ศิริภุช กุลน้อย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศิริภุช กุลน้อย (ชื่อเดิม:รัตติกาล กุลน้อย) เป็นนักยกน้ำหนักชาวไทย[2] เธอเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในรุ่น 58 กิโลกรัมหญิง[3] เธอทำลายสถิติส่วนตัวของเธอทั้งในท่าสแนทช์และคลีนแอนด์เจิร์ก โดยยกได้ 100 กิโลกรัม และ 134 กิโลกรัม ตามลำดับ ในการแข่งขันครั้งนั้น ศิริภุชได้อันดับที่ 4 ในตอนแรก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ยูลิยา คาลินา นักยกน้ำหนักชาวยูเครนถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากการใช้สารกระตุ้น เธอจึงได้รับการเลื่อนอันดับขึ้นมาเป็นที่ 3 และคว้าเหรียญทองแดงไปครอง[4]
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 | ||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ในเดือนมกราคม ปี 2563 รายการสารคดีของสถานีโทรทัศน์ ARD ของเยอรมนีซึ่งเปิดโปงเรื่องการใช้สารกระตุ้นในวงการยกน้ำหนักระดับโลก ได้เผยแพร่คลิปสัมภาษณ์ลับของศิริภุช โดยเธอสารภาพว่าใช้สารกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 18 ปี รวมถึงก่อนการแข่งขันโอลิมปิก 2012[5] บุษบา ยอดบางเตย นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักแห่งประเทศไทย ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารกระตุ้นในวงการยกน้ำหนักไทยที่ศิริภุชได้กล่าวไว้อาจมีความเกินจริง[6]
สถิติการแข่งขัน
แก้รัตติกาล มีสถิติการแข่งขันยกน้ำหนัก ดังนี้[7]
การแข่งขัน | รุ่น | สแนตซ์ | คลีนแอนด์เจิร์ก | รวม | ||||||||
2553 | ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย | 58 กก. | 73 | 93 | 97 | 100 | 173 | |||||
2553 | ชิงชนะเลิศสโมสรระดับทวีปเอเชีย | 58 กก. | 75 | 80 | 100 | 105 | 109 | 189 | ||||
2553 | เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก | 58 กก. | 90 | 93 | 115 | 121 | 214 | |||||
2554 | ซีเกมส์ | 58 กก. | 98 | - | 125 | - | 223 | |||||
2555 | ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย | 63 กก. | 96 | 6 | 125 | 130 | 226 | |||||
2557 | เอเชียนเกมส์ | 58 กก. | 95 | 98 | 120 | 124 | 222 |
ภายในประเทศ
แก้การแข่งขัน | รุ่น | สแนตซ์ | คลีนแอนด์เจิร์ก | รวม | ||||||||
2552[8] | ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย | 58 กก. | 75 | 80 | 92 | 101 | 103 | 184 | ||||
2555[9] | กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย) | 63 กก. | 95 | 99 | 125 | 130 | 136 | 235 |
สถิติสูงสุด
แก้- สแนตซ์ : 99 กก. (พ.ศ. 2555 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40, ขอนแก่น ประเทศไทย)
- คลีนแอนด์เจิร์ก : 136 กก. (พ.ศ. 2555 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40, ขอนแก่น ประเทศไทย)
- รวม : 235 กก. (พ.ศ. 2555 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40, ขอนแก่น ประเทศไทย)
รางวัล
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ปุ๊กลุ๊ก" ส้มหล่นขยับคว้าทองแดงลอนดอนเกมส์
- ↑ London2012.com เก็บถาวร 2012-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Rattikan Gulnoi". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.
- ↑ "Results by Events". IWF. July 2016.
- ↑ "Geheimsache Doping - Rattikan Gulnoi überführt sich selbst". sportschau.de (ภาษาเยอรมัน). 2020-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
- ↑ "Thai Amateur Weightlifting Association board quits en masse over doping". Bangkok Post. Bangkok Post Public Limited. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
- ↑ "GULNOI Rattikan THA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
- ↑ "ใบบันทึกการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก การแข่งขัน EGAT ประจำปี พ.ศ. 2552 รุ่น 58 กก. ระดับยุวชนหญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
- ↑ "ใบบันทึกการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 รุ่น 63 กก. ระดับประชาชนหญิง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
- ↑ "รัตติกาล กุลน้อย จอมพลังดาวรุ่ง เพชรที่ซ่อนอยู่ในก้อนดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔