วิลเฮ็ล์ม ไมบัค

วิลเฮ็ล์ม ไมบัค (เยอรมัน: Wilhelm Maybach) เป็นผู้ออกแบบเครื่องยนต์คนแรกๆและนักอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทบริษัทไมบัค-โมทอร์เรินเบา ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งนักออกแบบ"

วิลเฮ็ล์ม ไมบัค
Wilhelm Maybach
Black-and-white photo of a middle-aged man with a beard and moustache
วิลเฮ็ล์ม ไมบัค ในปี 1900
เกิด9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1846(1846-02-09)
ไฮล์บร็อน, เวือร์ทเทิมแบร์ค
เสียชีวิต29 ธันวาคม ค.ศ. 1929(1929-12-29) (83 ปี)
ชตุทท์การ์ท, ประเทศเยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
อาชีพวิศวกรและนักอุตสาหกรรม
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งไดม์เลอร์และมายบัค

วิลเฮ็ล์ม ไมบัค เกิดในปีค.ศ. 1846 ที่เมืองไฮล์บร็อนในราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค เป็นบุตรของช่างไม้ เมื่ออายุได้แปดขวบครอบครัวก็ย้ายไปพำนักในเมืองชตุทท์การ์ท เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนการกุศลในเมืองร็อยท์ลิงเงิน ผู้อำนวยการโรงเรียนเห็นว่าเด็กชายไมบัคมีแววด้านเทคนิคจึงส่งตัวไปฝึกงานที่โรงเรียนช่าง เมื่ออายุได้ 15 ปี ไมบัคสนใจงานออกแบบเชิงอุตสาหกรรม และเข้าศึกษาวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เพิ่มเติมที่โรงเรียนมัธยมของรัฐในเมืองร็อยท์ลิงเงิน

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไมบัคร่วมกับนายก็อทลีพ ไดม์เลอร์ พัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในความเร็วสูงขนาดเบาขึ้นมา ซึ่งเหมาะสมกับการติดตั้งในพาหนะบก, อากาศ และทางน้ำ เครื่องยนต์เหล่านี้ถูกติดตั้งในจักรยานยนต์และเรือยนต์แรกของโลก และภายหลังการเสียชีวิตของไดม์เลอร์ ก็มีการเปิดตัวรถยนต์ใหม่ในปีค.ศ. 1902 ชื่อว่าโมเดลเมอร์เซเดส (Model Mercedes)

ไมบัคก้าวหน้าจนได้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของบรรษัทไดม์เลอร์มอเตอร์ (Daimler Motoren Gesellschaft) แต่เข้ากับประธานบริษัทไม่ค่อยได้ นั่นทำให้ไมบัคลาออกจากบริษัทในปี 1907 เพื่อไปก่อตั้งบริษัทของตนเองกับลูกชายชื่อว่าบริษัทไมบัค-โมทอร์เรินเบา (Maybach-Motorenbau GmbH) เมื่อปีค.ศ. 1909 ซึ่งมีส่วนร่วมในการผลิตเครื่องยนต์ให้กับเรือเหาะเซ็พเพอลีน (Zeppelin) ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและจำต้องลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย ไมบัคปรับตัวเข้ากับสถานการณ์นี้โดยหันไปผลิตรถยนต์หรูวางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ "Maybach" บริษัทยังมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองในปีค.ศ. 1940 โดยการผลิตเครื่องยนต์ให้กับรถถังหนัก ทีเกอร์ 1 และทีเกอร์ 2

เชิงอรรถ

แก้
  • Niemann, Harry: Mythos Maybach, 4. Aufl., Stuttgart 2002
  • Niemann, Harry: Maybach - der Vater des Mercedes, 3. Aufl., Stuttgart 2000
  • Niemann, Harry: Wilhelm Maybach - König der Konstrukteure, 1. Aufl., Stuttgart 1995
  • Rathke, Kurt: Wilhelm Maybach - Anbruch eines neuen Zeitalters, 1. Aufl., Friedrichshafen 1953
  • Rauck, Max J.: Wilhelm Maybach: der grosse Automobilkonstrukteur. Baar 1979.