วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/กรุ 6
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 | ← | กรุ 4 | กรุ 5 | กรุ 6 | กรุ 7 | กรุ 8 | → | กรุ 10 |
1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 |
เมนูด้านซ้าย
ตอนนี้ที่มีอยู่ กะว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่ม วิกิพีเดีย:เริ่มต้น เข้าไป อีกนึงอัน และเปลี่ยนคำว่า "ปุจฉา-วิสัชนา" เป็น "ถามคำถาม" มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
- หน้าหล��ก
- ศาลาประชาคม
- เหตุการณ์ปัจจุบัน
- ปรับปรุงล่าสุด
- ปุจฉา-วิสัชนา
- สภากาแฟ
- สุ่มบทความ
- ช่วยเหลือ
- ช่วยสนับสนุน
- นอกจากนี้อาจจะเพิ่ม GA, FA เข้าไปในเมนูด้วย ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า --Manop | พูดคุย 22:02, 2 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วยครับ สำหรับผู้ใช้ใหม่ การเพิ่ม GA FA ก็ทำให้ผู้ใช้ได้เห็นบทความตัวอย่างด้วย เห็นด้วยครับ --Sry85 03:28, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วยเช่นกันสำหรับข้อเสนอเบื้องต้น รวมถึง GA FA ด้วย แต่ "ปุจฉา-วิสัชนา" ถ้าเปลี่ยนเป็น "ถามมา-ตอบไป" จะดีกว่ามั้ยคะ?--Se:Rin | พูดคุย - 03:34, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับวิกิพีเดีย + วิกิพีเดีย:โรงเรียนเตรียมพร้อมวิกิ + วิกิพีเดีย:ตรวจสอบบทความ แล้วก็อาจทำเป็นกล่องแยกสำหรับผู้เขียนหน้าใหม่ไปเลย จะเป็นอย่างไรบ้างครับ --unknown_00011 04:41, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ผมไม่คิดว่าจะเปลี่ยนชื่อปุจฉา-วิสัชนา หากเปลี่ยนเป็น ถามคำถาม คำถามทุกอย่างรวมทั้งการใช้งานหรือนโยบายก็จะมีแต่คนไปถามในนั้นหมด แล้วใครแปล donation ว่า ช่วยสนับสนุน ครับ ควรใช้คำว่า บริจาคแด่มูลนิธิ ไปเลยดีกว่า ไม่คลุมเครือ--Octahedron80 04:53, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เรื่องถามคำถามลืมบอกไป กะว่าจะสร้างหน้าใหม่ไปเลย แล้วก็แยกว่าจะถามอะไร ให้ไปที่ไหน ถามคำถาม ไป ปุจฉา-วิสัชนา ถามการใช้งานไป เลขาชาววิกิพีเดีย อะไรพวกนี้นะครับ --Manop | พูดคุย 05:34, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ส่วนคำว่า "ช่วยสนับสนุน" นี่ผมว่าก็ฟังดูดีนะครับ คำว่า "บริจาค" มันแปลก ๆ (ความเห็นส่วนตัว) แล้วก็ลิงก์ที่กดเข้าไปก็ไม่มีบริจาคในเมืองไทยด้วยครับ ว่าไป แต่คำว่า "บริจาค" ก็ตรงประเด็นดี คนจะได้ไม่กดเข้าไปผิด ส่วนถ้าจะเปลี่ยนคำเดี๋ยวไปแก้ที่ มีเดียวิกิ:Sitesupport ครับ --Manop | พูดคุย 05:44, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ถามคำถาม สร้างหน้าใหม่ก็ดีนะครับ ตอนนี้ ขนาดมีตัวใหญ่ ๆ บนหัวหน้า ว่าใช้สำหรับอะไร ก็ยังถามกันปนเปไปหมด (ส่วนใหญ่จะเป็นของขาจร) ถ้ามีลิ้งค์ถามคำถาม แล้วไปยังหน้าบอกทางอาจจะดีขึ้น ส่วนเปลี่ยนช่วยสนับสนุนเป็นบริจาค ผมก็ว่ามันก็ตรง ๆ ดีครับ ไม่อ้อมค้อม --KINKKU • ANANAS 15:58, 3 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ตอนนี้แก้แล้วนะครับ ตามความเห็นด้านบน ปุ่ม ปรับปรุงล่าสุด ย้ายตำแหน่งนิดหน่อย อาจจะงงได้ ส่วน วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับวิกิพีเดีย + วิกิพีเดีย:โรงเรียนเตรียมพร้อมวิกิ + วิกิพีเดีย:ตรวจสอบบทความ ผมเว้นไว้ก่อนละกันครับ เพราะว่าตอนนี้ค่อนข้างจะมีหลายเมนูแล้ว กลัวผู้ใช้ใหม่จะงงก่อน --Manop | พูดคุย 20:03, 8 สิงหาคม 2007 (UTC)
- สับสนกับตำแหน่ง ปรับปรุงล่าสุด มากที่สุดตอนนี้ หาไม่ค่อยจะเจอ - -"--Se:Rin | พูดคุย - 02:31, 9 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วย ควรมีลิงก์หน้าสอน (วิกิพีเดีย:เริ่มต้น หรือ วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน อันใดอันหนึ่ง) ไว้ที่ ป้ายบอกทาง ใน เมนูซ้ายมือ (ที่จริงก่อนหน้ามีหน้าเริ่มต้น เคยเสนอให้ทำ ทางลัดไป "กระบะทราย" ในเมนูซ้าย เพราะเห็นว่าเพื่อสะดวกกับผู้เขียน ทั้งกับมือใหม่ 'ที่อยากลองเขียน แต่ทำผิดทำถูก กว่าจะได้ต้องแก้หลายรอบ จะได้ไม่เปลือง' และกับมือเก่า 'ที่ add favorite หรือตั้ง home ที่หน้าอื่น' แต่ในเมื่อมี หน้าสอน แล้ว ก็ย่อมเหมาะสมกว่า) สรุปว่าเสนอใหม่อีกรอบ ให้เอาหน้าสอนนี้ ขึ้นหิ้งเมนูซ้าย --Sirius (TeeTaweepo)
แม่แบบ:เว็บย่อ และ แม่แบบ:เว็บย่อ
ขณะนี้แม่แบบที่แสดงชื่อย่อของบทความมีอยู่ 2 อันคือ แม่แบบ:เว็บย่อ และ แม่แบบ:เว็บย่อ ซึ่งแม่แบบสองอันนี้จะแสดงผลที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองแม่แบบก็มีบทความที่ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก น่าจะมีการกำหนดให้ใช้แบบใดแบบหนึ่งไปเลยนะครับ เพื่อจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด -- Portal 04:30, 6 สิงหาคม 2007 (UTC)
ผมทำเปลี่ยนทาง เว็บย่อ → เว็บย่อ นะครับ เพราะเว็บย่อโดนล็อก แก้ไม่ได้ ซึ่งผมกะว่าจะทำให้รองรับชื่อย่อหลายชื่อได้ด้วย --Octahedron80 04:50, 7 สิงหาคม 2007 (UTC)
ไม่แตกต่างกันเลยครับ ทั้งคู่ก็มีลิงก์ไปยังนโยบาย วิกิพีเดีย:เว็บย่อ เหมือนกัน (ก่อนเปลี่ยนทาง) ผมยังเจอ แม่แบบ:ชื่อย่อ อีกด้วยต่างหาก --Octahedron80 05:36, 7 สิงหาคม 2007 (UTC)
- จริง ๆ แล้ว แม่แบบ:เว็บย่อ อันเดินจะมีข้อดีตรงที่มันสั้น ทำให้สามารถใส่ได้หลายชื่อสำหรับบทความที่มีชื่อย่อหลายชื่อได้ อย่างบทความเรื่อง วิกิพีเดีย:บอต ในวิกิอังกฤษมีชื่อย่อหลายชื่อมาก แต่ถ้าใช้แม่แบบ:เว็บย่อจะสามารถแสดงได้แค่ชื่อเดียวเท่านั้น -- Portal 08:56, 7 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ผมถึงอยากจะแก้ให้ใส่หลายชื่อได้ไงครับ หรือแอดมินคนไหนจะแก้ให้ เพราะมันล็อกอยู่ (ติดมากับหน้า รายชื่อที่ถูกบล็อก) --Octahedron80 08:59, 7 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เดิมที่ผมเ้ข้าใจ (และใช้) คือ เว็บย่อ (อันสั้น) ใช้กับกลุ่มหน้านโยบาย หน้าภายในโครงการ เป้าหมายคือ เป็นทางลัดสำหรับชาววิกิพีเดีย เช่น WP:FA แทนที่จะเป็น วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร ส่วนเว็บย่อ (เป็น URL) จะใช้กับบทความ เป้าหมายสำหรับผู้อ่านทั่วไปสามารถนำ URL นี้ไปใช้อ้างอิงได้ (เพราะบอกแต่ตัวชื่ออย่างเดียวก็อาจจะสับสนว่า เอาไปใช้อย่างไร ส่วนหน้าภายใน ไม่จำเป็นต้องใส่เต็ม ๆ ให้ยาวเกะกะ) --KINKKU • ANANAS 15:23, 8 สิงหาคม 2007 (UTC)
ถ้าอย่างนั้นเราควรปรับนโยบายเว็บย่อใหม่ดีไหมครับ ให้ใช้แม่แบบสองอย่าง กล่าวคือ ให้เนมสเปซ WP ใช้อย่างหนึ่ง บทความทั่วไปใช้อีกอย่างหนึ่ง --Octahedron80 16:54, 8 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ก็ดีครับ เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ สำหรับ WP น่าจะใช้แม่แบบเว็บย่อเดิมได้ -- Portal 08:35, 11 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ตอนนี้ผมได้สร้าง แม่แบบ:เว็บย่อวิกิ ซึ่งเหมือนแม่แบบเว็บย่อเดิมมาลองใช้ดูก่อนนะครับ มีอธิบายไว้ในนโยบาย วิกิพีเดีย:เว็บย่อ ตัวอย่างการใช้ดูได้ที่ วิกิพีเดีย:บอตก่อนนะครับ มีความเห็นว่าอย่างไรบ้าง ถ้าดีก็จะได้นำไปใช้กับเนมสเปซ WP ทั้งหมด -- Portal 04:48, 13 สิงหาคม 2007 (UTC)
คำว่า link น่าจะตรงกับจุดประสงค์ (hyperlink, url) มากกว่า คำว่า web น่าจะเป็น แม่แบบ:เว็บย่อวิกิ และ แม่แบบ:เว็บย่อ นะผมว่า 58.136.73.26 21:18, 29 สิงหาคม 2007 (ICT)
- web มันคือ world wide web เลย เว็บย่อ ฟังแล้วคิดถึง mini-www ไม่ได้คิดถึง url 21:19, 29 สิงหาคม 2007 (ICT)
CC
สำหรับชาววิกิพีเดียที่เป็นตัวเก็บภาพ (ตัวอะไร) และยังงงอยู่ว่า CC มันคุ้มครองยังไง เราอธิบายความหมายของ แม่แบบ:Cc-by-2.5 และ แม่แบบ:Cc-by-sa-2.5 เพิ่มเติมแล้ว (แปลมาจากคอมมอนส์) หวังว่าคงเลือกใช้ให้ถูกใจ --Octahedron80 09:38, 10 สิงหาคม 2007 (UTC)
โฆษณา
น่าจะมีผู้สนับสนุนเพิ่มบ้างนะ เช่น โฆษนา เป็นต้น (นิดหน่อยก็ยังดีไม่ใช่หรอครับ) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 203.113.61.73 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
ผู้ดูแล
วิกิพีเดีย:การถอดถอนผู้ดูแลระบบ
จากที่ ผู้ใช้:Sundae มาร้องเรียนในวิกิพีเดีย:สภากาแฟ (จิปาถะ) ทำให้ผมได้ความคิดว่าเราควรจะมีหน้าวิกิพีเดีย:การถอดถอนผู้ดูแลระบบเหมือนวิกิอังกฤษ เวลามีเรื่องร้องเรียนมาจะได้มีมาตรการจัดการอย่างรวดเร็ว (ไม่แน่ใจว่าในหน้าอังกฤษเป็นเรื่องการถอดถอนโดยตรงหรือเปล่า หรือเป็นเรื่องการร้องเรียนกันแน่) Prince 12:12, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- ผมคิดว่าการถอดถอนแอดมินฯคงยากที่จะเป็นมาตรการรวดเร็ว (นอกจากกรณีฉุกเฉิน ซึ่งก็คงเป็นลักษณะของกระบวนการเฉพาะกิจ) ในหน้าของวิกิพีเดียอังกฤษ มี 21 กรณีที่มีการถอดถอน ส่วนหนึ่งเป็นลักษณะ ad hoc (การตัดสินใจเฉพาะกรณี) และก็มีที่เป็นกรณีของ arbitration committee (WP:AC) ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าความขัดแย้งเรื่องแอดมินคงไม่เกิดบ่อย ๆ ลักษณะก็คงจะเป็นการเริ่มเสนอปัญหา (แบบที่ Sundae ทำ) และก็คงมีการอภิปรายผ่านชุมชนวิกิพีเดียเพื่อหาทางออก (ในหน้าภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ระบุชัดถึงเฉพาะกรณีแอดมิน แต่บอกให้ใช้ WP:DR ซึ่งเป็นแนวทางในการยุติความขัดแย้งภายในชุมชนวิกิพีเดีย) kinkku ● ananas 18:47, 8 พฤษภาคม 2007 (UTC)
- น่าสนใจเหมือนกันครับ แต่ก่อนก็ไม่เคยเห็นว่ามีปัญหาอะไร แต่ตอนนี้เริ่มเห็นบ้างแล้ว ก็น่าจะมีไว้เพื่อให้คนได้รับผลกระทบฟ้องดูครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 04:12, 11 มิถุนายน 2007 (UTC)
การเลือกตั้งผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง
กลับมาทำหน้าที่ชั่วคราวครับ ระหว่างนี้ควรมีการเลือกตั้งผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งเพิ่มเติมจากผู้ดูแลปกติ และจากที่ได้ไปแจ้งลาออก ได้พบว่าในวิกิพีเดียภาษาอื่นได้มีการยกเลิกสถานะผู้ดูแลกับผู้ดูแลที่ไม่ active เป็นเวลานาน คิดว่าจะน่าลองพิจารณามาใช้บ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งผู้ดูแลเพิ่ม (ตัดเหตุผลที่ว่ามีจำนวนผู้ดูแลมากพอแล้ว) --Pi@k 01:31, 4 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วยค่ะสำหรับการเลือกตั้งผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง เพื่อให้มีจำนวนเพิ่มเติมจากผู้ดูแลปกติ เพราะตอนนี้ผู้ดูแลที่มีสิทธิ์แต่งตั้งที่ active เหลือน้อยมาก แต่ติดปัญหาที่จะเสนอให้มีการเลือกตั้งได้ที่ไหนคะ?--Se:Rin | พูดคุย - 01:46, 4 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เสนอชื่อที่ วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล ได้เลยครับ --Pi@k 01:57, 4 สิงหาคม 2007 (UTC)
การถอดถอนผู้ดูแล (ต่อ)
- เห็นมีผู้ใช้ ScorpianPK (ขออ้างอิงหน่อยนะครับ) ถามคำถามทิ้งไว้ใน วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล เมื่อ 10 สิงหาคม 2550 เกี่ยวกับ เรื่องผู้ดูแลที่ไม่ได้เข้าวิกิพีเดียแล้ว และผู้ดูแลที่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบครับ และมีคำตอบไว้ ดังด้านล่างนี้ครับ
- สำหรับผู้ดูแลที่หายไปนาน ความเห็นส่วนตัวของผมคือให้คงสิทธิ์ผู้ดูแลได้ครับ ดูอย่างผู้ใช้:PaePae ที่เคยหายไปอยู่พักใหญ่ ๆ (เช่น ช่วงพฤศจิกายนปีที่แล้วถึงมีนาคมปีนี้ พิเศษ:Contributions/PaePae) ก็ยังกลับมาครับ ถ้าเดิมเคยทำหน้าที่ได้ดี ถ้าได้กลับมาใหม่ก็น่าจะทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
- เรื่องผู้ดูแลที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ถ้าเกิดต่อไปมีปัญหาขึ้นจริงก็เสนอให้มีการโหวตแล้วแจ้งไปที่ meta ให้ถอดได้ครับ -- Lerdsuwa 08:42, 12 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ตอนนี้ในวิกิ��ีเดียไทยยังไม่มีนโยบายจัดการส่วนที่คุณ ScorpianPK ถามไว้นะครับ และที่ผ่านมาผู้ดูแลที่ปฏิบัติมิชอบก็ยังไม่เห็น นอกจากเผลอไปกัดผู้ใช้ใหม่โดยบังเอิญ ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงคงต้องให้มีการอภิปราย ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร และเกิดขึ้นอย่างไร เพราะหลายอย่างในวิกิพีเดียอาจเกิดจากความเข้าใจผิดกันได้ง่าย
- ส่วนเรื่องผู้ดูแลที่ไม่ได้ร่วมงานกับวิกิพีเดียไทยแล้ว (inactive) คิดว่าหลายคนคงมีธุระยุ่งส่วนตัว และบางคนคงหมดความสนใจในวิกิพีเดียแล้ว ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าคงไม่ถึงกับต้องมีวิธีการจัดการแทนนะครับ แต่ละคนคงโตพอและรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้ ปัญหาอย่างเดียวตอนนี้ที่มีก็คงมีแต่ที่คนภายนอกรวมถึงคนจากวิกิพีเดียภาษาอื่น มองว่าวิกิพีเดียไทยมีผู้ดูแลระบบเกือบ 20 คน แต่จัดการอะไรหลายอย่างช้าและไม่ทันเหตุการณ์
--Manop | พูดคุย 04:13, 12 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ถามเหมือนประกวดนางสาวไทยเลย, ความจริงแล้ว ผู้ดูแล หรือผู้ใช้ทั่วไป มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือการทำงานในวิกิพีเดียเท่าเทียมกันเลย โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้า ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จะต้องช่วยกัน ผู้ดูแลอาจมีสิทธิ์พิเศษตรงที่สามารถล็อก หรือบล็อก ตามสถานการณ์
- เรื่องผู้ดูแลถ้าหายไปนาน อาจจะต้องมีระเบียบที่แน่นอน ว่าหายไป 6 เดือน ควรจะทำยังไง หายไป 1 ปี ต้องเลิกเป็นผู้ดูแล ฯลฯ ไม่ทราบเหมือนกัน ว่าเขามีระเบียบแบบนี้หรือเปล่า
- ผู้ดูแลที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม ก็ต้องช่วยกันตักเตือน โดยมากก็เกรงใจกันเพราะผู้ดูแล มักจะเข้ามาบ่อย คุ้นหน้าคุ้นตากันมานาน ตามนิสัยคนไทย ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ถูกเท่าไหร่ แต่ยังไงก็สนับสนุนให้ทุกคนช่วยกัน มากกว่าจะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลไม่กี่คน แต่เข้าใจว่า ผู้ใช้ส่วนมากคาดหวัง ว่าผู้ดูแลจะเป็นที่เกรงใจของหลาย ๆ คน ถ้ารุนแรง คงต้องเตือน หรือเสนอแนะอะไรสักอย่าง แต่ที่ผ่านมา การปะทะกัน ไม่ว่าผู้ดูแล หรือผู้ใช้ทั่วไป ไม่ค่อยจะได้รับการไกล่เกลี่ย หรือตัดสินใจ ตรงนี้ น่าจะยกเป็นประเด็นคุยกันจริง ๆ จัง ๆ
--ธวัชชัย 14:14, 12 สิงหาคม 2007 (UTC)
เลยน่าจะมีนโยบายว่าถ้าผู้ดูแลระบบคนไหนเลิกสนใจวิกิพีเดียแล้ว หรือไม่ได้เข้าวิกิพีเดียเป็นเวลานาน น่าจะมีการเสนอให้ออกจากการเป็นผู้ดูแล เหมือนที่มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้ ท่านอื่นมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ --Manop | พูดคุย 04:53, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นด้วยครับ ควรจะมีหน้าแจ้งถอดถอนผู้ดูแล
- ผู้ดูแลที่หายไปนานมาก ๆ ก็ควรจะปลดได้นะครับ เพราะตอนนี้วิกิพีเดียไทยมีผู้ดูแลที่ inactive เยอะมาก แต่อาจจะเพิ่มระยะเวลาสักหน่อย เป็น 9 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งถ้าผู้ดูแลคนนั้นกลับมาและทำหน้าที่ได้ดีก็สามารถเสนอให้เป็นผู้ดูแลอีกครั้งได้ -- Portal 13:52, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ผมว่าผู้ดูแลที่ inactive และไม่ได้แจ้งสาเหตุของการหายตัวเป็นเวลานานมาก รวมทั้ง ผู้ดูแลที่แจ้งความประสงค์ที่จะขอออกจากตำแหน่ง เช่น คุณ Jittat และ คุณจุง (คุยเรื่อง วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล#การลาออกจากการเป็นผู้ดูแล) ก็ควรจะมีมาตรการที่จะถอดถอนออกครับ ไม่งั้นก็คงมีผู้ดูแลระบบเยอะ แต่ไม่มีคนทำงาน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่กลับมา แต่ส่วนน้อยครับที่จะกลับมาทำงานจริง ๆ ส่วนเรื่องผู้ดูแลที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบก็ควรมีมาตการจัดการเป็นระดับขั้นเช่นกัน ตั้งแต่ระดับตักเตือนถึงถอดถอน และน่าจะใช้ระบบความจริงที่เกิดขึ้นในการตัดสิน ไม่ใช่ระบบเกรงใจ หรือรู้จักกันมาใช้ในกรณีนี้ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 02:02, 18 สิงหาคม 2007 (UTC)
- เห็นสมควรอย่างยิ่งที่ควรจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการที่ผู้ดูแลระบบในวิกิพีเดียไทย ละทิ้งหน้าที่หรือหายจากวิกิพีเดียไทยไปนาน ๆ หรือรั้งตำแหน่งผู้ดูแลระบบ แต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่นหายไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน 1 ปี หรือมากกว่านั้น ก็ควรที่จะมีการพิจารณาว่าสมควรยังดำรงตำแหน่งผู้ดูแลระบบอยู่หรือไม่--Se:Rin | พูดคุย - 02:35, 18 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ความเห็นส่วนตัวแล้วผมว่าคงไม่มีใครได้ประโยชน์จากการเป็นแอดมินวิกิพีเดียเป็นแน่ และหลายคนที่หายไปนาน ก็คงไม่ได้คิดอะไร แค่หมดความสนใจเท่านั้น ดีไม่ดีบางคนอาจลืมรหัสผ่านไปแล้วด้วยซ้ำ หรืออาจจะคิดว่าไม่สำคัญว่าการออกจากการเป็นแอดมินเพื่ออะไร ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นคือผู้ใช้ใหม่บางคนไปขอคำปรึกษาจากแอดมินที่ไม่อยู่แล้ว และแน่นอนไม่ได้คำตอบกลับจากแอดมินนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับวิกิพีเดียไป เลยคิดว่า อาจจะมีการเสนอให้ออกเอง หรืออย่างน้อยติดป้ายไว้บนหน้าผู้ใช้และหน้าพูดคุยว่าแอดมินคนนี้ไม่ได้มีส่วนร่วมแล้ว (ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ใครเคืองหรือขัดใจใครหรือเปล่านะครับ)
- เรื่องระยะเวลากับจำนวนบทความผมว่า ถ้าแก้ไขน้อยกว่า 100 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อาจจะติดป้ายอย่างที่บอก
- ส่วนเรื่องแอดมินที่ทำตัวไม่เหมาะสม ผมเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าในอดีตก็เคยมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ที่แอดมินโดนผู้ใช้ใหม่แก้ไขบทความ แล้วโมโหมาก เลยไปหาเรื่องกับผู้ใช้ใหม่คนนั้น ใส่ไปหลายที และแอดมินคนอื่น ๆ (ช่วงนั้นมีประมาณ 10 กว่าคนได้) ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ เลยคิดว่าน่าจะจับแอดมินที่มีปัญหามาชี้แจงการกระทำ ถ้าชี้แจงไม่ได้ ก็ค่อยว่ากัน หรืออาจจะสร้างหน้าแจ้งสำหรับแอดมินที่ประพฤติตัวไม่เหมาะขึ้นมา เพราะเคยมีอีกเหตุการณ์ที่ว่าแอดมินทำตัวไม่เหมาะ แล้วพอไปถามให้ชี้แจ้ง ก็ได้คำตอบกลับมาว่า ก็ให้ไปฟ้อง พอถามว่าไปฟ้องที่ไหน ก็บอกว่า "ไม่มี"
- ปัญหาเหล่านี้น่าจะมีเขียนขึ้นไว้ เผื่อเป็นแนวทางของแ��ดมินรุ่นต่อ ๆ ไปครับ --Manop | พูดคุย 04:16, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
เรื่อง inactive นั้น ผมมองว่าผู้ดูแลควรจะมาแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจกันว่าจะให้เป็นแบบไหน ปัจจุบันนั้นในรายชื่อที่แสดงหน้า WP:ADMIN ก็ได้ทำการแบ่งแยกแล้ว ซึ่งหากคิดว่าควรยกเลิกการเป็นผู้ดูแลหากไม่ได้เข้ามานานนั้น ผมเองเสนอช่วงเวลา 1 ปีหากมีการแก้ไขน้อยกว่า 50 ครั้ง สำหรับเรื่องที่ผู้ดูแลระบบไม่เหมาะสมนั้น ปัจจุบันนี้ได้มีนโยบายแนวทางให้พูดคุยกับผู้ดูแลระบบกันก่อน ซึ่งเท่าที่ผมเห็นและเจอ ส่วนใหญ่มีแต่การเข้าใจผิดกันทั้งนั้น ผมเชื่อว่าผู้ดูแลทุกคนล้วนแต่มีเจตนาที่ดี เพียงแค่พูดคุยเข้าหากันก่อน ก็น่าจะเข้าใจกันได้ ซึ่งระบบวิกิพีเดียนั้นจะมีผู้ดูแล active กันหลายคนอยู่แล้ว ซึ่งทำให้สามารถช่วยกันรับเรื่อง ช่วยกันแก้ไขปัญหา และแก้แทนกันได้หมด ถ้าจะเสนอหน้าจริง ๆ ใจจริงแล้วอยากให้มี en:Wikipedia:Administrators' noticeboard ซึ่งเป็นประโยชน์ในการหารือเรื่องเกี่ยวกับการดูแล และสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ดูแลกันมากขึ้น และเป็นอีกช่องทำให้ผู้ใช้ทุกคนสะดวก ซึ่งหากต้องการติดต่อผู้ดูแลระบบไม่ว่าจะเป็นใคร ก็สามารถใช้หน้าดังกล่าวได้ --Jutiphan | พูดคุย - 06:32, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ผมว่าที่คุณ Jutiphan บอกว่า "ผู้ดูแลควรจะมาแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจกันว่าจะให้เป็นแบบไหน" นี่คงยากนะครับ เพราะผู้ดูแลหลายคนเขาเลิกเข้าวิกิแล้วอะครับ ถึงกลายมาเป็นประเด็นนี้เกิดขึ้น ฮุฮุ แซวเล่นนะครับ เข้าเรื่องดีกว่า คือที่คิดไว้สองแผนนะครับ คือแผนใหม่ที่บอกไว้ด้านบนสำหรับ แอดมินที่จะมีขึ้นในอนาคต ส่วนแอดมินในอดีตที่ผ่านมาผมว่าถ้าเราจะตัดเขาไปเลย มันจะไม่ดีหรือเปล่าครับ เพราะเดี๋ยวจะโดนหาว่า ยึดอำนาจรัฐประหารแล้วเปลี่ยนรธน. เอ้ย เปลี่ยนนโยบายไล่คนเก่าออกได้ พอมีแนวทางไหมครับ --Manop | พูดคุย 21:12, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
แนวทางในการพูดคุยกันก่อนเป็นแนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาผู้ดูแลระบบไม่เหมาะสมที่ดีครับ แต่ที่ผมเห็นบางครั้งกลับได้รับการเฉยเมยต่อผู้ดูแลคนนั้น รวมทั้งกลับไปต่อว่าผู้ใช้อีกว่าทำไมไม่ทำตามระบบ อันที่จริง ไม่ว่าเขาจะไปพูดคุยที่ไหนมันก็เพื่อการพูดคุยกันทั้งนั้นละครับ ไม่ควรละเลย และบางครั้งผมเห็นว่าก็ไม่มีการใส่ใจของผู้ดูแลที่จะไปตอบข้อร้องเรียนของผู้ใช้ นาน ๆ เข้าก็ทำเฉยเมยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นซะงั้น ทำให้ผู้ใช้ที่เขียนบทความที่ดีหายไปก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อการคานอำนาจควรจะมีมาตรการหนึ่งมาตรการใดที่จะป้องกันผู้ดูแลที่ทำตัวไม่เหมาะสมครับ
ส่วน inactive โดยไม่แจ้งสาเหตุของการหายตัวไปอย่างลึกลับนั้น คงต้องกำหนดระยะเวลาในการแจ้งเตือนผู้ดูแลที่ inactive เช่น แจ้งเตือนเมื่อแก้ไขน้อยกว่า 50 ครั้ง ต่อ 6 เดือน และเสนอรายชื่อถอดถอนถ้าครบ 1 ปีก็ท่าจะดี อย่างไรก็ตาม ต้องแจ้งให้ผู้ดูแลท่านนั้นทราบและแสดงความจำนงว่าต้องการรับตำแหน่งต่อไปหรือไม่ ถ้าต้องการอยู่ในตำแหน่งต่อไม่ว่าจะ 2 ปี เข้า 100 ครั้ง หรืออย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรจะถอดถอนเขาครับ นอกจากนี้ ผู้ดูแลถ้าไม่อยู่ติดธุระ ก็น่าจะหัดติดป้ายมีธุระหรือลาพักร้อนไว้ด้วยครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 03:45, 20 สิงหาคม 2007 (UTC)
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นด้านบนครับ จากข้อความด้านบน ผมตัดบทสรุปเลยละกัน
- ผมได้สร้างหน้า วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ สำหรัีบไว้แจ้งหลาย ๆ เรื่องต่อผู้ดูแลระบบ
- ได้เขียนเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ เกี่ยวกับการถอดถอน (ฝากรบกวนดูและตรวจสอบกันด้วย)
- ทำป้าย {{ผู้ดูแลไม่อยู่}} ไว้ เผื่อไว้ติดในหน้าผู้ใช้และหน้าพูดคุย ของผู้ดูแลระบบครับ (ฝากด้วยเช่นกัน)
ดาวสัญลักษณ์ของบทความคัดสรร
พอดีไปเห็นดาวที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ไว้แปะที่บทความคัดสรรมา เป็นดาวสีส้ม แล้วเห็นในภาษาอื่นหลายภาษา เขาใช้ดาวสีน้ำตาลแบบนี้กัน en:ไฟล์:LinkFA-star (ja).png (น่าจะเกือบทุกภาษาเลยที่ใช้) และไฟล์ชื่อเดียวกันนี้ในคอมมอนส์ก็เป็นดาวสีน้ำตาลแบบในวิกิภาษาอื่น ๆ ก็เลยคิดว่าวิกิไทยน่าจะเปลี่ยนให้เหมือนกับภาษาอื่น เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่จะอัปโหลดทับก็ไม่ได้เพราะไฟล์นี้ถูกล็อกอยู่ อยากให้ Admin ช่วยจัดการหน่อยครับ -- Portal 14:26, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
เขาเรียก ดาวทอง กัน แต่ดูยังไงก็เหมือนดาวขึ้นสนิมว่าไหม :D --Octahedron80 15:45, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ถ้าส่วนใหญ่ชอบแบบเดิมกันก็คงไว้แบบเดิมดีแล้วครับ พอมาดูอย่างละเอียดก็เห็นว่ามีภาษาที่ใช้ดาวทองเหมือนกันก็มีอยู่มากเหมือนกัน
- สัญลักษณ์ของบทความคัดสรรในภาษาอื่น
- ดาวสีทอง ( ) - ไทย, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ดัตช์, ญี่ปุ่น, เวียดนาม
- ดาวสีน้ำตาล ( ) - อังกฤษ, สวีเดน, โปรตุเกส, ตุรกี, จีน, นอร์เวย์, ฟินแลนด์, กรีก, สโลวัก, ฮังการี
- อื่น - เยอรมัน ( ), โปแลนด์, คาตาลัน ( ), เช็ก ( ), รัสเซีย -- Portal 08:27, 18 สิงหาคม 2007 (UTC)
- สัญลักษณ์ของบทความคัดสรรในภาษาอื่น
ขอลงคะแนน ชอบดาวสีทองเหมือนเดิมครับ ดูเด่นดี--Sry85 16:30, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ลงคะแนนให้ดาวทองด้วยคนครับ ถามหน่อยครับว่าบทความคัดสรรในภาษาอื่น ๆ เมื่อมองแถบทางด้านซ้ายของวิกิอังกฤษ จะมีรูปดาวสีทองแทนจุดบุลเล็ตด้านหน้าน่ะครับ เช่นบทความกาแฟ ของเราใน en:Coffee เราน่าจะทำลิงก์ไปบทความคัดสรรของภาษาอื่น ๆ ในวิกิไทยเป็นอย่างนั้นด้วยได้ไหมครับ --TinWristle 03:18, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
- อันนั้นมีอยู่แล้ว ใช้ แม่แบบ:Link FA ตามด้วยรหัสภาษามันก็จะเปลี่ยนให้ --Octahedron80 03:21, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
- โหวตให้ดาวทองเหมือนกันครับ ดาวสีน้ำตาลมันดูหมอง ๆ ไปหน่อยครับ -- Lerdsuwa 08:54, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
- ลงคะแนนให้ดาวทองด้วยคนครับ ถามหน่อยครับว่าบทความคัดสรรในภาษาอื่น ๆ เมื่อมองแถบทางด้านซ้ายของวิกิอังกฤษ จะมีรูปดาวสีทองแทนจุดบุลเล็ตด้านหน้าน่ะครับ เช่นบทความกาแฟ ของเราใน en:Coffee เราน่าจะทำลิงก์ไปบทความคัดสรรของภาษาอื่น ๆ ในวิกิไทยเป็นอย่างนั้นด้วยได้ไหมครับ --TinWristle 03:18, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
บทความที่น่าจะกึ่งล็อก
คิดว่าควรจะกึ่งล็อก วิกิพีเดีย:เริ่มต้น กับ ปรากฏการณ์โลกร้อน เพราะว่ามันโดนก่อกวนบ่อยนะครับ ต้องย้อนอยู่เรื่อย คิดว่าถ้ากึ่งล็อกอาจลดปัญหาการก่อกวนได้บ้าง --Passawuth • พูดคุย 15:32, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ "เริ่มต้น" กำลังทำหน้าที่เป็นกระบะทราย ตอนนี้เรามีกระบะทรายสองที่แล้วเหรอ --Octahedron80 15:43, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
ผู้เขียนบทความคัดสรร
ตอนนี้ หลังจากที่เปลี่ยนรูปแบบการพิจารณาบทความคัดสรรแล้ว ก็ควรจะมี แม่แบบ:FAwritten สำหรับผู้เขียนบทความคัดสรร ไว้ควบคู่กับ แม่แบบ:GAwritten ดีไหมครับ -- Portal 15:51, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
เห็นในภาษาอังกฤษ เห็นมีระบุชื่อบทความ ในกล่องแบบนี้ด้วย --Sry85 16:29, 19 สิงหาคม 2007 (UTC)
ออกแบบโลโก้ วิกิพีเดียไทย ใหม่กัน
มีความเห็นขึ้นมาว่า น่าจะมีการออกแบบโลโก้วิกิพีเดียขึ้นมาใหม่ไหมครับ อันที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ทางซ้ายบนก็ใช้กันมา 3 ปีแล้ว เป็นไอเดียไว้เฉย ๆ ครับ
โดยรูปแบบคงใช้เป็นลูกโลกวิกิพีเดียเหมือนเดิม แต่คงออกแบบตัวอักษรใหม่ ตัวอย่างโลโก้ภาษาอื่น
--Manop | พูดคุย 05:15, 5 กันยายน 2007 (ICT)
ทำไมลูกโลกของไทยดูเล็กกว่าที่อื่นครับ--Octahedron80 13:33, 13 กันยายน 2007 (ICT)
- น่าจะเพราะตัวอักษรมันใหญ่มั้งครับ แค่ตัวธรรมดาก็สูงมากแล้ว ยังมีสระอี อีก --Prince 21:46, 14 กันยายน 2007 (ICT)
โลโก้วิกิไทย คนออกแบบเขาทำความสูงมากกว่าอันอื่นนะครับ พอจัดเข้าแกลลอรีแล้วเลยเห็นเล็กลง อันนี้ผมลองทำใหม่เล่น ๆ นะครับ เผื่อคนอื่นช่วยกันหลาย ๆ คน
โดยตอนนี้เอาขนาดเท่าของวิกิอังกฤษ แล้วปรับขนาดตัวอักษรเอา --Manop | พูดคุย 00:37, 15 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมอยากได้ ว.แหวน ไปใส่แทนตัวอักษรที่อยู่ใต้ W บนลูกโลก น่ะครับ อันนั้นมันคล้ายกับโลโก้พรรคที่ยุบไปแล้วจัง :-D - - ('-') ('-') ('-') - 07:37, 15 กันยายน 2007 (ICT)
- ชอบแบบตัวอักษรมีหางเหมือนกันครับ เสนอให้ขยายตัวอักษรให้กว้างอีกนิดครับ ดูบาง ๆ ไปหน่อย --TinWristle 09:13, 21 กันยายน 2007 (ICT)
ลองแบบนี้ไหมครับ--Octahedron80 09:49, 15 กันยายน 2007 (ICT)
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ อภิปรายได้ในหน้าพูดคุยของนโยบาย (ไม่ใช่ตรงนี้) --Octahedron80 13:27, 13 กันยายน 2007 (ICT)
หน้าสอนการใช้งาน
- ดูที่ วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน
ยังสร้างไม่ครบเลยครับ อยากให้ช่วยกันเขียนให้ครบ เพื่อจะเป็นคู่มือที่ดีสำหรับผู้ใช้ใหม่ ตอนนี้ผมได้เพิ่มลิงก์หน้านี้ไว้ในหน้าอื่น ๆ แล้วครับ เพราะเป็นหน้าสำคัญอีกหน้าหนึ่ง -- Portal 15:58, 22 กันยายน 2007 (ICT)
- ดีครับ ช่วยกันเยอะ ๆ แล้วคุณ Portal ไม่สนใจช่วยสร้างบ้างหรือครับ ผมย้อนที่คุณ Portal สร้างมาทั้งหมดนะครับ ที่แทรกลิงก์ไปตามนโยบายต่าง ๆ เพราะว่าคุณ Portal คงไม่สังเกตว่าหน้าที่สร้างไม่เสร็จ จะยิ่งสร้างความสับสนให้ผู้อ่านได้มากกว่าเดิม แนะนำว่าช่วยสร้างให้เสร็จก่อนนะครับ --Manop | พูดคุย 03:49, 23 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมสร้างเสร็จหมดแล้วนะครับ (สร้างคนเดียว T_T') หนึ่งเดือนพอดี (เริ่ม 12 ก.ย.) สำหรับหน้าสอนการใช้งาน 9 หน้า (ตอนแรกเข้าใจผิดว่าคุณ Portal จะเข้ามาช่วย) แต่ไม่เป็นไรครับ ยังไงฝากทุกคนช่วยร่วมตรวจสอบหน่อยครับ มีทั้งหมด 9 หน้า ผมลองดูแล้วอาจตกหล่นไปได้ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรกะว่า อาทิตย์หน้าจะเพิ่มเข้าไปในส่วนเมนูข้างซ้าย (อีกแล้ว) และก็เพิ่มแทรกเข้าไปในหน้านโยบายต่าง ๆ ตามที่คุณ Portal เคยทำไว้แต่ผมย้อนไป แฮะแฮะ --Manop | พูดคุย 07:46, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ทำได้สมบูรณ์แบบทีเดียว สามารถนำไปใช้บอกผู้สมัครใหม่ได้ดีครับ ขอเสนอเรื่องอ้างอิงภายนอก อ้างอิง กับแหล่งข้อมูลอื่น น่าจะมาสรุปให้ชัดเจน และเข้าใจง่ายในส่วนนี้ด้วยนะครับ คนมาใหม่คงแยกไม่ค่อยออกหรอกครับ ถ้าคุณ octahedron80 ไม่แนะนำ ผมก็ไม่รู้มาก่อนเหมือนกัน เห็นหัวข้อ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา ไปแอบอยู่ข้างในหน้าจำไว้ว่า ถ้าเอามารวมกับหน้าแหล่งข้อมูลอื่น ผมคิดว่าน่าจะดีนะครับ--Mafuyu 10:48, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ผมลองเข้าไปอ่านแล้วครับ รู้สึกว่าช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมฯเท่าไหร่ แต่เสนอให้เพิ่มเติมนิดหนึ่งครับตรงหน้าแหล่งข้อมูลอื่น อยากให้ระบุความแตกต่างของแหล่งข้อมูลอื่นกับการอ้างอิง และควรย้ำให้ผู้ใช้มือใหม่เข้าใจว่าการเขียนบทความในวิกิพีเดียควรระบุแหล่งอ้างอิงด้วย เพราะบทความในวิกิภาษาไทยไม่ค่อยระบุแหล่งอ้างอิงกัน หรือไม่ก็ยังสับสนระหว่างสองส่วนนี้อยู่ครับ --Saeng Petchchai 10:51, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ดีมากเลยครับ แต่มีข้อสงสัยเล็กน้อยครับ จากเรื่องหน้าพูดคุย "...ซึ่งถ้าต้องการถามคำถามในตัวเนื้อหาบทความสามารถทิ้งข้อความไว้ที่หน้าพูดคุย..." ซึ่งอาจเข้าใจได้ว่า หากผมมีคำถามเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร ผมสามารถถามไว้ที่หน้าพูดคุย:กรุงเทพมหานครน่ะครับ (ผมอาจจะคิดไปคนเดียวนะครับ) --KINKKU • ANANAS 15:50, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ดีแล้วครับ แต่.. (รู้สึกผมจะเรื่องมากไปนิดแฮะ..) ผมอยากได้ส่วนแนะนำป้ายที่ใช้บ่อยด้วยนะครับ ^^--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 16:44, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ดีมากเลยครับ แต่มีข้อสงสัยเล็กน้อยครับ จากเรื่องหน้าพูดคุย "...ซึ่งถ้าต้องการถามคำถามในตัวเนื้อหาบทความสามารถทิ้งข้อความไว้ที่หน้าพูดคุย..." ซึ่งอาจเข้าใจได้ว่า หากผมมีคำถามเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร ผมสามารถถามไว้ที่หน้าพูดคุย:กรุงเทพมหานครน่ะครับ (ผมอาจจะคิดไปคนเดียวนะครับ) --KINKKU • ANANAS 15:50, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ผมลองเข้าไปอ่านแล้วครับ รู้สึกว่าช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องคอมฯเท่าไหร่ แต่เสนอให้เพิ่มเติมนิดหนึ่งครับตรงหน้าแหล่งข้อมูลอื่น อยากให้ระบุความแตกต่างของแหล่งข้อมูลอื่นกับการอ้างอิง และควรย้ำให้ผู้ใช้มือใหม่เข้าใจว่าการเขียนบทความในวิกิพีเดียควรระบุแหล่งอ้างอิงด้วย เพราะบทความในวิกิภาษาไทยไม่ค่อยระบุแหล่งอ้างอิงกัน หรือไม่ก็ยังสับสนระหว่างสองส่วนนี้อยู่ครับ --Saeng Petchchai 10:51, 12 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ สงสัยต้อง (1) เพิ่ม "อ้างอิง" เข้าไป โดยอาจจะเพิ่มไปอีกหนึ่งหน้าอธิบายให้กระจ่าง (2) ปรับปรุง "หน้าพูดคุย" อันนี้สงสัยต้องปรับคำพูดไม่ให้ผู้อ่านงงเกิดสับสน ถามคำถามทิ้งไว้เต็มไปหมด ตามที่คุณ Kinkku Ananas แนะนำ (3) ป้ายที่ใช้บ่อย นี่ผมว่าอาจจะใส่ในส่วนอื่นแทนครับ (ตอนนี้อยู่ที่ วิกิพีเดีย:ตรวจสอบบทความ) ตอนแรกกะจะใส่เหมือนกันครับ แต่กลัวคนใหม่จะงง (4) เพิ่งสังเกตว่าแท็บแสดงผลใน IE มันตัดคำหมดเลย ปกติใช้ไฟร์ฟอกซ์เลยไม่ทันได้สังเกต ขอบคุณคุณ Passawuth ที่ช่วยเตือนครับ ถ้าอย่างไรมีใครช่วยแก้ได้ฝากแก้ด้วยครับ --Manop | พูดคุย 01:41, 13 ตุลาคม 2007 (ICT)
- เห็นด้วยกับการเน้นเรื่อง การอ้างอิง ด้วย .... และไม่รู้ว่า ควรอธิบายมือใหม่ เรื่อง การใส่หมวดหมู่ และ ลิงก์ข้ามภาษาด้วยรึเปล่า หรือว่าเป็นหน้าที่ของ ชาววิกีพีเดียหน้าเก่า --Sry85 02:08, 13 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ สงสัยต้อง (1) เพิ่ม "อ้างอิง" เข้าไป โดยอาจจะเพิ่มไปอีกหนึ่งหน้าอธิบายให้กระจ่าง (2) ปรับปรุง "หน้าพูดคุย" อันนี้สงสัยต้องปรับคำพูดไม่ให้ผู้อ่านงงเกิดสับสน ถามคำถามทิ้งไว้เต็มไปหมด ตามที่คุณ Kinkku Ananas แนะนำ (3) ป้ายที่ใช้บ่อย นี่ผมว่าอาจจะใส่ในส่วนอื่นแทนครับ (ตอนนี้อยู่ที่ วิกิพีเดีย:ตรวจสอบบทความ) ตอนแรกกะจะใส่เหมือนกันครับ แต่กลัวคนใหม่จะงง (4) เพิ่งสังเกตว่าแท็บแสดงผลใน IE มันตัดคำหมดเลย ปกติใช้ไฟร์ฟอกซ์เลยไม่ทันได้สังเกต ขอบคุณคุณ Passawuth ที่ช่วยเตือนครับ ถ้าอย่างไรมีใครช่วยแก้ได้ฝากแก้ด้วยครับ --Manop | พูดคุย 01:41, 13 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ค่อนข้างสมบูรณ์แล้วนะคะ เยี่ยมมาก ๆ ที่เหลือก็คงมีแต่เรื่องการอธิบายความแตกต่างของ "อ้างอิง" และ "แหล่งข้อมูลอื่น" นี่แหละค่ะ เพราะยังมีผู้ใช้ใหม่บางคนที่สับสน รวมทั้งเรื่อง "การไม่อ้างอิงจากวิกิพีเดียด้วยกันเอง" ด้วย ส่วนเรื่องลิงก์ข้ามภาษา เห็นมีหน้า วิธีใช้:ลิงก์ข้ามภาษา แล้ว คงไม่ต้องก็ได้มั้งคะ แต่อาจจะใส่ลิงก์เชื่อมโยงไว้ในหน้าสอนการใช้งาน เราเองก็เขียนอธิบายอะไรแบบนี้ไม่ค่อยจะเป็น ได้แต่ออกความเห็นอย่างเดียว ต้องขอโทษด้วยนะคะ --Piggy 12:10, 14 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ตอนนี้ผมได้ (1) เพิ่มหน้าอ้างอิงไปอีกหนึ่งหน้า (2) ปรับแก้ข้อความที่คุณ Kinkku Ananas แนะนำ (3) วิธีใช้งานหมวดหมู่ และลิงก์ข้ามภาษา แทรกเข้าไปในเนื้อหา แล้วให้ลิงก์ต่อไปอ่านในหน้าอื่นต่างหาก (4) แก้ปัญหาการตัดคำใน IE แต่อาจต้องลองดูว่ามีปัญหาอื่นพ่วงมาหรือเปล่านะครับ --Manop | พูดคุย 02:06, 16 ตุลาคม 2007 (ICT)
- อ่านดูแล้วโอเคดีนะครับ Jittat 04:46, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ตอนนี้ผมได้ (1) เพิ่มหน้าอ้างอิงไปอีกหนึ่งหน้า (2) ปรับแก้ข้อความที่คุณ Kinkku Ananas แนะนำ (3) วิธีใช้งานหมวดหมู่ และลิงก์ข้ามภาษา แทรกเข้าไปในเนื้อหา แล้วให้ลิงก์ต่อไปอ่านในหน้าอื่นต่างหาก (4) แก้ปัญหาการตัดคำใน IE แต่อาจต้องลองดูว่ามีปัญหาอื่นพ่วงมาหรือเปล่านะครับ --Manop | พูดคุย 02:06, 16 ตุลาคม 2007 (ICT)
^-^ ทำไมเพิ่งมามีเนี่ย สมัยผมมาใหม่ ๆ ปล่อยให้มะงุมมะงาหราค้นคว้าศึกษา+ทำพลาดหน้าแตกอยู่ตั้งเยอะ 555+ (สมัยนั้นหน้ามีแต่หน้าช่วยเหลือ ซึ่งถือว่าค่อนข้างขั้น advance ไป ไม่ได้ลำดับความคิด (ขนาดผมพอมีพื้น code นิด ยังใช้เวลา) แต่มีตัวนี้ รู้สึกช่วยน่าจะบรรดามือใหม่อ่อน code ได้เยอะ)
1. (เนื่องจากการลิงก์แนะนำขั้นadvanceจากขั้นbasicนี้) ผมว่ายังน้อยไปนิด ควรเพิ่มลิงก์อีกหน่อย และมีคำอธิบายอีกนิด โดยแนะให้แทรกข้อความแนะนำท้ายหน้า (เกือบ) ทุกหน้า (บางอันถึงมีแล้ว เช่นหน้า 'จัดรูปแบบ' แต่ผมว่ายังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร) ตัวอย่างเช่น
- ท้ายหน้า 'จัดรูปแบบ' จบแนะนำให้ลองกระดาษทด ก็อาจจะต่ออีกนิดประมาณว่า (ร่าง)
" (เว้นบรรทัดนิดก็ดีนะ) ข้างต้นเป็นขั้นพื้นฐาน ถ้าคุณเพิ่งใช้วิกิพีเดียไม่นานแนะนำให้ชมเรียนรู้ หน้าถัดไป แต่ถ้าสนใจรายละเอียดรูปแบบซึ่งมีอีกมากเพื่อการเขียนที่ดีขึ้น สามารถดูที่ ... (บรรทัดใหม่) และถ้าต้องการใส่ภาพ สามารถศึกษาวิธีใช้ได้ที่ วิกิพีเดีย:วิธีการใส่ภาพ ... (ฯลฯ รู้สึกยังมีอีก นึกออกแล้วจะแนะใหม่) " อะไรทำนองนี้ (เขียนละเอียดแค่นิดแต่ช่วยได้มากเขาจะได้รู้ว่าควรไปไหนดีเพราะลิงก์ตรงที่น้อยก็น้อยตรงที่เยอะก็เยอะ เยอะก็ดีแล้ว แต่ช่วยมือใหม่ลำดับให้ดีด้วยก็จะดีมาก)
- หน้า 'วิกิพีเดียลิงก์' ยังไม่มีลิงก์ไปขั้นadvanceเลย อาจเพิ่มข้อความทำนองเดียวกับข้างบน แต่ให้ไปที่
" ... วิกิพีเดีย:วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน หรือค้นหาหัวข้อที่เมนู ช่วยเหลือ ที่อยู่ซ้ายมือ " (แม้จะมีลิงก์ปะข้างบนแล้วแต่แค่แปะเฉย ๆ ไม่ได้แนะนำ มือใหม่อาจจะไม่กล้าไปเพราะไม่รู้ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างมีประโยชน์อย่างไรตรงตามที่อยากรู้ไหม)
- หน้า 'ท้ายสุด' ควรเพิ่มข้อความให้กำลังใจ (ประมาณว่าต้องเรียนรู้แต่ไม่ต้องรีบมีคนช่วยเยอะ ไม่งั้นเดี๋ยวมือใหม่มารู้สึกข้อตกลงเยอะจัดถอยดีกว่า ละแย่เลยT-T)
เติมท้ายคำว่า "หน้าสอนการใช้งานนี้พยายามที่จะทำให้สั้นและสวยงาม" ประมาณว่า (ร่างนะครับ ของจริงปรับตามเหมาะ ท่าทางร่างยาวไปนิด แหะ ๆ) " ผลงานการเขียนที่ดี อาจต้องเรียนรู้และลองผิดลองถูกมาก ซึ่งไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องสามารถเขียนบทความที่ดีเลิศได้ทุกครั้งไป หรือก็ไม่ใช่ใครจะทำผิดพลาดเสมอไป แต่ข้อดีที่ดีของ วิกิพีเดีย คือการมีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน และค่อย ๆ ทำให้ดีขึ้น ๆ เสมือนมดงานที่แบกคนละน้อย แต่สร้างรังใหญ่กว่าตัวนับหมื่นเท่า แต่ละตัวแรกเริ่มงานก็เซนอกทางบ้าง แบกผิดบ้าง ลังเลบ้าง แต่เมื่อได้สัมผัสหนวดคุยกับเพื่อน ก็เรียนรู้เพิ่มประสบการณ์จนเดินเป็นเส้นอย่างน่าตะลึง แล้วยังรู้จักสร้างเส้นทางใหม่หาอาหารเสริมรัง ทั้งหมดนั่นคือ วิกิพีเดีย ดังนั้น ขอให้เริ่มจากขั้นพื้นฐาน จนเมื่อคุณเริ่มชำนาญแล้ว ค่อย ๆ เรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อการเขียนให้ดียิ่งขึ้น (บรรทัดใหม่) โดยแนะนำให้เรียนรู้เพิ่มเติมในหัวข้อต่อไปนี้ "
- ลิงก์แนะนำ หน้า 'ท้ายสุด' นอกจากหัวข้อ 'คำแนะนำ' และ 'วิธีการแก้ไขและแนวปฏิบัติ' น่าจะเพิ่มตอนท้ายสุดหัวข้อ 'อื่น ๆ' (อาจจะชื่อ 'แนะนำพิเศษ' หรือ ฯลฯ) สำหรับอะไรที่ตกหล่นยังไม่ได้แนะนำ เช่น
- วิกิพีเดีย:หน่วยเก็บกวาดเฉพาะกิจ เพื่อช่วยให้ "ลำดับหัวข้อ" เป็น
- วิกิพีเดีย:แม่แบบ เพื่อให้ "ใส่ป้าย ใส่กล่อง" เป็น (ฯลฯ)
หรือพวกเรื่องที่ผิดพลาดบ่อย ๆ หรือเห็นว่าสำคัญควรเรียนรู้ก่อน หรืออะไรเทือกนี้ (ฯลฯ)
2. อ่านครบ9หน้า อ้าว ยังไม่ทันแนะนำ สภาโจ๊ก เอ้ย สภากาแฟ ^u^ เลยอะ (โดยเฉพาะในแง่ การสืบค้น+รับทราบ+แนะนำ "ข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การแปล การเขียนที่ถูกหลัก รายละเอียดเฉพาะสาขาวิชา ฯลฯ" เพื่อการเขียนที่ดีขึ้น) น่าจะแนะนำซ้าหน่อยครับ (เอ๊ะ หรือว่าแนะแล้วแต่ผมไม่เห็น เอ..ถ้าผมไม่เห็นก็แสดงว่ามันไม่ชัดควรจัดรูปแบบ 555+) เพราะความผิดพลาดส่วนใหญ่ (อิงประสบการณ์ส่วนตัว) มาจากความไม่รู้ หรือตกข่าวมาไม่ทัน หรือหาไม่เจอ อะไร ๆ ที่เขาตกลงกันไว้.. ส่วนตัวผมว่า น่าจะแทรกท้ายหน้า 'จำไว้ว่า' ทำนองเดียวกับข้อ 1.
3. เจอ bug ครับ ท้ายหน้า 'แหล่งข้อมูลอื่น' ต้องไปที่หน้า' อ้างอิง' สิครับ ตอนนี้เป็นลิงก์ไปหน้า 'หน้าพูดคุย' ซะงั้น
4. ขยายประเด็นนิด - เรื่อง เมนูซ้าย ซึ่งที่เพิ่มลิงก์หัวข้อนี้ผมหนับหนุนชนิดเป็นหัวคะแนนเลย ^-^ แต่พอเพิ่มแล้วมันดูรกนิด น่าจะปลดลงบ้าง (อันนี้ดีมาก-เอาไว้, อันอื่นสำคัญรองไป-ปลดลง) เน้นพิจารณาอันที่กึ่งซ้ำซ้อนรวมหัวข้อกันได้ โดยเฉพาะ
- 'ร่วมแก้ไข' เนี่ย เรามี 'ศาลาประชาคม' อยู่แล้ว ไม่เอาได้ไหม ให้ตัวศาลาฯเองลิงก์ไปร่วมแก้ฯ
- 'บทความคัดสรร' กับ 'บทความคุณภาพ' รวมโครงการได้ไหม (ไม่ได้หมายถึงว่าเลิกอันใดไปนะ เปลี่ยนแค่ลิงก์) เพียงแต่เราไม่ต้องมี 2 ลิงก์ที่เมนู (อาศัยที่ทั้งสองเป็นโครงการต่อเนื่องกัน เลยถือไปเลยว่าเป็นโครงการใหญ่อันเดียว ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย) ลิงก์เดียวอาจเขียนว่า 'บทความดีเด่น' คือลิงก์ไปหน้าเดียวพอ (อาจสร้างหน้าใหม่ หรือมีหน้าไหนมาดัดแปลงได้บ้าง) หน้าเดียวค่อยแตกลิงก์ไป 2 โครงการ นอกจากนี้หน้านั้นก็ยังได้เป็นตัวอธิบายความสัมพันธ์ของทั้งสองโครงการด้วย
- อัปโหลด (แม้จะไม่เหมือนกัน แต่จำเป็นไหมว่ามีลิงก์ 2 แบบ)
(ฯลฯ)
5. เรื่อง เมนูซ้าย อีกประเด็น ข้อ 4 ไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร แต่ข้อนี้ขอให้พิจารณาพิเศษหน่อย (ที่จริงเกี่ยวประด็นแค่อ้อม ๆ แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว แจมนิด) การเรียงลำดับลิงก์ ที่เรียงกันในปัจจุบันแบบนี้ มีวิธีคิดอย่างไร หรือไม่ครับ ถ้ามีแล้วขออภัย แต่ผมรู้สึกไม่ได้ลำดับ ถ้าไม่มีน่าจะมีนะครับ เช่น
- เรียงตาม ลำดับการเรียนรู้ (เรียงแบบเอาใจมือใหม่) เช่น (ร่าง) (วงเล็บท้ายเป็นเหตุผล)
- เรียนรู้การใช้งาน (มือใหม่ก็ต้องเรียนก่อนดิ)
- ช่วยเหลือ (บางอย่างก็ต้องดูเพิ่ม)
- ศาลาประชาคม (แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง)
- สภากาแฟ (เรียนแล้วก็พอดีมีคำถาม)
- ปรับปรุงล่าสุด (แล้วคนอื่นเขาทำอะไรกันอะ งุงิ ๆ แอบดูดีก่า)
- บริจาค (แล้วถ้าไม่ว่าง จะช่วยอย่างอื่นได้ปะ)
- เรียงตาม ลำดับโอกาสการใช้งาน (มากลงไปน้อย พิจารณาจากความสำคัญ+updateบ่อย, แบบนี้เอาใจมือเก๋า) เช่น (ร่าง)
- สภากาแฟ (ที่เราถามไว้มีใครตอบบ้าง หรือใครมีประเด็นอะไรคืบหน้าถึงไหนแล้ว)
- ปรับปรุงล่าสุด (มาตรวจว่าใครทำถูกทำผิดดีกว่า)
- ช่วยเหลือ (แบบนี้ทำไงนะลืมแล้วไปดูใหม่)
- ศาลาประชาคม (ทำเสร็จหมดแล้วมีอะไรให้ทำอีกบ้าง)
- เรียนรู้การใช้งาน (มือใหม่จะเข้าใจไหมไปช่วยสอนดีกว่า)
- บริจาค (สาธุ.. มันก็ดีหรอก แต่แหม ใครจะบริจาคหรือบอกบุญได้ทุกวัน)
- หรือเรียงแบบผสม ฯลฯ --Sirius (TeeTaweepo) 06:00, 20 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ หน้าสอนการใช้งานสามารถเข้าไปแก้ได้ทันทีครับ ถ้าเจออันไหนที่ควรแก้หรือผิดพลาด ส่วนตัวแล้วผมอยากให้เป็นลักษณะมุมมองของคนใหม่ ที่ไม่เข้าใจว่าวิกิคืออะไร ซึ่งบางทีจะมีปัญหาในการสื่อสารระหว่างคนใหม่กับคนเก่า (ไม่ได้แบ่งแยกนะ) เพราะคนเก่าชอบเข้าใจว่าคนใหม่รู้ตรงกันและคาดหวังคนใหม่จะเข้าใจ ขณะที่คนใหม่ไม่เข้าใจคำสั่ง นโยบายร้อยแปด ซึ่งคิดว่าถ้าทำให้เรียบง่าย เข้าใจง่าย และพื้นฐานอย่างเดียว ไม่มีพวก advance จะเป็นการดี จนคนใหม่ได้ฝึกฝนระดับหนึ่งแล้ว (มั่นใจว่าไม่ผิดชัวร์) คนใหม่คงหาอ่านในหน้าอื่นได้เอง
- ส่วนเรื่องเมนูด้านซ้าย ลองเขียนเสนอไว้ที่ คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Sidebar ครับ จะได้รวมไว้ที่เดียวกัน เผื่อคนอื่นจะเสนอและสนับสนุนด้วยครับ ซึ่งปัจจุบันหน้านั้นหน้า��าเป็นแบบนี้ มีเดียวิกิ:Sidebar --Manop | พูดคุย 23:23, 21 ตุลาคม 2007 (ICT)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
ตามที่ได้เกิดปัญหาเรื่องการยกบางส่วนของบทความ มาประกอบในหน้าพูดคุย ที่หน้าพูดคุย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อย่อย "ชี้แจงการแก้ไขหัวข้อย่อย "จิตวิญญาณธรรมศาสตร์"" ที่คุณ manop ได้ลบออกไปด้วยเกรงว่าจะเป็นละเมิดลิขสิทธิ์
จึงขอเรียนผู้แก้ไขทุกท่านช่วยพิจารณาเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ว่ากรณีไหนที่เข้าข่ายบ้างครับ เช่น เมื่อไรที่สามารถยกบางส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์ มาใช้ในหน้าพูดคุยหรือหน้าบทความได้บ้างครับ
ตามที่ผมได้ค้นคว้าข้อมูลว่า พบกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้งนี้
- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
- หมวด 1
- ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
- มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
แล้วก็มีระบุข้อยกเว้นทั้งหมด 8 ข้อ ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้น น่าจะเข้าข่ายนี้
- (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
อ้างจาก มานิตย์ จุมปา, เขียนผลงานทางวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อย่างไรก็ดี เนื่องจากองค์กรที่ดูแลวิกิพีเดียนั้นอยู่ในสหรัฐอเมริกา ผมไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้กฎหมายอเมริกาหรือไม่ ในกรณีนี้ คือในเรื่องของความคุ้มครองนั้นไม่เป็นปัญหา เพราะไทยและสหรัฐต่างก็เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ (สนธิสัญญากรุงเบิร์น) ทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์ใด ๆ จะได้รับการคุ้มครองเสมอเหมือนกันหมด เหมือนกับเป็นประเทศเดียวกัน แต่ที่ไม่แน่ใจคือเรื่องของ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ว่าจะเหมือนกันหรือไม่
สำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาได้ระบุข้อยกเว้น หรือที่เรียกว่า "fair use" ไว้ด้งนี้
- § 107. Limitations on exclusive rights: Fair use
- Notwithstanding the provisions of sections 106 and 106A, the fair use of a copyrighted work, including such use by reproduction in copies or phonorecords or by any other means specified by that section, for purposes such as criticism, comment, news reporting, teaching (including multiple copies for classroom use), scholarship, or research, is not an infringement of copyright.
แล้วก็ระบุไว้ว่า การจะบอกว่าเป็น fair use หรือไม่นั้นจะต้องดูว่า เอาไปใช้เพื่อประโยชน์อะไร, ลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์, จำนวนสัดส่วนที่นำไปใช้, ผลกระทบต่อมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์
ซึ่งที่ทำตัวเน้นไว้นั้น เป็นส่วนที่ผมคิดว่า การยกบางส่วนของบทความภายนอกมาใส่ในหน้าพูดคุย เพื่อประกอบการวิพากษ์วิจารณ์บทความวิกิพีเดีย น่าจะเข้าข่ายนี้ครับ
อ้างจาก Copyright Law of the United States of America and Related Laws Contained in Title 17 of the United States Code http://www.copyright.gov/title17/ หมวดที่ 1 http://www.copyright.gov/title17/92chap1.html#107
หมายเหตุ- ผมคงไม่นำเอางานของพิชิตมาลงในหน้าพูดคุย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นอีก เพราะไม่แน่ใจว่าจะถูกลบอีกหรือไม่ เนื่องจากผมไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบกฎหมายที่บังคับใช้ในวิกิพีเดียนี้ แต่คิดว่าข้อมูลที่นำเสนอมานี้ คงจะมีประโยชน์กับบทความอื่น ๆ บ้างครับ ...... และหวังว่าในคราวต่อไปหากจะมีการลบอะไรอีก น่าจะลบเฉพาะเนื้อหาที่มีปัญหา ไม่ใช่ลบทั้งหมด เช่นกรณีที่เกิดนั้น สิ่งที่ผมพิมพ์ไปทั้งหมดถูกลบ รวมถึงส่วนที่ไม่ได้เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ด้วย ผมต้องหาอยู่นานว่ามันหายไปไหน เพราะมันหายไปเฉย ๆ เลย ไม่ได้มีแจ้งว่าเพราะเหตุผลอะไร (เพิ่งจะมีแจ้งในการลบครั้งที่สอง) หรือหายไปไหน โชคดีที่เพื่อนบอกจึงได้รู้ว่ากดเรียกดูจากหน้าประวัติได้ด้วย ไม่งั้นคงเสียเวลาพิมพ์ใหม่อีกนาน ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 58.136.73.46 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
แฮะแฮะ ผมมาตอบอีกแล้ว (ไม่ได้ตามมานะครับ ตรวจตราตามปกติ) ตามที่คุณ 58.136.x.x กล่าวไว้ก็น่าสนใจครับ ส่วนที่ 6 มาตรา 32 ข้อ (3) ที่ว่า ติชม ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน ซึ่งส่วนนี้ผมเคยตีความเอาว่า การติชม ที่ไม่ได้มีการเขียนหรือการทำซ้ำของข้อมูลนะครับ ซึ่งถ้าอ่านต่อไปในข้อต่อไป จะมีเขียนว่า ทำซ้ำในกรณีใด จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เช่น ทำซ้ำ เพื่อใช้ในศาล เพื่อใช้ในการสอน ในการสอบ (ประมาณนี้จำไม่ค่อยได้) ส่วนกฎหมายลิขสิทธิ์ในไทยนั้นจะมีผลต่อลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศด้วยเหมือนกัน เพราะไทยเป็นประเทศส่วนหนึ่งใน สนธิสัญญาเบิร์น ซึ่งผลงานอันมีลิขสิทธิ์ในต่างประเทศจะมีผลครอบคลุมในประเทศที่อยู่ภายใต้สัญญานี้ครับ ส่วนเรื่อง fairuse ในสหรัฐอเมริกานั้นก็ขัดกับ GFDL ในวิกิอีกต่อหนึ่ง
ผมแค่เสนอความคิดนะครับ อาจลองท่านอื่นมาตอบ เพราะผมเองก็ไม่มีความรู้ด้านกฎหมายด้วย ส่วนเรื่องแก้ไขนั้นคุณ 58.136.x.x สามารถแก้ไขได้ตามปกตินะครับถ้าทำการล็อกอิน (ล็อกอินโดยไม่ต้องใช้อีเมลยืนยัน) ซึ่งคุณคงได้เห็นหน้าประวัติของ มหาวิทยาลัยธรรม���าสตร์ แล้วที่มีคนลบไปมาข้อความที่คุณใส่หลายรอบครับ ซึ่งทั้งสองคนไม่ล็อกอิน ผมเลยจัดการล็อกให้ใช้งานได้สำหรับผู้ที่ล็อกอินครับ เพื่อจะได้มีการปรึกษาหาข้อสรุป คุณ 58.136.x.x อาจจะลองเปิดหัวข้อขึ้นใหม่เลยก็ได้นะครับเรื่อง จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ เพราะว่าตอนนี้ในเรื่องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ค่อนข้างยาวแล้ว --Manop | พูดคุย 12:25, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมไม่ได้ติดตามเรื่องอย่างละเอียด แต่อย่างที่ได้มีการประกาศ เตือน ทุกการแก้ไขในกล่องสีแดง และที่อื่น ๆ ให้ทราบครับว่า วิกิพีเดียนั้น เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก ไม่มีการยกเว้น และแม้ว่าการใช้งานชอบธรรม มากสุดนั้นสามารถทำได้ในกรณีที่ยกคำพูด ไม่กี่ประโยค เพื่อประกอบบทความ พร้อมการอ้างอิงครบถ้วนครับผม ส่วนเนื้อหาอย่า่งอื่นนอกเหนือจากนั้น ไม่รับผลงานที่มีลิขสิทธิ์จากแหล่งอื่นครับผม อ่านเพิ่มได้ที่ วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์ และ วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ --Jutiphan | พูดคุย - 13:15, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ส่วนเรื่องการยกเนื้อหา มาที่หน้าพูดคุยนั้น ปกติแล้ว แม้ว่าไม่มีเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวข้องก็อาจถูกลบได้ครับ เพราะว่า หน้าพูดคุย ใช้สำหรับในการ พูดคุย อภิปราย เพื่อปรับปรุงบทความหลัก ไม่ใช่เป็นการใส่เนื้อหาเสริม ยกเนื้อหาจากแหล่งอื่น หรือพูดคุย ถก ขอข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สรุปคือใช้สำหรับคุยเพื่อปรับปรุงบทความ หรือถกเนื้อหาบทความเท่านั้นครับ (แต่สามารถใส่ลิงก์ไปเพื่อให้อ่านต่อเอง สำหรับการพูดคุยนั้น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้) --Jutiphan | พูดคุย - 13:20, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ถ้ากรณีสิ่งที่อ้างถึงอยู่ในหนังสือ (ไม่มีเว็บ) จะสามารถยกบางส่วนบางย่อหน้ามาใส่ได้ไหมครับ ? เพื่อให้การอภิปรายดำเนินไปได้ 58.136.73.46
ตอบเรื่องประเด็นการทำซ้ำ อ้างตามหน้า 69-70 ของมานิตย์ (อ้างแล้วข้างบน) ระบุว่า "สามารถทำซ้ำได้" ครับ แต่ส่วนที่เป็นปัญหาคือ จำนวนสัดส่วนเท่าใดจึงจะเหมาะสม โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้เคยวินิจฉัยให้การทำซ้ำ (ถ่ายเอกสาร) หนังสือ 20-25% เป็นการกระทำที่พอสมควรแก่การศึกษา และไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
- แม้ว่า ทำซ้ำได้ ก็ไม่ใช่ว่าสามารถนำมาใส่ในวิกิพีเดียได้ครับผม เพราะว่าความแตกต่างของลิขสิทธิ์ โดยทำซ้ำได้ ไม่ได้หมายความว่า แก้ไขได้ ซึ่งการนำมาลงในวิกิพีเดีย ที่เป็นสัญญาอนุญาตใน GFDL นั้นเปิดให้แก้ไขได้ด้วย รวมถึงจะไม่มีการระบุเจ้าของงาน (เพราะว่ากลายเป็นของชาววิกิพีเดีย) ดูเพิ่มตามที่ลิงก์ที่ผมให้ก่อนหน้านี้ครับ และผมได้เสริมตอบเรื่องบทพูดคุย และการใช้งาน --Jutiphan | พูดคุย - 13:20, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- แต่ถ้าเป็นการอ้างงานมาเป็นประกอบ ก็ไม่ควรจะมีการแก้ไขไม่ใช่หรือครับ ควรจะคงอยู่แบบนั้นคำต่อคำ verbatim ไม่อย่างนั้นพวกคำคมหรือคำกล่าวอะไรต่าง ๆ ของบุคคลสำคัญก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หมดเลยใช่ไหมครับถ้าเป็น GFDL 58.136.73.46
- การยกข้อความขึ้นมาเป็นคำพูดสามารถกระทำได้ แต่อย่าลืมว่าทุกคนมีสิทธิ์แก้ไข ซึ่งอาจจะมีใครคนใดคนหนึ่งแก้ไขให้ผิดแปลกไปจากเดิมก็ได้ ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้คนอื่นแก้ไข อย่าส่งงานเข้ามาในวิกิพีเดีย เท่านั้นแหละครับ หรือไปเขียนโครงการอื่น เช่น วิกิซอร์ซ ถ้าไม่อยากให้ถูกแก้ไข (งานต้นฉบับ) หรือที่ วิกิคำคม เมื่อต้องการเก็บรวบรวมคำพูด --Octahedron80 13:31, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- เรื่องนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว แต่เป็นเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถ้านาย A เคยพูดไว้ว่า "ฉันเป็นผู้ชาย" แล้วเมื่อมีการยกคำพูดนี้มาใส่ในวิกิพีเดีย วิกิพีเดียจะอนุญาตให้แก้ว่า นาย A เคยพูดว่า "ฉันเป็นผู้หญิง" ไหมครับ ? หรือถ้าเป็นรูปภาพที่เป็น GFDL ที่ใช้ประกอบบทความ สมมติเป็นรูปคน เราจะสามารถเติมหนวดเติมเครารูปนั้นได้ไหมครับ ? (ซึ่งถ้าดูตามสัญญาอนุญาตอย่างเดียวแล้วทำได้ แต่ถ้าดูหลักสารานุกรมด้วยแล้ว ทำได้ไหมครับ?) 58.136.73.46
- อันนี้พูดถึงบริบทในวิกิพีเดียเลย เพราะผมเหตุชีวประวัติหลายชิ้นในวิกิพีเดียก็มีการยกคำพูดมา หรือที่เกี่ยวกับวรรณคดีก็มีการยกบทกลอนมา 58.136.73.46
- เรื่องนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว แต่เป็นเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ถ้านาย A เคยพูดไว้ว่า "ฉันเป็นผู้ชาย" แล้วเมื่อมีการยกคำพูดนี้มาใส่ในวิกิพีเดีย วิกิพีเดียจะอนุญาตให้แก้ว่า นาย A เคยพูดว่า "ฉันเป็นผู้หญิง" ไหมครับ ? หรือถ้าเป็นรูปภาพที่เป็น GFDL ที่ใช้ประกอบบทความ สมมติเป็นรูปคน เราจะสามารถเติมหนวดเติมเครารูปนั้นได้ไหมครับ ? (ซึ่งถ้าดูตามสัญญาอนุญาตอย่างเดียวแล้วทำได้ แต่ถ้าดูหลักสารานุกรมด้วยแล้ว ทำได้ไหมครับ?) 58.136.73.46
- วิกิพีเดียไม่ได้ให้อนุญาตหรือไม่อนุญาต เพราะใครก็สามารถแก้ได้ทันที (ยังไม่เข้าใจหรือครับ) แต่ก็อาจจะถูกชาววิกิพีเดียคนอื่นย้อนกลับอย่างรวดเร็วเมื่อเห็นว่าไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงตามนโยบาย คุณอาจจะต้องเป็นคนคอยเฝ้าดูเองว่าคำพูดที่ยกมานั้นถูกบิดเบือนไปจึงต้องย้อนกลับด้วยตัวเอง --Octahedron80 13:41, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- เข้าใจเรื่องแก้ไขครับ แต่ที่ถามย้ำดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าได้เข้าใจถูกต้องตรงกันครับ ดังนั้นสรุปว่า เราสามารถทำซ้ำได้ ใช่ไหมครับ (ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ มาใส่ในวิกิพีเดีย ภายใต้เงื่อนไขที่ได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ถูกไหมครับ ? 58.136.73.46
- ผมอ่านเงื่อนไขที่คุณได้ยกมา เน้นแต่เรื่องการติชมวิจารณ์โดยเฉพาะ ถ้าจะยกเว้นการละเมิดด้วยเหตุผลข้อนี้ และคุณเป็นคนวิจารณ์ด้วยตัวเอง ในวิกิพีเดียไม่สามารถทำได้ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่ที่วิพากษ์วิจารณ์โดยผู้เขียน ถ้าเป็นผู้อื่นวิจารณ์มาแล้ว สามารถยกมาใส่ได้โดยเลือกเอาสองสามประโยคที่สำคัญและใส่การอ้างอิงเสีย คุณเคยเขียนรายงานหรือปริญญานิพนธ์ไหมครับ ทำคล้าย ๆ ยังงั้นแหละ (สิ่งนี้ไม่ใช่กฎหมาย แ��่เป็นนโยบาย) --Octahedron80 14:07, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ในกรณีของหน้าบทความ คุณ octahedron80 กล่าวถูกต้องครับ แต่ในหน้าอภิปรายล่ะครับ ? ถ้าผมไม่สามารถวิจารณ์ในหน้าอภิปรายนี้ได้ แล้วจะมีหน้าอภิปรายนี้ไปทำไมครับ ? 58.136.73.46
- หน้าอภิปรายมีไว้เพื่อหาข้อสรุปว่าจะเอาข้อมูลลงอย่างไร ไม่ได้มีไว้วิจารณ์ส่วนตัว นโยบายเหมือนหน้าบทความครับ --Octahedron80 14:40, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ในกรณีของหน้าบทความ คุณ octahedron80 กล่าวถูกต้องครับ แต่ในหน้าอภิปรายล่ะครับ ? ถ้าผมไม่สามารถวิจารณ์ในหน้าอภิปรายนี้ได้ แล้วจะมีหน้าอภิปรายนี้ไปทำไมครับ ? 58.136.73.46
- อีกอย่าง ถ้าเกิดว่าได้รับการยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว (เพราะว่าทำซ้ำบางส่วนมาเพื่อติชมวิพากษ์วิจารณ์) แล้วจะขัดกับ GFDL ได้อย่างไรครับ ? 58.136.73.46
- อย่างที่ได้แจ้งก่อนหน้า่นี้ครับว่า ยกมาเป็นประโยค หรือ 2-3 ประโยคพร้อมอ้างอิง นั้นไม่มีปัญหา แต่ในกรณีที่ยกเนื้อหา (ไม่ใช่คำพูด แต่เป็นผลงาน/รายงาน/งานเขียน/เนื้อความ) อาจมีปัญหาได้ หรือการที่ยกคำพูดทั้งหมด มานั้น วิกิพีเดียก็ไม่รับครับ เพราะว่าไม่ใช่ที่เก็บงานต้นฉบับ ดูเพิ่มได้ที่ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เรามีวิกิซอร์ซ ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมเนื้อหาต้นฉบับครับผม นอกจากนั้น วิกิพีเดียจะไม่ยกมาติชม หรือวิจารณ์ครับผม เพราะว่าเราไม่ใช่นักวิจารณ์๋ ซึ่งวิกิพีเดียจำเป็นต้องเป็นกลาง แต่สามารถยก หรือสรุปการวิจารณ์ของบุคคลที่ 3 ได้ (และไม่สามารถเพียงแค่คัดลอกมาได้เช่นกัน เพราะว่าอาจติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์) --Jutiphan | พูดคุย - 13:43, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ความจริงแล้ว คุณอาจสนใจดูบทความอย่าง TKNS ซึ่งมียกมาวิจารณ์ในรูปแบบที่สามารถใส่ได้ในวิกิพีเดีย น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 13:46, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- แล้วการคัดลอก 2-3 ย่อหน้า จากบทความขนาดยาวทั้งหมด มาใส่ในหน้าอภิปรายเพื่อประกอบการอภิปราย เพื่อนำข้อสรุปจากการอภิปรายไปเขียนลงในหน้าบทความอีกที เช่นที่ผมทำไป ถือว่าทำได้ไหมครับ ? ที่ถามประเด็นนี้ เพราะบางกรณีอาจจะไม่สามารถทำลิงก์ได้ เพราะไม่มีเป็นเว็บ มีแต่เป็นหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ อย่างที่ได้เรียนถามไปก่อนหน้านี้ครับ ถ้าหากไม่อนุญาตให้ทำเช่นนี้ในหน้าอภิปราย ก็คงจะอภิปรายกันลำบากครับ 58.136.73.46
- อย่างที่เรียนไว้ตอนท้ายครับ ถ้าเอกสารไม่ได้อยู่ในอินเทอร์เน็ต ทำลิงก์ไม่ได้ จะทำอย่างไรครับ ถ้าเกิดคัดลอกบางย่อหน้ามาให้ดูกันไม่ได้ 58.136.73.46
- ตอบใหม่แล้วข้างล่าง เผอิญอ่านไม่หมด --Octahedron80 14:29, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- อย่างที่เรียนไว้ตอนท้ายครับ ถ้าเอกสารไม่ได้อยู่ในอินเทอร์เน็ต ทำลิงก์ไม่ได้ จะทำอย่างไรครับ ถ้าเกิดคัดลอกบางย่อหน้ามาให้ดูกันไม่ได้ 58.136.73.46
- แล้วการคัดลอก 2-3 ย่อหน้า จากบทความขนาดยาวทั้งหมด มาใส่ในหน้าอภิปรายเพื่อประกอบการอภิปราย เพื่อนำข้อสรุปจากการอภิปรายไปเขียนลงในหน้าบทความอีกที เช่นที่ผมทำไป ถือว่าทำได้ไหมครับ ? ที่ถามประเด็นนี้ เพราะบางกรณีอาจจะไม่สามารถทำลิงก์ได้ เพราะไม่มีเป็นเว็บ มีแต่เป็นหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ อย่างที่ได้เรียนถามไปก่อนหน้านี้ครับ ถ้าหากไม่อนุญาตให้ทำเช่นนี้ในหน้าอภิปราย ก็คงจะอภิปรายกันลำบากครับ 58.136.73.46
เท่าที่ดู การวิพากษ์วิจารณ์ TKNS นั้น เป็นการทำในหน้าบทความนะครับ (ซึ่งก็เหมาะสมดี เพราะเป็นบทความเรื่องหนังสือโดยเฉพาะ) แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลย
ส่วนกรณีที่ผมยังสงสัยอยู่ เป็นกรณีในหน้าอภิปรายครับ กล่าวคือถ้าผู้ร่วมอภิปรายไม่มีเนื้อหาให้อ่านเพราะคัดลอกมาไม่ได้ แล้วจะวิเคราะห์และอภิปรายกันอย่างไรครับ ? กรณีตัวอย่างอันนี้คือ ผมได้แก้ไขบทความ โดยยึดตามเอกสารอ้างอิงจำนวนหนึ่ง แต่มีผู้เข้ามาแก้ไขข้อมูลให้ผิดเพี้ยนไปจากที่พบในเอกสารนั้น ผมจึงทำการคัดลอกเอกสารดังกล่าว เฉพาะบางย่อหน้า มาให้ผู้ร่วมแก้ไขทุกท่านช่วยดูและอภิปราย เพื่อที่จะได้ตกลงกันในเนื้อหาได้และร่วมแก้ไขกันต่อไปครับ ไม่ได้เป็นการคัดลอกเนื้อหาไปใส่ในหน้าบทความแต่อย่างใดครับ 58.136.73.46
- สำหรับเว็บไซต์ ก็ไม่จำเป็นต้องลอกมานี่ครับ ให้ลิงก์อย่างเดียวก็พอ :) เรื่องเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์ที่คัดลอกมาใส่หน้าอภิปราย หากบอกอนุญาตเดี๋ยวก็จะมีชาววิกิคนอื่นบอกว่าไม่สมควรอีก (เพราะมีผมตอบอยู่คนเดียว) ดังนั้นคุณจึงควรเอาเนื้อหาต้นฉบับเหล่านั้นไปลงวิกิซอร์ซก่อนดีกว่าครับ (ซึ่งสามารถใส่ได้ทั้งหมดเลย) แล้วคุณค่อยทำลิงก์ไปหา จากนั้นคุณก็ลองสรุปดู เพื่อที่จะให้ชาววิกิปรับปรุงแก้ไขอีกต่อหนึ่ง วิกิพีเดียจะได้ไม่มีข้อมูลเปลืองในหน้าอภิปรายซึ่งทำให้อ่านยาก --Octahedron80 14:09, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- ถ้าเอาลงวิกิซอร์ซได้ แสดงว่างานชิ้นนั้นเป็น GFDL หรือว่ามันหมดอายุลิขสิทธิ์ (เป็น public domain) ไปแล้วน่ะสิครับ กรณีนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว แต่ถ้าถ้างานยังไม่หมดอายุลิขสิทธิ์ล่ะครับ (เช่นบทความของพิชิตที่ผมอ้างถึง) จะทำอย่างไร ? เพราะเอาไปลงวิกิซอร์ซก็ไม่ได้ คืออยากให้พิจารณาทุกอย่างประกอบกันนะครับ เพราะถ้าจะดูเฉพาะส่วนมันคงไม่มีปัญหาอยู่แล้ว
- สำหรับเว็บไซต์ ก็ไม่จำเป็นต้องลอกมานี่ครับ ให้ลิงก์อย่างเดียวก็พอ :) เรื่องเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์ที่คัดลอกมาใส่หน้าอภิปราย หากบอกอนุญาตเดี๋ยวก็จะมีชาววิกิคนอื่นบอกว่าไม่สมควรอีก (เพราะมีผมตอบอยู่คนเดียว) ดังนั้นคุณจึงควรเอาเนื้อหาต้นฉบับเหล่านั้นไปลงวิกิซอร์ซก่อนดีกว่าครับ (ซึ่งสามารถใส่ได้ทั้งหมดเลย) แล้วคุณค่อยทำลิงก์ไปหา จากนั้นคุณก็ลองสรุปดู เพื่อที่จะให้ชาววิกิปรับปรุงแก้ไขอีกต่อหนึ่ง วิกิพีเดียจะได้ไม่มีข้อมูลเปลืองในหน้าอภิปรายซึ่งทำให้อ่านยาก --Octahedron80 14:09, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- โดยสรุป คำถามคือ ถ้างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งยังไม่หมดอายุลิขสิทธิ์ เราสามารถคัดลอกบางส่วนเล็ก ๆ มาใส่ในหน้าอภิปราย เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์วิจารณ์ได้หรือไม่ โดยการวิพากษ์วิจารณ์นั้นมีเพื่อหาข้อสรุปไปเขียนลงในหน้าบทความวิกิพีเดียครับ 58.136.73.46
- เชิญครับ บางส่วนเล็ก ๆ ที่ว่าคงไม่ถึงกับต้องกำหนดว่ามีกี่คำหรอกนะ เอาตามความเหมาะสม --Octahedron80 16:06, 24 กันยายน 2007 (ICT)
- โดยสรุป คำถามคือ ถ้างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งยังไม่หมดอายุลิขสิทธิ์ เราสามารถคัดลอกบางส่วนเล็ก ๆ มาใส่ในหน้าอภิปราย เพื่อประโยชน์ในการวิพากษ์วิจารณ์ได้หรือไม่ โดยการวิพากษ์วิจารณ์นั้นมีเพื่อหาข้อสรุปไปเขียนลงในหน้าบทความวิกิพีเดียครับ 58.136.73.46
ขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ ถ้าเกิดว่าถามมากเกินไป ละเอียดเกินไป เป็นเพราะอยากได้ความชัดเจนครับ จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาให้ความกระจ่างคนละเล็กละน้อยครับ 58.136.73.46
- ยาวเฟื้อย ผมว่าประเด็นที่คุณ 58.136.x.x จะกล่าวคงหมายถึงยกข้อความมาเพื่อจะได้อ้างอิงถูกนะครับ ว่ากล่าวถึงตรงส่วนไหน บรรทัดไหน แต่ไม่ได้มีเจตนาจะยกมาลง (ผมเอาเอานะ) เพราะอย่างบางทีถ้าให้ลิงก์ไป แล้วข้อความยาวมาก ก็ไม่รู้ว่าจะอ้างอิงส่วนไหน เพื่อจะได้แก้ไขหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ผมว่า คุณ 203.131.x.x ที่เขามาแก้ของคุณ 58.136.x.x เขาก็คงไม่ได้เข้ามาอ่านอยู่ดีนะครับ หรือไม่ก็อาจจะไม่ได้เข้าวิกิพีเดียแล้วก็ว่าได้ ซึ่งถึงยกตัวอย่างมา หรือถกกันยั��ไงข้อความก็ยังไม่เปลี่ยนอยู่ดี เพราะยังไม่มีการแก้ไข ซึ่งผมล็อกบทความไว้จนถึงวันที่ 5 ต.ค. ซึ่งตอนนั้นคุณ 58.136.x.x สามารถแก้ไขได้ตามปกติครับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคุณ 203.131.x.x จะมาแก้กลับเหมือนเดิมอีกหรือเปล่า
ตอนนี้วันที่ 11 ตุลาคม เลยกำหนดปลดล็อกมาเกือบ 1 สัปดาห์ แล้วครับ แต่บทความยังถูกล็อกอยู่เลย คุณ manop ยังไม่ได้ปลดล็อกอีกหรือครับ 58.136.73.116 15:54, 11 ตุลาคม 2007 (ICT)
เรื่องล็อกอินและไอพี
ขอบคุณคุณ manop ที่แนะนำเรื่องล็อกอินมากครับ แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองของเราเช่นนี้ ผมคิดว่าตัวผมเองไม่สะดวกใจที่จะการใช้ล็อกอินใด ๆ ครับ ยิ่งมีข่าวการจับกุมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไปเมื่อไม่นานนี้สองราย ผมคิดว่าทุกคนควรจะระวังตัวให้มากครับ เพราะการเขียนข้อเท็จจริงในวิกิพีเดียนี้ อาจจะทำให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองขณะนี้ไม่พอใจก็เป็นได้
เมื่อใดบ้านเมืองของเรามีเสรีภาพในการแสดงออกมากกว่านี้ (หรือตัวผมได้ย้ายไปอยู่ในประเทศที่มีเสรีภาพดังว่า) ผมคงพิจารณาล็อกอินครับ ตอนนี้ตัวผมเองกำลังศึกษาโปรแกรมที่ใช้ซ่อนไอพีตัวเองอยู่ แต่ยังขลุกขลักอยู่มาก ไม่สะดวกเสียเท่าไหร่ ยังไงก็ขอให้ทุกคนดูแลด้วยเองด้วยนะครับ
ขอแสดงความนับถือ -- 58.136.73.46
- ส่วนเรื่องล็อกอินนี่ผมไม่แน่ใจว่าเข้าใจตรงกันหรือเปล่านะครับ เพราะในวิกิพีเดียไม่ต้องใช้เลขบัตรประชาชนเหมือนตามเว็บไทยนะครับ ซึ่งการตามตัวผู้ล็อกอินแล้วก็ไม่มีการต่างอะไรกับไม่ล็อกอิน โดยอย่างน้อยก็ซ่อนไอพีของคุณได้ ซึ่งถ้าโดนตรวจสอบก็ใช้เวลานานมากกว่า ในการส่งเรื่องเข้าศูนย์วิกิพีเดีย ในขณะที่ถ้าใช้ไอพี เรื่องทุกอย่างก็รวดเร็วภายในประเทศไทย เพราะอย่างคุณ 58.136.x.x ปัจจุบันอยู่ xxxxxx ใช้อินเทอร์เน็ตของ xxxxxx ซึ่งเขาก็ตรวจได้อยู่ดีนะครับ เพราะเขามีล็อกจัดการหมด ส่วนเรื่องการซ่อนไอพี ก็ลองทำ xxxxxx (หาเองละกันครับ บอกไปเดี๋ยวจะไม่งาม) --Manop | พูดคุย 01:05, 25 กันยายน 2007 (ICT)
ขอบคุณคุณ manop ครับ แต่ผมเห็นว่าไม่ต่างกันอยู่ดีครับ ถึงล็อกอินไปก็ยังรู้ไอพีเราได้อยู่ดี เพราะในหน้าสถิติของวิกิพีเดีย มีบอกว่าติดตั้งโปรแกรมจำพวก truehits หรือ google analytics อยู่ ซึ่งโปรแกรมพวกนี้มันก็เก็บไอพีอยู่ดีไม่ใช่หรือครับ ว่าไอพีไหนเข้าดูหน้าไหน ยิ่งเอาไปเชื่อมกับชื่อล็อกอินได้สบายเลย อีกอย่างศูนย์วิกิพีเดียที่ว่านี่ใครเป็นคนดูแลครับ เป็นผู้ดูแลระบบที่แสดงชื่อไว้ในหน้าผู้ดูแลระบบหรือไม่ครับ และอยากทราบนโยบายความเป็นส่วนตัวของวิกิพีเดียฉบับภาษาไทยแห่งนี้ด้วยครับ (ที่กดไปจากด้านล่างมันวิ่งไปหา http://wikimediafoundation.org/wiki/Privacy_policy เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผมไม่ทราบว่ามีนโยบายเหมือนกันหรือไม่ครับ) และผมขอนำภูมิลำเนาที่อยู่อินเทอร์เน็ตที่คุณ manop แสดงไว้ออกนะครับ หวังว่าคงจะไม่เสียมารยาท ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 58.136.73.46 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
- ปกติแล้ว ไอพีจะไม่แสดงให้เห็นนะครับอย่างที่บอกไป สำหรับคนล็อกอินในวิกิพีเดียไทยไม่มีใครที่สามารถดูไอพีได้ว่าลิงก์กับชื่อไหน (ณ ตอนนี้) ที่บอกไปว่าต้องทำเรื่องไปที่ศูนย์วิกิพีเดีย (ดูได้ที่ วิกิมีเดีย) ส่วนเรื่องภูมิลำเนาก็เอาออกก็ไม่มีปัญหาครับ ผมแค่แสดงให้เห็นภาพเฉย ๆ นะครับว่าแค่ Google ก็เจอแล้ว เพราะครั้งก่อนที่โพสต์ไปผมก็กูเกิลเอา ถ้ารู้ไอพีเบอร์อะไรก็ตามได้เยอะเหมือนกัน (เหมือนที่บอกไปอีก) และยิ่ง"ถ้าคนจะเอาเรื่อง"มีอำนาจขนาดจัดการไอเอสพีได้ ก็ยิ่งง่ายดายใหญ่ ติดต่อไอเอสพีได้โดยตรง ส่วนเรื่องนโยบายภาษาไทยคิดว่าคงยังไม่มี เพราะอย่างที่เห็นครับวิกิพีเดียไทยเพิ่งเปิดใหม่ และคนช่วยเหลือน้อยนับคนได้ --Manop | พูดคุย 08:25, 25 กันยายน 2007 (ICT)
ถ้าถามความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมแนะนำให้ล็อกอินนะครับ เพราะสิ่งที่ต้องทำก็มีแค่ตั้งชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่าน และจำให้ได้เท่าันั้นเองครับ มันก็จะทำให้ตาม IP Address ยากกว่าเดิมนิดนึง (จากเดิมที่แสดงในหน้าประวัติตลอดเวลา ก็ต้องใช้เป็นข้อมูลภายใน ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปก็ยังไม่สามารถทราบได้ และเข้าใจว่า sysop ทั่วไปก็ไม่ทราบ กรณีหลังไม่แน่ใจเนื่องจากไม่เคยเป็น) นอกจากนี้ยังทำให้ติดต่อสอบถามกับคนอื่นสะดวกขึ้นครับ ส่วน Privacy Policy ผมเดาว่าก็น่าจะใกล้เคียงนะครับ เพราะเป็นของมูลนิธิ ไม่ใช่โครงการ และเขาระบุไว้ว่า ไม่สามารถ circumvented, eroded, or ignored อย่างไรก็ตาม ถ้าเปลี่ยนเครื่องที่ใช้บ่อยก็อาจจะไม่สะดวกใจที่จะล็อกอิน (หรือเปล่า?) --KINKKU • ANANAS 17:55, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ขอให้เสริมให้นิดหนึ่งนะครับว่า แม้แต่ผู้ดูแลระบบเองนั้น (ระดับที่มีในวิกิพีเดียไทยปัจจุบัน) ก็ไม่สามารถที่จะดูหมายเลขไอพีของผู้ใช้ได้ เหอะ ๆ ความจริงแล้วสมัครสมาชิกดึงหาไอพี ข้อมูลลำบากกว่าเยอะ อย่างที่คุณ Manop พูดก่อนหน้า่นี้ ส่วนความเป็นส่วนตัวจริง ๆ แล้วก็ไม่มีอะไรอะครับ เพราะว่าเวลาสมัครที่ต้องระบุ คือ 2 อย่าง คือ username & password .... --Jutiphan | พูดคุย - 23:34, 26 กันยายน 2007 (ICT)
ปัญหาและวิธีแก้ในวิกิพีเดียไทย
ผมขอเปิดประเด็นเลยนะครบ จริง ๆ จะเปิดมานานละ คืออยากให้ทุกคนช่วยกันบอกปัญหาที่เจอ และปัญหาที่เกิดขึ้นนะครับ เพราะจะได้ช่วยกันหาวิธีแก้ไขปัญหากันได้ โดยบางคนอาจจะบอกปัญหาที่เจออย่างเดียวก็ได้ ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะแก้อย่างไร หรือถ้าบางคนรู้ปัญหาและวิธีแก้ แต่ยังไม่มีเวลาก็อาจเขียนทิ้งไว้ เผื่อคนอื่นมีวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า และประหยัดเวลากว่า ที่มาของประเด็นนี้ผมคิดว่าแต่ละคนมีปัญหาและการรับรู้ปัญหาไม่เหมือนกัน โดยถ้าทุกคนรับรู้ถึงปัญหาแล้วจะสามารถช่วยกันปรับปรุงไปในทิศทางเดียวกัน โดยถ้าเราคิดว่าปัญหาคือทุกข์ โดยเป็นแนวเหมือนกับ ทุกข์ → สมุทัย → นิโรธ สุดท้ายเราก็จะได้วิธีแก้ปัญหาเหล่านั้น
ปัญหาที่ผมเจอและหาวิธีแก้ได้บ้าง (ไม่ได้บ้าง)
ผู้ใช้ใหม่
- ผู้ใช้ใหม่ใช้งานวิกิพีเดีย และคำสั่งวิกิพีเดียไม่ค่อยเป็น และบางคนบอกว่าใช้งานยาก
- แนวทางแก้ปัญหา
- แปลเมนูและคำสั่งเป็นภาษาไทย (เสร็จแล้ว) แต่มีบางส่วนที่หลงเหลือ --Octahedron80 11:26, 25 กันยายน 2007
- ตัวอย่างหนึ่งที่เคยเสนอคือ "คอมมอนส์" น่าจะมีชื่อไทย แต่เห็นบอกว่าคำทับศัพท์เรียกสั้นดี แถมถึงแปลก็ไม่ช่วยเท่าใดนัก แต่ผมก็ยังว่าอย่างน้อยก็พอมีแนวทางว่าเกี่ยวกับ��ะไร ควรเข้าไปศึกษาไม่ควรผ่านเลยไป --Sirius (TeeTaweepo)
- แปลและเขียนวิธีการใช้งานและแนวทางการเขียน โดยแปลบางส่วนมาจากภาษาอังกฤษและปรับปรุง (ส่วนสำคัญเสร็จแล้ว)
- สร้างหน้า วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (ยังไม่เสร็จ) และ วิกิพีเดีย:เริ่มต้น
- เสนอให้ย้ายส่วนของวิธีใช้ไปยังเนมสเปซ "วิธีใช้:" ให้หมด (วิธีใช้ไม่เหมือนกับวิธีเขียน เช่นการใช้โค้ด การสร้างตาราง เขียนสูตร ฯลฯ) --Octahedron80
- เสนอเพิ่มว่า ผมว่า หน้าสอน สำคัญพอที่จะควรเอาเข้า เมนูซ้าย
ปล.ที่จริงก่อนหน้ามีหน้าสอน เคยเสนอให้ทำ ทางลัดไป "กระบะทราย" ในเมนูซ้าย เพราะเห็นว่าเพื่อสะดวกกับผู้เขียน ทั้งกับมือใหม่ ที่อยากลองเขียน แต่ทำผิดทำถูก กว่าจะได้ต้องแก้หลายรอบ จะได้ไม่เปลือง และกับมือเก่า ที่ add favorite หรือตั้ง home ที่หน้าอื่น แต่ในเมื่อมีหน้าสอน วิกิพีเดีย:เริ่มต้น ก็ย่อมดีกว่า จึงเสนอใหม่อีกรอบให้เอาหน้าสอนนี้ขึ้นเมนูซ้าย) --Sirius (TeeTaweepo) 03:10, 26 กันยายน 2007 (ICT)- อย่างคราวที่แล้วที่ไม่นำเข้าเมนูด้านซ้าย เพราะตอนนี้มีเมนูเยอะในระดับหนึ่งแล้ว (ตอนนี้เยอะกว่า) เลยคิดว่าถ้ายิ่งมีเยอะคนอ่านจะยิ่งสับสนนะครับ คิดว่าถ้าหน้าสอนสร้างเสร็จ คงอาจต้องลองดูว่าสำคัญหรือเปล่า เพราะว่าหน้าสอนก็เป็นหน้าต่อเนื่องจากหน้า "ร่วมแก้ไข" อยู่แล้วด้วยครับ --Manop | พูดคุย 03:02, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- เสนอเพิ่มว่า ผมว่า หน้าสอน สำคัญพอที่จะควรเอาเข้า เมนูซ้าย
- เสนอให้ย้ายส่วนของวิธีใช้ไปยังเนมสเปซ "วิธีใช้:" ให้หมด (วิธีใช้ไม่เหมือนกับวิธีเขียน เช่นการใช้โค้ด การสร้างตาราง เขียนสูตร ฯลฯ) --Octahedron80
- แปลเมนูและคำสั่งเป็นภาษาไทย (เสร็จแล้ว) แต่มีบางส่วนที่หลงเหลือ --Octahedron80 11:26, 25 กันยายน 2007
- แนวทางแก้ปัญหา
คำทับศัพท์
- คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย ค่อนข้างไม่สมประกอบและไม่เป็นรูปร่าง ทั้งภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และภาษาอื่น ซึ่งส่วนตัวแล้วผมคิดว่าทางระบบของราชบัณฑิตดีระดับหนึ่ง (เฉพาะในภาษาอังกฤษ) แต่ยังไม่ดีพอ ส่วนภาษาอื่นก็ค่อนข้างล้าสมัยพอสมควรซึ่งเอาเป็นตัวอย่างได้ยาก ในขณะเดียวกันการทับศัพท์ตามสื่อหนังสือพิมพ์ (ที่แตกต่าง) เป็นที่นิยมมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักฟุตบอล และนักร้อง
- วิธีแก้ ร่วมพูดคุยหาข้อตกลงโดยเริ่ม โครงการคำทับศัพท์ ไว้แต่ยังคงไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนเพียงพอ --Manop | พูดคุย 11:18, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- หลักการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ พวกเรื่องตัวอักษร ช่วยกันอัปเดตได้แล้วนะครับ มันมีเพิ่มมีเปลี่ยนเยอะเลย --Octahedron80 11:22, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตอนนี้ใช้กันมั่วมากเลยครับ เช่น ชื่อตัวละครการ์ตูน จะใช้ตามหลักราชบัณฑิตหรือใช้ตามชื่อที่สำนักพิมพ์แปลออกมา ควรจะมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน -- Portal 21:24, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ใช่ค่ะ เรื่องคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น เมื่อไหร่จะลงมติได้ซะทีก็ไม่รู้ ส่วนชื่อตัวละครการ์ตูนควรยึดตามสำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์อยู่แล้ว แต่สำหรับชื่อบุคคลจริงเนี่ย ยังไงก็ต้องเป็น���ื่อนำหน้านามสกุลหรือคะ ส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านอะไรหรอก แต่เวลามีชื่อตัวละครกับชื่อบุคคลจริงอยู่ในหน้าเดียวกัน (เช่น คุโรซากิ อิจิโกะ พากย์เสียงโดย มาซาคาซึ โมริตะ) คนที่ไม่ค่อยสันทัดภาษาญี่ปุ่นคงจะงงน่าดูเลย ว่าไหนชื่อ ไหนนามสกุลกันแน่ --Piggy 23:28, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- เรื่องเอาชื่อหรือนามสกุลก็เป็นปัญหามากเหมือนกันครับ เพราะตอนนี้มีใช้กันทั้งสองแบบ เห็นการ์ตูนบางเรื่องใช้ชื่อนำหน้าก็มี อย่างในวิกิอังกฤษนี่ ชื่อตัวละครการ์ตูนเขาใช้ชื่อนำหน้านามสกุลหมดเลยครับ -- Portal 13:50, 27 กันยายน 2007 (ICT)
- เรื่องชื่อ-นามสกุล ในภาษาอังกฤษปกติแล้วใช้ ชื่อ นำนามสกุลนะครับ เหมือนการ์ตูนที่ออกฉายทางโทรทัศน์ หรือในฉบับหนังสือ (graphic novels) ซึ่งเขาใช้กันเป็นปกติแล้ว แต่ในหนังสือการ์ตูนไทยหรือพวกแผ่นการ์ตูน เดาว่าเกือบทั้งหมดใช้ นามสกุลนำหน้าชื่อครับ ในวิกิพีเดียไทยเลยตามแบบนั้น --Manop | พูดคุย 02:58, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ชื่อตัวละคร และคนญี่ปุ่นนี่ โดยส่วนตัวน่าจะให้อ่านนามสกุลก่อน แล้วตามด้วยชื่อ ตามแบบธรรมเนียนญี่ปุ่นนะครับ อีกอย่างต้นฉบับก็อ่านนามสกุลก่อนชื่อทั้งนั้น ถ้าอ่านชื่อก่อน แล้วตามด้วยนามสกุล หรือใช้ชื่อเพียว ๆ มันดูแหม่ง ๆ และเข้าใจยาก อีกทั้งการเรียกชื่อห้วน ๆ สำหรับคนญี่ปุ่นจะถือเป็นการเสียมารยาทนะครับ เขาจะเรียกกันด้วยนามสกุล สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน อย่างเช่น ยูอิ (นักร้อง) อันนี้เข้าใจว่าเป็นมาตรฐานของวิกิพีเดีย แต่ว่าถ้าจะให้เป็น โยชิโอกะ ยูอิ (นักร้อง) จะไม่สมบูรณ์กว่ารึครับ ยังไงก็ดีนี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว --Mafuyu 00:44, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)
- เรื่องการเรียกนามสกุลอย่างเดียว วัฒนธรรมตะวันตกก็ทำเหมือนกัน แต่เวลาเอามาใช้เป็นวิชาการก็ต้องเอาชื่อขึ้นก่อนนามสกุลเหมือนกันหมด ในบทความชาวญี่ปุ่นของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ล้วนแล้วแต่ใช้ชื่อขึ้นต้นก่อนครับ ส่วนเรื่องการตั้งหัวเรื่องโดยใช้ชื่อหรือนามสกุลเพียงอย่างเดียวนี้ไม่แนะนำอย่างยิ่ง นอกจากจะไม่ให้เกียรติแล้วยังทำให้เกิดความกำกวมมากขึ้นอีกด้วย หากมีคนชื่อหรือนามสกุลเดียวกันหลาย ๆ คน --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:45, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)
ป้าย
- ป้ายในวิกิพีเดีย บางป้ายรู้สึกโหดเกินไป บางป้ายก็ไม่ตรงความหมาย บางป้ายก็ซ้ำซ้อน คิดว่าน่าจะมีการรีวิวป้ายซักหน่อยครับ ก่อนหน้านี้เคยเสนอไปทีนึง แต่โดนตัดจบด้วยการ เปลี่ยนสีและขนาดป้าย แล้วจบไปซะงั้นโดยไม่ได้ปรับปรุงอะไรที่ควรมีเพิ่มเติม (หน้าเก่าอยู่ที่ วิกิพีเดีย:โครงการเก็บกวาดวิกิพีเดีย/ป้ายความช่วยเหลือ)
- เหมือนเคยเห็นว่าแต่ก่อนเคยมีหน้าแนะนำว่า "อย่ากลัวป้าย" เพราะฉะนั้นเราอย่าป้ายทำให้น่ากลัวสิครับ ถ้าคนกลัวป้ายแล้วใครจะเข้ามาเขียน --Octahedron80 11:24, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมอยากลองเสนอเอาตัวการ์ตูนมาใส่เพื่อลดความเครียดครับ (ไม่รู้จะได้ผลไหม) เอ้อ..เป็นความชอบส่วนตัวของผมนะครับ อาจจะไม่เวิร์คก็ได้--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 12:06, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- วิกิพีเดีย:โครงการเก็บกวาดวิกิพีเดีย/ป้ายความช่วยเหลือ#Ambox -- อควา • คุย ไฟล์:WikiBotany tap.png 12:21, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมอยากลองเสนอเอาตัวการ์ตูนมาใส่เพื่อลดความเครียดครับ (ไม่รู้จะได้ผลไหม) เอ้อ..เป็นความชอบส่วนตัวของผมนะครับ อาจจะไม่เวิร์คก็ได้--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 12:06, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- บทความที่มีแต่ป้าย ทั้งบทความเนื้อหาในป้ายมีมากกว่าเนื้อหาบทความเองซะอีก เช่น อามุโร่ เรย์ (มีอยู่ 4 ป้าย) โดนติดป้ายตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งผ่านมาครึ่งปีก็ยังคงเหมือนเดิม เลยคิดว่าน่าจะมีวิธีจัดการซักอย่าง --Manop | พูดคุย 11:18, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ถ้ามีป้ายเก็บกวาดอยู่ มันก็มีความหมายเหมือนมีป้ายอื่น ๆ อยู่ด้วย เพราะต้องการปรับปรุงในหลายเรื่อง เพราะฉะนั้นบทความที่มีป้ายเยอะอย่างเช่นที่ยกตัวอย่างมาและมีป้ายเก็บกวาดอยู่ด้วย ผมจะเอาป้ายอย่างอื่นออกเหลือไว้แต่เก็บกวาดนะครับ ส่วนป้ายโครงเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระดับบทความ บทความดังกล่าวอยู่ในระดับสั้นมากจึงไม่ต้องใส่ป้ายโครง --Octahedron80 17:40, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ผมมีความคิดอีกอย่างหนึ่งว่า ป้ายสั้นมากไม่มีประโยชน์เท่ากับป้ายเก็บกวาดนะครับ (หรือป้ายช่วยดูหน่อย อันเดียวกัน) การใส่ป้ายสั้นมากเพียงเพื่อบอกว่าบทความนี้อยู่ในระดับสั้นมาก แล้วใส่ป้ายเพื่อทำให้มันยาวขึ้นงั้นเหรอ? มันจะต่างอะไรกับการแจ้งเพิ่มเติมเนื้อหาด้วยป้ายเก็บกวาด แทนที่จะเป็นแบบนั้นใส่ป้ายเก็บกวาดไปเลยเสียยังดีกว่า ผมขอเสนอให้ยุบป้ายสั้นมากแล้วใส่ป้ายเก็บกวาดแทนครับ --Octahedron80 17:49, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- เห็นด้วยครับ รู้ส���กว่าเนื้อหาในป้านสั้นมากจะยาวกว่าเนื้อหาบทความอีก -- Portal 21:25, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ไม่เห็นด้วยในการยุบป้ายสั้นมากครับ ป้ายเก็บกวาดเหมาะสำหรับบทความที่มีปัญหามากกว่า 1 อย่างขึ้นไป ได้แก่ ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ หรือภาษาที่ใช้ ดังนั้น แทนที่จะติดป้ายจำนวนมากติดป้ายนี้ป้ายเดียวก็ครอบคลุม แต่บทความที่มีปัญหาที่เฉพาะเจาะจงก็ควรจะมีป้ายสำหรับบอกปัญหานั้นเฉพาะอยู่แล้ว เช่น ป้ายต้องการหมวดหมู่ ขยายความ หรือสั้นมาก
- ส่วนตรรกะที่ว่า "การใส่ป้ายสั้นมากเพียงเพื่อบอกว่าบทความนี้อยู่ในระดับสั้นมาก แล้วใส่ป้ายเพื่อทำให้มันยาวขึ้นงั้นเหรอ?" ดูจะเป็นเหตุผลที่ไม่เข้าท่าอย่างรุนแรง ผมเห็นป้ายแต่ละป้ายที่ติดในบทความ เช่น ป้ายเก็บกวาด ติดแล้วก็ไม่เห็นบทความมันจะโดนเก็บกวาดเหมือนกันไม่ใช่เหรอครับ??? หรือติดป้ายเก็บกวาดแล้วบทความมันจะเก็บกวาดอัตโนมัติ??? ติดป้ายต้องการหมวดหมู่แล้วบทความมันจะมีหมวดหมู่ขึ้นมา??? น่าจะเข้าใจใหม่ว่า การติดป้ายเพื่อบ่งบอกว่าบทความนั้นมีข้อบกพร่องอะไรนะครับ
- เรื่องนั้นรู้แล้ว ผมประชด สมมติว่า มีบทความใหม่บทความหนึ่งขึ้นมา มีความยาว 1-2 บรรทัด ไม่มีการจัดหมวดหมู่ อ้างอิง ไม่มีอะไรเลย คุณจะเลือกติดป้ายอะไรระหว่าง สั้นมาก กับ เก็บกวาด เพราะบทความประเภทเดียวกันนี้มีทั้งการใส่ป้ายสั้นมากบ้าง ใส่เก็บกวาดบ้าง ไม่เป็นเอกภาพ --Octahedron80 09:18, 26 กันยายน 2007 (ICT)
- เหตุผลประชดฟังดูมีสาระทีเดียวครับ บทความสั้นมาก ป้ายที่น่าจะติด ที่แน่ ๆ คือ ป้ายสั้นมาก และ/หรือ ต้องการหมวดหมู่ ครับ ต้องการอ้างอิง นี่บทความสั้น ๆ 1-2 บรรทัด ยังไม่ต้องติดก้อได้ครับ ส่วนตัวเห็นว่าถ้าบทความสั้นมากมีป้ายอย่างมากก้อ 2 พอครับ และควรเป็นป้ายเฉพาะเจาะจงที่บอกถึงปัญหา ไม่ใช่ป้ายหว่านแหครับ และในวิกิพีเดียตอนนี้มีอีกหลายบทความที่ยังไม่มีอ้างอิง แต่ไม่มีป้ายต้องการอ้างอิงติด ว่าง ๆ ก็ไปติดบ้างก็ได้ครับ เพราะบทความพวกนั้นควรจะมีอ้างอิงมากกว่าสั้นมาก--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:07, 26 กันยายน 2007 (ICT)
- เรื่องนั้นรู้แล้ว ผมประชด สมมติว่า มีบทความใหม่บทความหนึ่งขึ้นมา มีความยาว 1-2 บรรทัด ไม่มีการจัดหมวดหมู่ อ้างอิง ไม่มีอะไรเลย คุณจะเลือกติดป้ายอะไรระหว่าง สั้นมาก กับ เก็บกวาด เพราะบทความประเภทเดียวกันนี้มีทั้งการใส่ป้ายสั้นมากบ้าง ใส่เก็บกวาดบ้าง ไม่เป็นเอกภาพ --Octahedron80 09:18, 26 กันยายน 2007 (ICT)
- ส่วนข้อความในป้ายยาวกว่าบทความ มันก็ยิ่งตอกย้ำให้เห้นภาพที่ชัดขึ้นใช่ไหมครับ ว่าบทความนั้น ๆ มันมีปัญหาอะไร--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 21:57, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ป้ายเยอะ เกะกะเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าบทความมีกล่องข้อมูล มีแม่แบบตารางข้างล่างด้วย บางทีก็ใส่ไม่ค่อยถูก ถ้าจะทำป้ายอันเดียว สำหรับทุกอย่าง แล้วมีช่องติ๊ก ข้อบกพร่อง หรือความไม่สมบูรณ์ คงประหยัดป้าย ลดความเกะกะได้เยอะเลย --ธวัชชัย 22:09, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ดูดีทีเดียวครับสำหรับไอเดียนี้ มี 1 ป้าย แล้วแจกแจงปัญหาลงในป้ายแบบติ๊ก แบบนี้ 1 ป้ายก็ครอบคลุมทุกอย่างและชี้ให้เห็นถึงปัญหาของบทความได้แบบเจาะจงด้วยครับ ต้องลองปรึกษาคนอื่น ๆ ดูว่าทำแบบนี้ได้ไหมครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 22:13, 25 กันยายน 2007 (ICT)
- ส่วนตัวแล้ว ผมว่าสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงความสาหัส และปัญหาของบทความครับ รวมถึงเป็นประโยชน์เพราะบทความจะอยู่ในหลายประเภท ซึ่งยิ่งได้มีการปรับปรุงรูปแบบป้ายใหม่ล่าสุดแล้ว ผมเห็นว่ามีหลายป้ายเรียงกันนั้น ดูดีกว่าเดิมขึ้นเยอะ ส่วนตัวแล้วถือว่าไม่มีปัญหาตรงนี้ เท่าที่เห็นส่วนใหญ่บทความที่มีหลากหลายป้าย ควรถูกลบ --Jutiphan | พูดคุย - 07:30, 26 กันยายน 2007 (ICT)
- ป้ายสั้นมาก ถ้ามันสั้นมาก ก็เอาออกและติดป้าย {{ลบ}} แทนก็ได้นะครับ ว่าไปแล้วผมเจอหลายอันที่สั้นมากผมก็จัดการลบเลยมากกว่าที่จะติดป้าย {{สั้นมาก}} อย่างเช่นบางบทความมีแค่สั้น ๆ คำว่า "นายกขค เป็นนักวิทยาศาสตร์" หรือว่า "ฟหกด เป็นชื่อหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์" --Manop | พูดคุย 03:06, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ผมว่า {{สั้นมาก}} มันไม่ค่อยจำเป็นเท่าไร ถ้าบทความที่แทบจะไม่มีเนื้อหาอะไรเลยแบบ"นายกขค เป็นนักวิทยาศาสตร์" ก็น่าจะลบได้ แต่ถ้ามีเนื้อหาอยู่บ้าง อย่างเช่น ไฮดรา (สัตว์ในตำนาน) หรือ Microsoft .NET หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผมก็ว่าน่าจะเอาสั้นมากออกให้มีแค่ {{โครง}} ก็พอครับ -- Portal 09:43, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ผมว่าสั้นมากยังมีความจำเป็นครับ โดยเฉพาะบทความเซท .ac .ad....zw รวมทั้ง เซทสมเด็จพระสันตปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาลินุส สมเด็จพระสันตะปาปาโรมานุส ถ้าเซทบทความที่ยกตัวอย่างมานี้เสนอให้ลบ ผมว่าลบไปก็ไม่น่าเกลียดครับ ส่วนบทความ Microsoft .NET หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมควรเอาป้ายสั้นมากออกได้คับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:08, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ไม่ควรลบเป็นอย่างยิ่งครับ อย่างเซตโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ ก็ยังมีเนื้อหาคือเป็นของประเทศใดและปีที่เริ่มใช้ ลองดูบทความของภาษาอื่นก็ไม่ได้ดีไปกว่าของเราเท่าไรหรอกครับ (แย่กว่าด้วยซ้ำ) เขาก็ยังคงไว้ เพื่อรอเพิ่มเติมเนื้อหาได้ในอนาคต อย่างบทความ .bd ใน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาจีน ภาษาสวีเดน ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี ภาษาเดนมาร์ก ภาษากรีก ภาษาแอลเบเนีย เนื้อหาก้มีแค่บรรทัดเดียวเหมือนกัน แถมของเขาก็ปล่อยโล่ง ๆ แบบนั้น อย่างมากก้มีแค่ {{โครง}} ไม่มี{{สั้นมาก}} ป้ายเบ้อเริ่มวางไว้ข้างบน -- Portal 15:38, 6 ตุลาคม 2007 (ICT)
- ป้ายสั้นมาก ถ้ามันสั้นมาก ก็เอาออกและติดป้าย {{ลบ}} แทนก็ได้นะครับ ว่าไปแล้วผมเจอหลายอันที่สั้นมากผมก็จัดการลบเลยมากกว่าที่จะติดป้าย {{สั้นมาก}} อย่างเช่นบางบทความมีแค่สั้น ๆ คำว่า "นายกขค เป็นนักวิทยาศาสตร์" หรือว่า "ฟหกด เป็นชื่อหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์" --Manop | พูดคุย 03:06, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)
- แล้วความเห็นส่วนตัว คุณ Portal ว่ามันดีหรือไม่ดีครับ หรือว่า "ไม่เป็นไรเพราะว่าแย่เหมือนกับภาษาอื่น" หรือว่า "แค่นี้ก็ดีแล้วเทียบกับภาษาอื่น" ส่วนป้าย{{สั้นมาก}} ขนาดใหญ่วางไว้ข้างบนก็ตามหน้าที่นะครับ มันอยู่บน มันใหญ่ มันไม่ดี มันควรปรับแก้ด่วน -> บทความที่มีควรแก้ ไม่เหมือนป้าย{{โครง}} ที่อยู่ล่าง และบอกว่าบทความนี้ควรเพิ่มเติม --Manop | พูดคุย 05:07, 7 ตุลาคม 2007 (ICT)
ปี
- ปี พ.ศ. ไม่มีเนื้อหา เริ่มไว้เองเมื่อปีที่แล้วกะว่าจะได้ใส่ข้อมูลง่าย แต่ผลที่ออกมากลายเป็นหน้าว่างที่มีแต่กล่องข้อมูลสั้น
- วิธีแก้
- ระยะสั้น - เปลี่ยนจาก {{กล่องปี}} เป็น {{กล่องรวมปี}} เปลี่ยนไปแล้วประมาณ 300 หน้า เหลืออีกประมาณ 2000
- ระยะยาว - เขียนข้อมูลเพิ่มเติม เขียนไปประมาณ 30 หน้า เหลืออีกประมาณ 2300
- วิธีแก้
- --Manop | พูดคุย 11:18, 25 กันยายน 2007 (ICT)
ความสำคัญของข่าว และเนื้อข่าวที่ขึ้นในหน้าแรก (วันนี้ในอดีต)
เห็นของวันนี้ (30 ก.ย.) อันหนึ่งเขียนว่า
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "มหกรรมข้าวโลก" (World Rice Expo 2004) ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ไม่ทราบว่า มีความจำเป็นแค่ไหน ที่ต้องบอกด้วย ว่าคุณสมศักดิ์เป็นประธานในพิธีเปิด เขียนแค่นี้ก็พอไหม?...
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - เปิดงาน "มหกรรมข้าวโลก 2004" (World Rice Expo 2004) ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
ขอบคุณครับ ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 61.19.241.43 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
- ขอบคุณครับสำหรับความเห็น มีหลายหน้าเหมือนกันที่ต้องช่วยกันปรับแก้ครับ เพราะอย่างบางข่าวอาจจะมีความสำคัญน้อยด้วย และบางข่าวอาจต้องมีการตรวจคำและประโยคเช่นกัน โดยคุณก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ช่วยได้ โดยข่าวที่ปรากฏหน้าแรกนั้นอยู่ใน โครงการวันนี้ในอดีต ครับ ซึ่งจะมีหน้าย่อยอยู่ 366 หน้า ซึ่งจะวนไปเรื่อย ๆ วันละข่าว--Manop | พูดคุย 02:48, 4 ตุลาคม 2007 (ICT)