วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่

(เปลี่ยนทางจาก วิธีใช้:หมวดหมู่)

หน้านี้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันการจัดหมวดหมู่อย่างเหมาะสมในวิกิพีเดีย กรุณาอ่านก่อนจัดหมวดหมู่ใหม่ซึ่งหมวดหมู่ที่มีอยู่เดิมหรือการสร้างหมวดหมู่ใหม่คราวละมาก ๆ

เป้าหมายหัวใจของระบบหมวดหมู่คือการให้ลิงก์นำทางไปหน้าวิกิพีเดียในลำดับชั้นหมวดหมู่ ซึ่งผู้อ่านที่ทราบคุณลักษณะที่นิยามของหัวข้อหนึ่ง สามารถค้นดูและหาชุดหน้าในหัวข้อที่นิยามจากคุณลักษณะนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ หมวดหมู่หาใช่วิธีเดียวในการทำให้ผู้ใช้ค้นดูชุดหน้าที่สัมพันธ์กันได้ มีเครื่องมือที่อาจใช้แทนหรือใช้ร่วมกับหมวดหมู่ ซึ่งได้แก่ รายการและกล่องนำทาง

การจัดเข้าหมวดหมู่

ต้นไม้หมวดหมู่อย่างง่าย
สิ่งมีชีวิต
/
สัตว์
\ 
พืช 
/
หมา
\ 
แมว

หน้าวิกิพีเดียทุกหน้าควรอยู่ในหมวดหมู่อย่างน้อยหนึ่งหมวดหมู่ ทั้งนี้ ยกเว้นหน้าคุย หน้าเปลี่ยนทาง หรือหน้าผู้ใช้ซึ่งไม่จำเป็นต้องจัดเข้าหน้าหมวดหมู่ แต่อาจจัดเข้าหมวดหมู่ได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ หน้าที่จัดเข้าหมวดหมู่แล้วยังควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่เจาะจงที่สุดทั้งหมดตามตรรกะ ตามตัวอย่างซ้ายมือ หากบทความ โกลเดินริทรีฟเวอร์ จัดเข้าหมวดหมู่หมาแล้ว ก็ไม่ควรจัดเข้าหมวดหมู่สัตว์อีก เพราะจะไปปรากฏหลายที่ และในบทความสัตว์ก็ไม่เจาะจงพอกับเนื้อหา[a]

แม้ปกติหมวดหมู่ควรชัดเจนจากชื่อของหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วซึ่งควรจัดหน้านั้นเข้าไป แต่บางทีข้อความของหน้าหมวดหมู่อาจให้สารสนเทศเพิ่มเติมหรือเนื้อหาหมวดหมู่ที่อาจมีได้ การตัดสินว่ามีหมวดหมู่ที่เหมาะสมสำหรับหน้าใดหน้าหนึ่งแล้วหรือยังทางหนึ่งนั้นคือการตรวจสอบหมวดหมู่ของหน้าที่มีหัวข้อคล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน อีกทางหนึ่งคือการค้นหาชื่อหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วดังที่อธิบายไว้ใน วิธีใช้:การค้นหา โดยใช้กล่องบนขวาของหน้า เนื่องจากทุกหมวดหมู่เป็นส่วนหนึ่งของลำดับชั้น ห้ามใส่หมวดหมู่ในหน้าราวกับว่าเป็นป้ายระบุ (tag)

บทความ

การจัดหมวดหมู่ของบทความต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ควรชัดเจนจากสารสนเทศที่พิสูจน์ยืนยันได้ในบทความว่าเหตุใดบทความนี้จึงจัดอยู่ในทุกหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวอาจถูกลบออก

การจัดหมวดหมู่จะต้องรักษามุมมองที่เป็นกลางด้วย เพราะการจัดหมวดหมู่ปรากฏในหน้าบทความโดยไม่มีความเห็นประกอบหรือการอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลหรืออธิบายการใส่นั้น ผู้เขียนควรมีสำนึกถึงความจำเป็นในการรักษามุมมองที่เป็นกลางเมื่อสร้างหมวดหมู่หรือเพิ่มหมวดหมู่ในบทความ การจัดหมวดหมู่โดยทั่วไปไม่ควรเป็นที่โต้เถียง ถ้าหัวข้อของหมวดหมู่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมาก ควรใช้บทความรายการแทนดีกว่า (เพราะสามารถให้ความเห็นประกอบและใส่อ้างอิงได้) ตัวอย่างเช่น นักการเมืองที่ยังไม่ต้องโทษฐานอาชญากรรมใด ๆ ไม่ควรใส่เข้าหมวดหมู่อาชญากร เป็นต้น

มโนทัศน์ศูนย์กลางที่ใช้จัดหมวดหมู่บทความ คือ มโนทัศน์คุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องบทความ "คุณลักษณะนิยาม" ( defining characteristic) หมายถึง คุณลักษณะที่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนิยามหัวเรื่องนั้นโดยทั่วไปและตรงกัน ตัวอย่างเช่น สัญชาติหรือวิชาชีพที่สำคัญ (ในกรณีบุคคล) ชนิดของสถานที่หรือภูมิภาค (ในกรณีสถานที่) ตัวอย่างเช่น ในบทความ การาวัจโจ คำว่า ชาวอิตาลี, ศิลปิน และ บาโรก ทั้งหมดอาจถือเป็นคุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องการาวัจโจ

มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ในการจัดบทความเข้าหมวดหมู่

  • ให้ใส่ประกาศหมวดหมู่ เช่น [[หมวดหมู่:ความงาม]] ไว้ท้ายข้อความวิกิ แต่ก่อนแม่แบบโครง ซึ่งรวมข้ามหมวดหมู่ของมันเอง
  • หมวดหมู่ที่มีชื่อเดียวกับหัวเรื่องควรขึ้นก่อน แต่นอกเหนือจากนั้นไม่มีกฎว่าด้วยการเรียงลำดับการจัดหมวดหมู่หน้า แต่ปกติหมวดหมู่ที่สำคัญหรือโดดเด่นที่สุดน่าจะขึ้นต้นก่อน
  • ปกติบทความไม่ควรมีหมวดหมู่ว่าง (ลิงก์แดง)
  • การจัดหมวดหมู่ไม่ควรจัดโดยชนิดของบทความ บทความชีวประวัติเกี่ยวกับคน ๆ หนึ่งไม่จัดอยู่ใน หมวดหมู่:ชีวประวัติ
  • บทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งไม่ควรจัดหมวดหมู่ในแบบเดียวกับที่จะทำให้สับสนกับหัวเรื่องจริง

หน้าผู้ใช้

เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างหมวดหมู่ชีวประวัติของบทความกับผู้ใช้ ผู้ใช้จึงไม่ควรจัดหน้าผู้ใช้เข้าหมวดหมู่ อย่างไรก็ตาม สามารถจัดเข้าหมวดหมู่ผู้ใช้ได้ เช่น หมวดหมู่:ผู้ใช้แบ่งตามจังหวัด เพื่อช่วยการร่วมมือกันระหว่างผู้ใช้

ด้วยเหตุผลเดียวกัน หน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ซึ่งใช้ร่างบทความก็ไม่พึงจัดไว้ในหมวดหมู่สำหรับบทความ ถ้าลอกเนื้อหาจากบทความมาลงหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ก็ให้ลบหมวดหมู่สำหรับบทความออก แล้วค่อยใส่หมวดหมู่เหล่านั้นเข้าไปตอนเผยแพร่งานร่างนั้นเป็นบทความแล้ว

ภาพ

เช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่บทความ เช่น

วิธีการสร้างหน้าหมวดหมู่

ทำได้โดยเพียงแค่ใส่ลิงก์ที่กำหนดเป็นหมวดหมู่เพิ่มเข้าไป เช่นในบทความ สีแดง ต้องการจัดเข้าหมวดหมู่ สี ให้นำเอาข้อความ [[หมวดหมู่:สี]] ใส่ไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ โดยนิยมใส่ไว้ที่ท้ายบทความ

วิธีการสร้างหมวดหมู่ย่อย

สร้างหมวดหมู่ย่อยทำเช่นเดียวกับการสร้างหมวดหมู่ในบทความ โดยการใส่ลิงก์ที่กำหนดเป็นหมวดหมู่เข้าไป เช่น หมวดหมู่ หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่ หมวดหมู่:การ์ตูน โดยการจัดหมวดหมู่ต้องพึงระวังว่า ระดับของหมวดหมู่นั้น ควรอยู่ระดับที่ครอบคลุมหรือระดับเดียวกัน โดย หมวดหมู่ของ หมวดหมู่:การ์ตูนไทย จะอยู่ในระดับเดียวกับการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองหมวดหมู่จะอยู่ภายใต้หมวดหมู่การ์ตูน หรือ หมวดหมู่ "นักเทนนิส" กับ "โปรแกรมเมอร์" สามารถอยู่ในระดับเดียวกัน ภายใต้หมวดหมู่ "บุคคลแบ่งตามอาชีพ"

หมวดหมู่ย่อยโดยปกติจะจัดขึ้นในกรณีที่บทความในหมวดหมู่นั้นมีมากเกินไป และยากต่อการค้นหา เช่น ในหมวดหมู่ หมวดหมู่:นักเขียน มีนักเขียนชาวไทย 40 ท่าน ขณะที่มีนักเขียนชาวจีน 2 ท่าน และนักเขียนชาวอเมริกัน 1 ท่าน หมวดหมู่ย่อยนักเขียนชาวไทยควรจะถูกสร้างขึ้น เพื่อง่ายต่อการค้นหา ในขณะเดียวกันหมวดหมู่ย่อยของนักเขียนชาวจีนและชาวอเมริกันอาจจะไม่มีการสร้างในตอนนั้น

การทำสารบัญในหมวดหมู่

ถ้าบทความมีบทความมาก ซึ่งทำให้ยากต่อการค้นหาสามารถเพิ่มในส่วนบนเป็น สารบัญแนวนอนโดยใส่ แม่แบบ {{ดรรชนีหมวดหมู่}} ไว้ที่ส่วนหัวของหมวดหมู่นั้น

การตั้งชื่อหมวดหมู่

  • ชื่อหมวดหมู่ตั้งชื่อตามนโยบายการตั้งชื่อบทความ ตัวอย่างเช่น ตั้งชื่อหมวดหมู่เป็นภาษาไทย หรือตั้งชื่อหมวดหมู่เป็นคำนาม ไม่เป็นคำกริยา เช่น ตั้งเป็น หมวดหมู่:ความรัก แทนที่ หมวดหมู่:รัก
  • เลี่ยงการใช้อักษรย่อ ยกเว้นเป็นอักษรย่อที่รู้จักกันดีและไม่น่าทำให้เข้าใจผิด
  • ใช้ชื่อหมวดหมู่ที่สามารถอยู่โดด ๆ ได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับว่าหมวดหมู่นั้นเชื่อมโยงกับหมวดหมู่���ื่นอย่างไร เช่น หมวดหมู่:คำศัพท์ศาสนา ไม่ใช่ หมวดหมู่:คำศัพท์ แล้วจัดหมวดหมู่ดังกล่าวใน หมวดหมู่:ศาสนา เป็นต้น
  • เลี่ยงการใช้คำวิเศษณ์อธิบาย เช่น "มีชื่อเสียง" "มีความสำคัญ" เป็นต้น
  • ใช้คำและวลีที่ใช้กันแล้วในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้แหล่งข้อมูลเหล่านั้นสนับสนุนการใส่บทความเข้าหมวดหมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเรื่องเฉพาะทาง

แป้นการเรียงลำดับ

ในหมวดหมู่จะมีการจัดเรียงตามตัวอักษรตามชื่อของบทความ เช่น ฟุตบอล และ บาสเกตบอล ในหมวดกีฬา จะถูกจัดอยู่ใน ฟ.ฟัน และ บ.ใบไม้ ตามลำดับ แต่ในบางกรณีอาจจะมีการจัดเรียงพิเศษเพื่อให้เหมาะสม เช่น บทความ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฝรั่งเศส ถ้าไม่มีการจัดพิเศษจะถูกจัดอยู่ในหมวด ป.ปลา (มาจากคำว่า ประเทศ นำหน้า) สำหรับการจัดหมวดหมู่ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายขีดตั้ง ( | ) เข้ามาช่วย เพื่อให้จัดได้เหมาะสม โดยใช้ [[หมวดหมู่:ประเทศ|ญี่ปุ่น]] และ [[หมวดหมู่:ประเทศ|ฝรั่งเศส]] สำหรับบทความประเทศญี่ปุ่น และฝรั่งเศสตามลำดับ เพื่อให้มีการจัดอยู่ใน ญ.หญิง และ ฝ.ฝา

การจัดเรียงหมวดหมู่ที่อยู่ภายใต้ชื่อตัวเองให้ใส่เครื่องหมายขีดตั้งพร้อมเว้นวรรคตามหลัง เช่น บทความนักฟิสิกส์ ในหมวดหมู่หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ [[หมวดหมู่:นักฟิสิกส์| ]] เช่นนี้ จะทำให้บทความ นักฟิสิกส์ ปรากฏอยู่ที่ตอนต้นของรายการบทความในหน้า หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ โดยจะเรียงลำดับก่อนอักษรหรือสระใด ๆ เสมอ

นอกจากนี้อาจมีการจัดเรียงให้เหมาะสมในแต่ละหมวดหมู่ย่อย

การใช้งานหมวดหมู่

  • การค้นหาสำหรับผู้อ่าน
  • การลิงก์จากบทความ ทำได้โดยใส่เครื่องหมาย โคลอน ( : ) ไว้หน้าคำว่า หมวดหมู่ เช่นต้องการลิงก์ไปที่หมวดหมู่ จิตวิทยา ให้ใส่ข้อความว่า [[:หมวดหมู่:จิตวิทยา]] ไว้ในบทความ
  • การทำหน้าเปลี่ยนทาง (REDIRECT) ไม่ควรทำในหมวดหมู่เนื่องจากทางซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ไม่รองรับการเปลี่ยนทางของบทความภายใน

การเชื่อมโยงหมวดหมู่ไปที่หมวดหมู่ภาษาอื่น

การเชื่อมโยงหมวดหมู่ไปที่หมวดหมู่ภาษาอื่นทำได้เหมือนการเชื่อมโยงบทความไปภาษาอื่นโดยใช้วิกิสนเทศ ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหมวดหมู่หลักและหมวดหมู่ย่อยที่ควรจะมี อย่างไรก็ตามในแต่ละภาษาอาจมีการจัดหมวดหมู่ที่เหมาะสมแตกต่างกันไป โดยหมวดหมู่ในภาษาหนึ่งอาจจะไม่ควรเป็นหมวดหมู่ในภาษาอื่น

เชิงอรรถ

  1. บทความ: ภราดร ศรีชาพันธุ์
    ควรจัดในหมวดหมู่: หมวดหมู่:นักเทนนิส
    ไม่ควรเป็น: หมวดหมู่:นักกีฬาที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ภ.สำเภา
    ไม่ควรเป็น: หมวดหมู่:มนุษย์
    หลักในการตั้งชื่อบทความ โดยให้ถามตัวเองว่า 1. ถ้าจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชื่อบทความนั้น สามารถเขียนได้อย่างน้อย 1 ย่อหน้าหรือไม่
    เช่น ถ้าให้เขียนว่า นักเทนนิสคืออะไร กับ นักกีฬาที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ภ.สำเภา คืออะไร
    2. ถ้าบทความนั้น โยงไปหาหมวดหมู่ สามารถเห็นถึงความสัมพันธ์เฉพาะตัวที่เกิดขึ้นหรือไม่
    เช่น ภราดร เป็นนักเทนนิส ขณะที่ ภราดรเป็นมนุษย์ (มีความหมายกว้างเกินไป)
    สำหรับบทความที่มีมากกว่า 1 หมวดหมู่ ไม่ควรใส่หมวดหมู่นั้นซ้ำซ้อนลงไปในบทความเดิม เช่น ไฟร์ฟอกซ์ ชื่อซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นเบราว์เซอร์ และเป็นซอฟต์แวร์เสรี เพราะ เว็บเบราว์เซอร์เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ และซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ อีกทอดหนึ่ง

ดูเพิ่ม