ลวรณ แสงสนิท
ลวรณ แสงสนิท (เกิด 27 มีนาคม พ.ศ. 2510) เป็นข้าราชการชาวไทย ปลัดกระทรวงการคลังของไทย รองประธานกรรมการมูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิท เพื่อโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา [1]อดีตอธิบดีกรมสรรพากร อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต
ลวรณ แสงสนิท | |
---|---|
ปลัดกระทรวงการคลัง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีว่าการ | เศรษฐา ทวีสิน พิชัย ชุณหวชิร |
ก่อนหน้า | กฤษฎา จีนะวิจารณะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มีนาคม พ.ศ. 2510 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ประวัติ
แก้นายลวรณ แสงสนิท มีชื่อเล่นว่า บั๊ด เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2510 ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรชายคนที่ 2 จากทั้งหมด 3 คนของพลเอกวิโรจน์ แสงสนิท อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กับคุณหญิงลักขณา แสงสนิท จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิตจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2532 และปริญญาโท M.S. (Economic Policy and Planning) Northeastern University, USA เมื่อปี 2534[2]
รับราชการ
แก้ในปี 2555 นายลวรณได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน ในปีเดียวกันได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จากนั้นในปี 2558 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจการเงิน ต่อมาในปี 2559 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
���นปี 2561 ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จากนั้นในปี 2563 ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต ต่อมาในปี 2565 ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร
กระทั่งวันที่ 13 กันยายน 2566 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมมีมติเลือกนายลวรณให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่[3]แทนนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ที่ลาออกจากราชการมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จากนั้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายลวรณดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการโดยให้มีผลทันที[4]
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นาย ธีรลักษ์ แสงสนิท น้องชาย นาย ลวรณ แสงสนิท เป็น รองปลัดกระทรวงการคลัง
ตำแหน่ง
แก้- 19 สิงหาคม 2540 – รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[5]
- – รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- 26 สิงหาคม 2541 - รองประธานกรรมการมูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิท เพื่อโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
- 28 มกราคม 2558 – ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง[6]
- – ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงการคลัง
- 1 ตุลาคม 2561 – ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง[7]
- 19 พฤศจิกายน 2562 – ประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก[8]
- 21 พฤษภาคม 2565 – อธิบดีกรมสรรพากร
- 2 ตุลาคม 2566 – ปลัดกระทรวงการคลัง[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ กรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิคุณหญิงลักขณา แสงสนิท เพื่อโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา"
- ↑ เปิดประวัติ ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง คนที่ 19 ลูกชาย��ดีต ผบ.สส.
- ↑ ไม่ผลิกโผ ครม.เคาะตั้ง ลวรณ นั่งปลัดคลัง คนใหม่
- ↑ โปรดเกล้าฯ 'ลวรณ แสงสนิท' เป็นปลัดกระทรวงการคลัง เปิดประวัติ-การทำงาน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 261/2540 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๘, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐