วัดรางบัว (กรุงเทพมหานคร)
วัดรางบัว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองภาษีเจริญและคลองรางบัว ในแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ปัจจุบันมีพระครูพิทักษ์ปทุมกิจ (เชาวลิต) เป็นเจ้าอาวาส
วัดรางบัว | |
---|---|
ที่ตั้ง | ซอยเทอดไท 66 ถนนเทอดไท แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่อสามสี |
เจ้าอาวาส | พระครูพิทักษ์ปทุมกิจ (เชาวลิต) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดรางบัวตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2383 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประชาชนได้ช่วยกันสร้างวัดนี้ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502[1] ในอดีต บริเวณวัดเป็นสวนหมาก สวนพลู สวนมะพร้าว ที่ทำการอำเภอภาษีเจริญเดิมซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตัวอาคารตั้งอยู่ริมคลองตรงวัดรางบัว[2] อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถหลังใหม่ที่สร้างแทนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม กุฏิสงฆ์จำนวน 15 หลัง ปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระประธานในอุโบสถมีนามว่า หลวงพ่อสามสี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สร้างด้วยทองแดงและสำริด มีรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสสองรูป คือ หลวงพ่อปึกกับหลวงพ่อพึ่ง นอกจากนี้ในวัดยังมีพระพุทธรูปปิดตา เทพทันใจ พระพิฆเนศ
วัดรางบัวมีเกจิอาจารย์ นามว่า พระครูวิทยานุโยค (พึ่ง) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2455 หลังจากท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านเพื่อแจกในงานฉลองสมณศักดิ์ ซึ่งท่านก็อนุญาต นับเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน เหรียญรุ่นนี้ทำเป็นเหรียญอัลปากา กล่าวกันว่า มีนายตำรวจท่านหนึ่งทราบว่าเหรียญนี้ยิงไม่ออก จึงได้ไปขอเหรียญนี้มาจากวัด และทดลองยิงดูปรากฏว่ายิงไม่ออก[3]
อ้า���อิง
แก้- ↑ "วัดรางบัว". พระสังฆาธิการ.
- ↑ อภิญญา นนท์นาท (27 เมษายน 2559). ""ภาษีเจริญ" บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
- ↑ แทน ท่าพระจันทร์ (20 มิถุนายน 2562). "เหรียญหลวงพ่อพึ่ง วัดรางบัว". ข่าวสด.