วิลาศ อรุณศรี
พลเอก วิลาศ อรุณศรี (บิ๊กอ้อ) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์[3] และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[4]กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[5] อดีตราชองครักษ์พิเศษ [6]
วิลาศ อรุณศรี | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2557 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562[1] | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุรนันทน์ เวชชาชีวะ |
ถัดไป | ดิสทัต โหตระกิตย์[2] |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ยงยุทธ มัยลาภ (โฆษก) |
ถัดไป | สรรเสริญ แก้วกำเนิด (โฆษก) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กันยายน พ.ศ. 2496 |
คู่สมรส | พลตรีหญิง นวลทิพย์ อรุณศรี |
อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกรัฐบาลในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว
พล.อ.วิลาศ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 รุ่นเดียวกับพลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[8]
การทำงาน
แก้พล.อ.วิลาศ เข้ารับราชการทหารม้า สังกัดกองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพน้อยที่ 1 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว และตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2556[9] ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ[10] คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2557 ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[11][12]
วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 พลเอกวิลาศ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปฏิบัติหน้าที่โฆษกรัฐบาลอีกตำแหน่งหนึ่งแทนร้อยเอก นายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ ที่ได้ยื่นหนังสือลาออกไปด้วยเหตุผลสุขภาพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[15]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[16]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง
- ↑ ครม.นัดแรกมีมติแต่งตั้ง‘ดิสทัต’เป็นเลขาธิการนายกฯ, แนวหน้า, สืบค้นวันที่ 16 กรกฎาคม 2562
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๒/๒๕๕๗ เรื่อง มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่
- ↑ "พล.อ.วิลาศ อรุณศรี แหกโผเพื่อนตท.12 ติดป้าย "นายกฯน้อย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 2014-09-24.
- ↑ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี "นายกฯน้อย" รบ.บิ๊กตู่[ลิงก์เสีย]
- ↑ สำนักข่าวแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ครม. ตั้ง 'พล.อ.วิลาศ อรุณศรี' นั่งเลขาธิการนายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-24.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒๗ ราย ๑. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ฯลฯ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๗ มิถุนายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
ก่อนหน้า | วิลาศ อรุณศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุรนันทน์ เวชชาชีวะ | เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (16 กันยายน พ.ศ. 2557 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562) |
ดิสทัต โหตระกิตย์ |