพร้าว (บันไดเลื่อน)
- 4 อาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว (ลิฟต์)
- 5 อาคารจอดแล้วจร, ศาลแขวงพระนครเหนือ (บันไดเลื่อน เฉพาะชั้น U2–U3)
แผนผัง
แก้U4 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ภาวนา) | |
ชานชาลา 2 | สายสีเหลือง สถานีปลายทาง | |
U3 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1–2, ทางเดินเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร,ร้านค้า |
U2 | – | ทางออก 3–5, ทางเดินเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร |
G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง, อาคารจอดแล้วจร, สถานีลาดพร้าว |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีสำโรงถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 2 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 1 ฝั่งตรงข้าม
สิ่งอำนวยความสะดวก
แก้- อาคารจอดแล้วจร เป็นอาคารจอดรถ 9 ชั้น ความจุ 2,500 คัน
- ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า–ออกหมายเลข 4 (อาคารจอดแล้วจร)
- บริการ ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล ที่อาคารจอดแล้วจร ชั้น 1 สำหรับผู้โดยสารเครื่องบินของการบินไทย ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีบริการเช็คอิน และมีรถรับ-ส่งหมุนเวียนระหว่างสถานีลาดพร้าวและท่าอากาศยานดอนเมือง
- กูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่ชั้นร้านค้า และอาคารจอดแล้วจรชั้นใต้ดิน
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[5] | ||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์–ศุกร์ | 05.53 | 23.42 |
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.55 | 23.42 | ||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์–ศุกร์ | 05.54 | 23.56 |
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.57 | 23.56 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 23.10 | ||
สายนัคราพิพัฒน์[6] | ||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||
YL23 | สำโรง | ทุกวัน | 05.30 | 00.00 |
สถานที่ใกล้เคียง
แก้- โรงเรียนอนุบาลแย้มสอาด และโรงเรียนแย้มสอาด (ประถม)
- โรงเรียนแม้นศรีพิทยาลัย
- สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- ศาลแขวงพระนครเหนือ, ศาลแพ่ง, ศาลอาญา และศาลอุทธรณ์
- พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถนนรัชดาภิเษก
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์
- สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
รถโดยสารประจำทาง
แก้- ถนนลาดพร้าว ด้านทางแยกลาดพร้าว 8 28 92 96 145 502 517
- ถนนลาดพร้าว ด้านโชคชัย 4 8 73 92 96 122 126 137 145 191 502 514
ถนนรัชดาภิเษก (มุ่งหน้าสุทธิสาร)
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
73 (3) | อู่สวนสยาม | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
สนามกีฬาห้วยขวาง | |||||
136 (1) | อู่คลองเตย | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
137 (2) | วงกลม : รามคำแหง | อู่พระราม 9 | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
179 (3) | อู่พระราม 9 | สะพานพระราม 7 | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
185 (3) | อู่รังสิต | อู่คลองเตย | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
206 (3) | อู่เมกาบางนา | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน) | |
514 (1) | อู่มีนบุรี | สีลม | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊าซธรรมชาติ) |
- ถนนรัชดาภิเษก ด้านสุทธิสาร สาย 73 136 137 179 185 206 514
- ถนนรัชดาภิเษก ด้านศาลอาญา สาย 28 126:136 179 185 191 206
อ้างอิง
แก้- ↑ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
- ↑ เปลี่ยนชื่อสถานีรัชดาเป็น "ลาดพร้าว"
- ↑ "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์" (PDF). ebm.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีลาดพร้าว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์