วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

วัดในจังหวัดชลบุรี

วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นองค์ประธานจัดสร้างวัด ปัจจุบันพระโสภณคณาภรณ์ (ไชยวัฒน์ ชยวฑฺฒโน) เป็นเจ้าอาวาส

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร
ตามเข็มนาฬิกาจากภาพบนสุดซ้าย: ตราของวัดญาณสังวราราม, เจดีย์พุทธคยาจำลอง, พระอุโบสถ, พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร วัดญาณสังฯ
ที่ตั้งอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิห��ร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2519 นายแพทย์ขจรและคุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ และครอบครัว ได้ถวายที่ดินเพื่อขอให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ ต่อมา คณะผู้สร้างวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่มรวมได้เนื้อที่ 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา เพื่อขอสร้างวัด วัดได้รับการอนุญาตให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ญาณสังวรารามเมื่อ พ.ศ. 2520 และเปลี่ยนเป็นวัดญาณสังวรารามเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525 ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๑ มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ความว่า ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดญาณสังวราราม ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ มีผลตั้งแต่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๑ [1]

ปูชนียสถานที่สำคัญ

แก้
  1. พระอุโบสถ สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
  2. พระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์" สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทางเททองหล่อ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2523 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
  3. พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและราชวงศ์จักรี เริ่มดำเนินการสร้างมาตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ เพื่อการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ชั้นที่ 2 ประดิษฐานพระเจดีย์ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีชนวนจากพื้นปฐพีถึงที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านนอกชั้นที่ 3 มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระ ภปร. (ด้านหน้า) พระไพรีพินาศ (ด้านขวาของพระ ภปร.) และพระชินราชสีหศาสดา (ด้านซ้ายของพระ ภปร.) ส่วนชั้นที่ 2 เป็นซุ่มตราพระมหาจักรีซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
  4. พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก. สร้างขึ้นด้วยความซาบซิ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้าและพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเช��ญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานที่องค์พระมหามณฑป
  5. ศาลาอเนกกุศล สว.กว. เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2526 ใช้เป็นศาลาฉัน
  6. พระพุทธปฏิมา อปร.มอ. ประจำศาลาอเนกกุศล สว.กว. เป็นพระปางสมาธิแบบพระ ภปร. สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล "อปร." และพระนามาภิไธยย่อในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกนาถ "มอ." ประดิษฐานที่ผ้าทิตย์
  7. ศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ชั้นบนพื้นปูหินอ่อนไทยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไพรีพินาศ ใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรค่ำ อบรมกัมมัฎฐานเจริญจิตภาวนา เป็นต้น

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

12°47′22″N 100°57′30″E / 12.789444°N 100.958333°E / 12.789444; 100.958333