วัดชัยมงคล (กรุงเทพมหานคร)
วัดชัยมงคล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
วัดชัยมงคล | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดชัยมงคล, วัดช่างแสง |
ที่ตั้ง | เลขที่ 375 ถนนพระรามที่ 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดชัยมงคลสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2390 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2404 เดิมบริเวณนี้เป็นชุมชนของช่างตีเหล็กและเคยได้ทำพระแสงถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อสร้างวัดจึงขนานนามวัดว่า วัดช่างแสง ตามที่มาของชุมชนช่างตีเหล็กแห่งนี้ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดชัยมงคล"[1] คาดว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อหลัง พ.ศ. 2476 เพราะโรงเรียนวัดที่ตั้งในปีนั้นยังใช้ชื่อว่าโรงเรียนวัดช่างแสงอยู่
อาคารเสนาสนะ
แก้อุโบสถมีขนาด 5 ห้อง มีมุขหน้าและหลัง ซุ้มประตูหน้าต่างทำเป็นซุ้มคล้ายซุ้มบันแถลง หลังคาซ้อน 2 ชั้น 2 ตับ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับลายปูนปั้นรูปนารายณ์ทรงครุฑ โดยรูปพระนารายณ์สองพระกรอยู่ในท่าพนม อีกสองพระกรถือจักรและตรี รอบอุโบสถมีใบเสมาอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ติดกับผนังอุโบสถ รอบอุโบสถมีใบเสมาอยู่บนฐานเตี้ย ๆ ติดกับผนังอุโบสถ รูปทรงของใบเสมาเป็นแบบที่นิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือประดับวงกลมที่ตรงกลาง ด้าน��นเป็นกลีบบัวทรงชายคลุมสามแฉก เหนือขึ้นไปเป็นรัดเกล้า แต่ใบเสมาของวัดชัยมงคลนั้นใหญ่และหนา ต่างจากใบเสมาทั่วไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บาง เป็นไปได้ว่าเป็นของที่สร้างหรือซ่อมใหม่ในภายหลัง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ประดิษฐานบนฐานชุกชีซึ่งซ้อนกัน 5 ชั้น ประดับลายปูนปั้นกลีบบัวหงายและลายดอกประจำยาม เพดานอุโบสถเขียนทองลายดาวล้อมเดือน ไม่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง
เจดีย์องค์หนึ่งอยู่หลังอุโบสถ มีเพียงลวดบัวที่ซ้อนกันขึ้นไปคล้ายกับปล้องไฉนแล้วมีปลีอยู่ด้านบนสุด ไม่มีองค์ระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ไม่ใช่ทั้งเจดีย์ทรงกลมหรือย่อมุม เจดีย์องค์นี้อยู่คู่กับวัดมานาน ดังปรากฏในชุดภาพถ่ายเก่าของคาร์ล เดอริง ที่เดินทางเข้ามาในสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยบรรยายใต้ภาพว่า "วัดช่างแสง" จากภาพนี้พบว่า เจดีย์องค์นี้เคยมีเจดีย์บริวารที่มุมของฐาน มีรูปทรงคล้าย ๆ กัน ซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว และตัวฐานเองก็เปลี่ยนไปมาก[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ไม่ถึงชั่วโมง! งานทดลองปั่นจักรยานเที่ยวรอบเมืองสนุกต้องลอง (ชมคลิป)". ไทยรัฐออนไลน์. 5 มีนาคม 2558.
- ↑ "ชม 4 วัดราษฎร์ เขตปทุมวัน: วัดชัยมงคล".