วัดนิลเพชร
วัดนิลเพชร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลนิลเพชร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ที่ดินเป็นรูปสามเหลี่ยม อาณาเขต ทิศตะวันออกติดต่อคลองญี่ปุ่นใต้ ทิศตะวันตกติดต่อถนน ร.พ.ช. และ คลองนิลเพชร ทิศใต้ติดต่อถนน ร.พ.ช. และนางประทุมวัน ส่วนทิศเหนือเป็นรูป สามเหลี่ยม[1]
วัดนิลเพชร | |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลนิลเพชร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูปฐมกิตติวัฒน์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดนิลเพชรตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2468 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2497[2] สาเหตุที่ชื่อว่า "วัดนิลเพชร" เพราะเป็นชื่อของคน 2 คน ที่อพยพเข้ามาอยู่ในที่แห่งนี้ คือ นายนิลกับนายเพชร แต่ยังมีคำบอกเล่ากันมาว่า คนที่บ้านขุนศรีและบ้านบางใหญ่ เรียกท้องที่นี้ว่านิลเพชร แต่ก็ไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ต่อมามีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินผ่านมาทางบริเวณนี้ สร้างความเลื่อมใสศรัทธาต่อชาวบ้านอย่างมาก ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ให้ พระธุดงค์รูปนั้นอยู่จำพรรษา โดยนายโต้งและนางบุญ ประทุมสินธุ์ ได้มีกุศลศรัทธาบริจาคที่ดิน ถวายและดำเนินการจัดสร้างวัดขึ้น เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสม เนื่องจากในหมู่บ้านบริเวณนี้ยังไม่มีวัด ในเบื้องต้นได้จัดสร้างศาลาพร้อมด้วยกุฏิสงฆ์จำนวน 2–3 หลัง เพื่อเป็นที่พักอาศัยและต่อมา นายจุ้ย และนายเพลิน ได้บริจาคที่ดินถวายเพิ่มเติมอีก รวมที่ดินของวัดนิลเพชรปัจจุบันนี้ มีจำนวน 33 ไร่[3]
รายนามเจ้าอาวาส
แก้- พระอธิการอินทร์
- พระอธิการเคน
- พระอธิการดิน
- พระอธิการสนธิ์
- พระอธิการสด
- พระอธิการกุ่น
- พระครูอินทสารสุนทร (โตก อินฺทวนฺโณ) พ.ศ. 2494–2542
- พระอาจารย์สมบัติ อนุจารี พ.ศ. 2544–2548
- พระครูปฐมกิตติวัฒน์ พ.ศ. 2549–
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดนิลเพชร". สำนักงานคณะสงฆ์ภาค ๑๔.
- ↑ "วัดนิลเพชร". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "วัดนิลเพชร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-31. สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.