วิกิพีเดีย:โครงการวิกิแพทยศาสตร์
หน้าโครงการ · สถานีย่อย · แม่แบบ · บทความแพทยศาสตร์ · โครงการย่อยวิกิกายวิภาคศาสตร์
ยินดีต้อนรับสู่หน้าโครงการวิกิแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการของสถานีย่อย:แพทยศาสตร์ โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อความร่วมมือของชาววิกิพีเดียในการจัดการ แนะนำ และระดมความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบทความเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพในวิกิพีเดีย (ยกเว้นโรงพยาบาลและสถานพยาบาล ซึ่งอยู่ในวิกิพีเดีย:โครงการวิกิโรงพยาบาล) ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ เพื่อให้บทความทางการแพทย์มีข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นกลาง มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
หากคุณต้องการช่วยเหลือ สามารถดูได้ที่หัวข้อ คุณช่วยเราได้! ด้านล่าง หากท่านมีคำถามสามารถสอบถามได้ทันทีที่หน้าอภิปราย อย่าลืมว่า คุณสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาวิกิพีเดียนี้ได้ อย่าลังเล!
คุณช่วยเราได้!
แก้สร้างบทความที่ควรมีและบทความที่ต้องการ
แก้คุณสามารถร่วมสร้างบทความทางการแพทย์ที่ยังไม่มีในวิกิพีเดียภาษาไทย โดยอาจอ้างอิงมาจากหนังสือหรือเว็บไซต์ (แต่ห้ามลอกเนื้อหามาเด็ดขาด) หรืออาจแปลมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่นได้ ดูรายชื่อบทความทางการแพทย์ที่ยังไม่มีในวิกิพีเดียภาษาไทยได้ที่ หน้านี้ และหากท่านต้องการสร้างบทความใหม่ ให้ลองพิมพ์ค้นหาเป็นภาษาอังกฤษก่อนเพื่อตรวจดูว่ามีบทความนั้นๆ อยู่ในวิกิพีเดียแล้วหรือไม่
ช่วยเหลือบทความที่ยังไม่สมบูรณ์
แก้บทความทางการแพทย์ในวิกิพีเดียยังอยู่ในระดับ โครง อยู่เป็นจำนวนมากๆ คุณสามารถเพิ่มเติมข้อมูลให้บทความมีความยาวและคุณภาพมากขึ้นได้ทันที หลังจากที่แก้ไขบทความแล้ว สามารถนำป้าย {{โครงแพทย์}} ออกได้ ดูรายชื่อบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ทั้งหมดที่ บทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
ตั้งชื่อบทความเป็นภาษาไทย
แก้เนื่องจากบทความในวิกิพีเดียควรมีชื่อหัวข้อเป็นอักษรไทย (แม้ว่าในการใช้งานจริงทางการแพทย์มักจะใช้การทับศัพท์มากกว่า) ซึ่งสามารถหาชื่อบทความภาษาไทยสำหรับบทความทางการแพทย์ที่ยังไม่มีการกำหนดชื่อภาษาไทย โดยอาจใช้แหล่งข้อมูลดังนี้
- ชื่อโรค ให้ใช้ชื่อตามที่ระบุไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 ฉบับประเทศไทย อังกฤษ-ไทย ปี ค.ศ. 2016 (ICD-10-TM) ซึ่งเข้าถึงได้ที่ http://www.thcc.or.th/ebook1/2016/mobile/index.html#p=1
- คำศัพท์ทางการแพทย์ทั่วไป ยึดตามหลักราชบัณฑิตยสภา โดยค้นหาได้ที่เว็บไซต์ ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสภา
- หรือสำหรับคำที่ยังไม่มีการบัญญัติ ให้เขียนทับศัพท์ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา โดยอาศัยยึดตามการถอดเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ไม่ใส่วรรณยุกต์ ไม่ใช้เสียงเน้นพยางค์ (accent) และไม่ใช้เสียงพยางค์ไม่เน้น (unstressed syllable)
หรือท่านอาจคงชื่อบทความเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นเอาไว้ก่อน แล้วเขียน
{{ชื่ออังกฤษ}} หรือ {{ชื่ออังกฤษ|เหตุผล}}
ไว้ที่บรรทัดแรกของบทความ เพื่อให้ผู้อื่นช่วยหาคำทับศัพท์ที่เหมาะสม
หากท่านสามารถหาคำทับศัพท์ที่เหมาะสมมาแทนชื่อบทความภาษาอังกฤษได้ ให้เสนอชื่อบทความที่เป็นภาษาไทยได้ในหน้าอภิปรายของบทความนั้น
ทำหน้าเปลี่ยนทางจากชื่อภาษาอังกฤษเป็นชื่อไทย
แก้ปกติแล้ว หากผู้ใช้งานวิกิพีเดียต้องการค้นหาข้อมูลทางการแพทย์มักจะพิมพ์ค้นหาเป็นภาษาอังกฤษ แต่บทความในวิกิพีเดียส่วนมากจะ (ต้อง) ตั้งชื่อเป็นภาษาไทย ดังนั้นอาจทำให้หาบทความไม่พบ หรืออาจมีกรณีที่บางครั้งมีบทความอยู่แล้ว แต่ก็มีผู้มาสร้างบทความใหม่ซ้ำเพราะหาบทความที่มีอยู่เดิมไม่เจอ
ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงแนะนำให้แต่ละบทความมีหน้าเปลี่ยนทางจากบทความภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยด้วย เช่น บทความกระดูกอัลนา ก็ให้มีหน้า ulna เปลี่ยนทางมาที่บทความกระดูกอัลนาด้วย
และหากท่านต้องการสร้างบทความใหม่ ให้ลองพิมพ์ค้นหาเป็นภาษาอังกฤษก่อนเพื่อตรวจดูว่ามีบทความนั้นๆ อยู่ในวิกิพีเดียแล้วหรือไม่
ต้องการการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
แก้หลายๆ บทความในวิกิพีเดียรวมทั้งบทความทางการแพทย์ต้องการการตรวจสอบจากผู้ที่รู้จริง หรือได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้ปรับแก้รูปแบบ แก้ไขการใช้ศัพท์ แก้ไขข้อความที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลในเชิงลึก ท่าสามารถดูรายชื่อบทความที่ต้องการการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดได้ที่ รายชื่อบทความที่ต้องการการตรวจแก้โดยผู้เชี่ยวชาญ
ใส่ป้าย "โครง"
แก้บทความเกี่ยวกับการแพทย์ใดที่ยังมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน สั้นเกินไป หรือมีเฉพาะความหมาย ท่านสามารถใส่ป้าย {{โครงแพทย์}} ได้ที่ด้านล่างของบทความ
ใส่อ้างอิง
แก้แหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความจำเป็นสำหรับบทความในโครงการนี้ ดูวิธีการใส่แหล่งข้อมูลอ้างอิงได้ในหน้า การอ้างอิงแหล่งที่มา
เก็บกวาดบทความ
แก้เก็บกวาดบทความที่มีลิงก์ไปภาษาอื่นที่มีป้าย {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} โดยอาจสร้างบทความในภาษาไทยในลิงก์นั้นแทนที่
ร่วมดูแลสถานีย่อย แพทยศาสตร์
แก้แม้คุณจะศึกษาหรือไม่ได้ศึกษาโดยตรง��าทางด้านแพทยศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ คุณก็สามารถช่วยเราดูแลและปรับปรุงได้เพื่อให้สถานีย่อย:แพทยศาสตร์คงอยู่ต่อไปในอนาคต โดยสามารถเสนอชื่อเป็นผู้ดูแลได้ที่รายชื่อสมาชิกด้านบน และร่วมอภิปรายเพื่อปรับปรุงสถานีย่อยให้ดีขึ้นในหน้าอภิปรายของสถานีย่อย
จัดระดับบทความทางการแพทย์
แก้คุณสามารถจัดระดับบทความทางการแพทย์ตามระดับการเขียนบทความ ในหน้าพูดคุยของบทความนั้นๆ โดยติดป้ายดังนี้
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=คัดสรร}} สำหรับบทความระดับคัดสรร
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=คุณภาพ}} สำหรับบทความระดับคุณภาพ
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=ดี}} สำหรับบทความระดับดี
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=พอใช้}} สำหรับบทความระดับพอใช้
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=โครง}} สำหรับบทความระดับโครง
- {{บทความแพทยศาสตร์|ระดับ=รายชื่อ}} สำหรับบทความระดับรายชื่อ หรือบทความที่เป็นดัชนีรายชื่อ
- {{บทความแพทยศาสตร์}} สำหรับบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่แน่ใจว่าอยู่ในระดับใด
แม่แบบที่ใช้ในโครงการ
แก้แม่แบบ | วิธีใช้ | แสดงผล | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
{{บทความแพทยศาสตร์}} | ใส่ในหน้าอภิปรายของบทความทางการแพทย์ |
| ||||||
{{โครงแพทย์}} | ใส่ที่ท้ายบทความทางการแพทย์ที่ยังไม่สมบูรณ์ |
รางวัล
แก้การเขียนบทความทางการแพทย์ที่ดีเป็นงานที่ยาก ลองมอบรางวัลแก่ใครสักคนที่คุณเห็นว่าทำงานได้ดีเพื่อโครงการของเราด้วยการตกแต่งหน้าผู้ใช้ของเขาด้วย
ดาวเกียรติยศโครงการวิกิแพทยศาสตร์ | {{subst:ดาวเกียรติยศโครงการวิกิแพทยศาสตร์|เหตุผล ~~~~}} | ดาวเกียรติยศโครงการวิกิแพทยศาสตร์ พิจารณามอบให้ชาววิกิพีเดียที่แสดงความพยายามและอุทิศตนเพื่อบทความเกี่ยวกับโครงการวิกิแพทยศาสตร์ ดาวเกียรติยศนี้ออกแบบโดย Eustress เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 |
หรืออาจดูการให้รางวัลอื่นๆ เพิ่มเติมที่หน้า วิกิพีเดีย:ดาวเกียรติยศ