ล้วน ควันธรรม
ล้วน ควันธรรม (24 ธันวาคม พ.ศ. 2455 - 27 มกราคม พ.ศ. 2522) เป็นนักร้อง และนักแต่งเพลง เป็นนักเขียนบทและเป็นผู้จัดละครวิทยุ
ล้วน ควันธรรม | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ล้วน ควันธรรม จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 27 มกราคม พ.ศ. 2522 (66 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | นันทา พันธุ์พฤกษ์ |
อาชีพ | นักร้อง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2477 - 2522 |
ผลงานเด่น | เพลงวิมานในฝัน แหวนประดับก้อย คำปฏิญาณ เสียงกระซิบสั่ง |
สังกัด | วงดนตรีสุนทราภรณ์ |
ประวัติ
แก้ครูล้วน ควันธรรม เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2455 ที่จังหวัดธนบุรี (ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) เป็นบุตรของนายลายและนางเฟื่อง ควันธรรม จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก และโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สมรสกับ นันทา พันธุ์พฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2499 มีบุตร-ธิดา 6 คน หนึ่งในนั้นคือ หมึก-โรจ ควันธรรม ดีเจเพลงสากลชื่อดัง
ในวัยเด็กครูล้วนฝึกฝนการร้องเพลงและเล่นดนตรี จากการซื้อแผ่นเสียงของนักร้องมีชื่อเสียงมาฝึกฝนด้วยตนเอง ต่อมาได้ศึกษาการเรียนโน้ตสากลจาก "ครูสริ ยงยุทธ" นักดนตรีวงสุนทราภรณ์ และเริ่มแต่งเพลงตั้งแต่นั้น เพลงแรกที่แต่งคือเพลง "วิมานในฝัน" เมื่อ พ.ศ. 2477
พ.ศ. 2482 หลวงสุขุมนัยประดิษฐก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ และรับสมัครนักร้อง ท่านเข้ามาสมัครและได้เป็นนักร้องรุ่นแรกของวง ซึ่งประกอบด้วย รุจี อุทัยกร, มัณฑนา โมรากุล, และล้วน ควันธรรม จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจึงลาออกจากราชการ แล้วตั้งวงดนตรีแชมเบอร์มิวสิก ขนาดสี่คน เล่นที่ศาลาเฉลิมกรุง และตระเวนเล่นตามวิกต่างๆ
ในช่วงหลังของชีวิต ครูล้วน ควันธรรม จัดตั้งโรงเรียนประสาทพร ขึ้นที่จังหวัดนนทบุรีและจัดทำรายการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เกี่ยวกับการร้องเพลงและการอนุรักษ์ภาษาไทย โดยใช้นามว่า "ลุงพร" ประจำที่สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ครูล้วนมีลูกศิษย์ลูกหาหลายท่าน ที่มีชื่อเสียงคือชาลี อินทรวิจิตร และ ชรินทร์ นันทนาคร
ครูล้วน ควันธรรม เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2522 อายุได้ 67 ปี
ผลงานเพลง
แก้ครูล้วน ควันธรรม แต่งเพลงเพลงแรกคือ "วิมานในฝัน" เมื่อ พ.ศ. 2477 จากนั้นมา ท่านได้แต่งเพลงทั้งคำร้องและทำนองไว้ประมาณ 300 เพลง และแต่งคำร้องให้กับเพลงสากลประมาณ 30-40 เพลง ระหว่างที่ทำงานอยู่กรมโฆษณาการ ได้แต่งละครวิทยุประมาณ 30 เรื่อง
ผลงานเพลงมีชื่อเสียง ได้แก่เพลงแหวนประดับก้อย, คำปฏิญาณ, เสียงกระซิบสั่ง, ค่ำแล้วในฤดูหนาว, ผีเสื้อกับดอกไม้, เพลินเพลงเช้า, ระกำดวงจิต, พรานเบ็ด และ ใจเป็นห่วง ฯลฯ
นอกจากผลงานแต่งเพลงแล้ว เนื่องจากภรรยาของท่านเป็นคนใต้ ท่านจึงผู้ประยุกต์เพลงเชิดหนังตะลุงของทางใต้ให้เข้ากับจังหวะเพลงสากล เรียกว่าจังหวะ "ตะลุงเทมโป้"