วิเชียร ขาวขำ
วิเชียร ขาวขำ (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2499) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 5 สมัย อดีตหนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
วิเชียร ขาวขำ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 ตำบลหนองหัวคู อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เทียบจุฑา ขาวขำ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้วิเชียร ขาวขำ เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (ในขณะนั้นตำบลหนองหัวคูยังอยู่ในการปกครองของตำบลเขือน้ำ หลังจากแยกไปเป็นตำบลคำบงตำบลหนองหัวคูก็ยังอยู่ในเขตตำบลคำบง จนกระทั่งเป็นตำบลหนองหัวคูในภายหลัง)เป็นบุตรของนายแพ ขาวขำ กับ นางวันดี ขาวขำ เข้าศึกษาที่โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จบการศึกษาศิลปศาสตร์บัณฑิต สถาบันราชภัฏมหาสารคาม สมรสกับนาง เทียบจุฑา ขาวขำ มีบุตรได้แก่นายวัชระพล ขาวข�� สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีและกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร)
การทำงาน
แก้วิเชียร ขาวขำ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้ลาออกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[2]
นายวิเชียร ขาวขำ เป็นหนึ่งในจำเลยในข้อหาก่อการร้าย ที่พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ฟ้องร้องเอาไว้และเป็นหนึ่งในรายชื่อที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ออกหมายเรียกตามพระราชบัญญัติต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 8 พ.ศ. 2551 ในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
แก้- การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2555 สังกัดกลุ่มเพื่อไทยอุดรธานี
- การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2563 สังกัดกลุ่มเพื่อไทยอุดรธานี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "วิเชียร ขาวขำ" นายก อบจ.อุดรธานี แถลงนโยบายต่อสภา 18 ด้านมุ่งแก้ปัญหา ปชช. พร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการต่างๆ
- ↑ ""ขวัญชัย ไพรพนา" นำคนเสื้อแดงต้อนรับ "วิเชียร ขาวขำ" นั่งนายกอบจ.อุดรฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-09. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
- ↑ ""ธาริต" ออกหมายเรียก 17 แกนนำ นปช. ข้อหาหมิ่นเบื้องสูง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-07-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ��ระกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑