รายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก
ประเทศลักเซมเบิร์กปกครองโดยเจ้าผู้ครองราชรัฐซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นเคานต์ ดยุก และแกรนด์ดยุก ตามลำดับ ในอดีตเป็นรัฐนี้ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนีและจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2358
แกรนด์ดยุกราชรัฐลักเซมเบิร์ก | |
---|---|
อยู่ในราชสมบัติ | |
แกรนด์ดยุกอ็องรี ตั้งแต่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 | |
รายละเอียด | |
พระราชอิสริยยศ | แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก |
รัชทายาท | แกรนด์ดยุกกีโยม |
กษัตริย์องค์แรก | สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ |
สถาปนาเมื่อ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2358 |
ที่ประทับ | พระราชวังหลวงลักเซมเบิร์ก, ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก |
เคานต์แห่งลักเซมเบิร์ก
แก้ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-นาเมอร์
แก้พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
เคานท์เฮนรีที่ 4 ผู้เข้าใจยาก | ประมาณพ.ศ. 1655 พระโอรสในก็อดฟรีย์ที่ 1 แห่งนาเมอร์กับพระนางเออร์เมนซิดา |
เคานท์เตสลอว์เร็ตแห่งฟลานเดอร์ พ.ศ. 1695 เคานท์เตสแอ็กเนสแห่งกิวส์เดอร์ พ.ศ. 1711 |
14 สิงหาคม พ.ศ. 1739 อิชเทอนัก พระชนมายุราว 84 พรรษา |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
เคานท์ออตโตแห่งลักเซมเบิร์ก | ประมาณมิถุนายน พ.ศ. 1713 พระราชโอรสในฟรีดริชที่ 1กับเบียทริซแห่งเบอร์กันดี |
เคาน���เตสมาร์กาเร็ตแห่งบลัวส์ พ.ศ. 1733 2 พระองค์ |
13 มิถุนายน พ.ศ. 1743 เบซาคอน พระชนมายุราว 30 พรรษา |
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-นาเมอร์
แก้พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
เคานท์เตสเออร์เมนซีนแห่งลักเซมเบิร์ก (Ermesinde of Luxembourg) พ.ศ. 1740–12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1790 (1197–12 February 1247) ปกครองร่วมกับพระสวามี |
ประมาณกรกฎาคม พ.ศ. 1729 พระธิดาในเฮนรีที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กกับเคานท์เตสแอ็กเนสแห่งกิวส์เดอร์ |
เคานท์เธโอบาล์ดที่ 1 แห่งบาร์ 3 พระองค์ เคานท์วาเลรานที่ 3 แห่งลิมเบิร์ก 3 พระองค์ |
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1790 พระชนมายุราว 60 พรรษา | |
เคานท์เธโอบาล์ดที่ 1 แห่งบาร์ | ประมาณพ.ศ. 1701 พระโอรสในเรจินาดที่ 2 แห่งบาร์กับเคานท์เตสแอ็กเนส เดอ แชมปาญ |
เคานท์เตสเออร์เมนซีนแห่งลักเซมเบิร์ก 3 พระองค์ |
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1757 พระชนมายุราว 56 พรรษา | |
ดยุกวาเลรานที่ 3 แห่งลิมเบิร์ก | ประมาณพ.ศ. 1723 พระโอรสในเฮนรีที่ 3 แห่งลิมเบิร์กกับดัสเชสโซเฟียแห่งซารร์บัคเค่น |
เคานท์เตสเออร์เมนซีนแห่งลักเซมเบิร์ก 3 พระองค์ |
2 กรกฎาคม พ.ศ. 1769 พระชนมายุราว 46 พรรษา |
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-ลิมเบิร์ก
แก้ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
แก้ในพ.ศ. 1897 ประเทศได้เปลี่ยนเป็นดัชชี
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-ลิมเบิร์ก
แก้- เนื่องดัสเชสเอลิซาเบธที่ 1 ทรงไม่มีพระโอรสธิดาที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระนางจึงทรงขายดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กให้ฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีในพ.ศ. 1984 แต่ต้องให้พระนางสิ้นพระชนม์ก่อน ดยุกฟิลลิปจึงยึดเมืองลักเซมเบิร์กในปีพ.ศ. 1986 แต่ไม่ผนวกลักเซมเบิร์กและรับพระยศ"ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก" เนื่องจากทรงขัดแย้งกับดัสเชสแอนน์แห่งลักเซมเบิร์กพระญาติสนิทสายลักเซมเบิร์ก
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
ในปีพ.ศ. 2010 เมื่อดัสเชสเอลิซาเบธที่ 2 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กพระองค์สุดท้าย ทรงได้สละสิทธิอันชอบธรรมของพระนางในราชบัลลังก์ พระโอรสของฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีคือ ชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีทรงยอมรับพระอิศริยยศนี้โดยรวมเข้ากับพระยศ"ดยุกแห่งเบอร์กันดี"
ในปีพ.ศ. 2025/พ.ศ. 2049 ลักเซมเบิร์กได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮับบูร์ก หลังจากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กจึงตกเป็นของราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปน
ในช่วงสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนปีพ.ศ. 2245 ถึงพ.ศ. 2257 ดินแดนได้กลายเป็นข้อพิพาทระหว่างเจ้าชายฟิลิปแห่งอองจูผู้เป็นพระนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส สายราชวงศ์บูร์บงกับอาร์ชดยุกชาร์ลส์แห่งออสเตรียพระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สายราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ในปีพ.ศ. 2255 ลักเซมเบิร์กและนาเมอร์ได้ถูกครอบครองโดยอิเล็กเตอร์แม็กซิมิลเลียนที่ 2 เอ็มมานูเอลแห่งบาวาเรียโดยพันธมิตรฝรั่งเศส ด้วยจุดจบแห่งสงครามในปีพ.ศ. 2256 และสนธิสัญญาอูเทร็คท์ อิเล็กเตอร์เอ็มมานูเอลทรงฟื้นฟูรัฐอิเล็กเตอร์แห่งบาวาเรียและในปีพ.ศ. 2256 ลักเซมเบิร์กจึงถูกครอบครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูรก์สายออสเตรียอีกครั้งหนึ่ง
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
ดยุกฟิลิปที่ 5 แห่งลักเซมเบิร์ก | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2226 พระโอรสในดอว์ฟินหลุยส์กับมาเรีย แอนนาแห่งบาวาเรีย |
มาเรีย ลุยซาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสเปน 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2244 4 พระองค์ เอลิซาเบธแห่งปาร์มา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน 24 ธันวาคม พ.ศ. 2257 7 พระองค์ |
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2289 มาดริด พระชนมายุ 62 พรรษา |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
ดยุกแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2205 พระโอรสในเฟอร์ดินานด์ มาเรียแห่งบาวาเรียกับเฮนเรียต อเดเลดแห่งซาวอย |
มาเรีย แอนโตเนียแห่งออสเตรีย อิเล็กเตรสแห่งบาวาเรีย 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2228 3 พระองค์ เจ้าหญิงเทเรซา คุนนิกุนดา โซเบรสกาแห่งโปแลนด์ 2 มกราคม พ.ศ. 2238 10 พระองค์ |
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2269 มิวนิก พระชนมายุ 63 พรรษา |
พระปรมาภิไธย | พระราชสมภพ | อภิเสกสมรสและรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
ดยุกชาร์ลส์ที่ 5 แห่งลักเซมเบิร์ก | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2228 พระโอรสในลีโอโพลด์ที่ 1กับอาร์คดัสเชสเอเลนอร์ แม็กเดเลนาแห่งพาลาทิเน็ต-เนาบูร์ก |
อาร์คดัสเชสเอลิซาเบธ คริสทินแห่งบรุนสวิก-วอลเฟนบัทเทิล 1 สิงหาคม พ.ศ. 2251 4 พระองค์ |
20 ตุลาคม พ.ศ. 2283 เวียนนา พระชนมายุ 55 พรรษา | |
ดัสเชสมาเรียที่ 2 เทเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก (Maria II Theresa of Luxembourg) 20 ตุลาคม พ.ศ. 2283-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323 (20 October 1740–29 November 1780) |
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2260 พระราชธิดาในคาร์ลที่ 6 กับเอลิซาเบธ คริสทินแห่งบรุนสวิก-วอลเฟนบัทเทิล |
จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2279 16 พระองค์ |
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2323 พระราชวังหลวงฮอฟบูร์ก พระชนมายุ 63 พรรษา |
ลักเซมเบิร์กได้ถูกยึดครองโดยเหล่านักปฏิวัติฝรั่งเศสในระหว่าง พ.ศ. 2337 ถึง พ.ศ. 2356 ในการประชุมแห่งเวียนนาได้มีการยกระดับดินแดนเป็น "แกรนด์ดัชชี" และให้สิทธิ์ในการปกครองแก่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
แก้แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กเป็นตำแหน่งของพระประมุขของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศเดียวในโลกที่ปกครองแบบราชรัฐซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2358 บนการรวมกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ภายใต้ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา
รัฐธรรมนูญแห่งลักเซมเบิร์กได้กำหนดสถานะของแกรนด์ดยุกว่า "แกรนด์ดยุกเป็นพระประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพและทรงเป็นผู้ค้ำจุนเอกราชของชาติ พระองค์ทรงสามารถใช้อำนาจเต็มด้วยการเห็นพ้องกันในรัฐธรรมนูญและกฎหมายแห่งประเทศ"
พระปรมาภิไธย/พระบรมฉายาลักษณ์ | พระบรมราชสมภพ | อภิเษกสมรสและพระรัชทายาท | สวรรคต | |
---|---|---|---|---|
แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2315 พระราชโอรสในวิลเล็���ที่ 5กับเจ้าหญิงวิลเฮลมินาแห่งปรัสเซีย |
เจ้าหญิงวิลเฮลมิเนแห่งปรัสเซีย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2334 6 พระองค์ |
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386 เบอร์ลิน พระชนมพรรษา 71 พรรษา | |
แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2335 พระราชโอรสในวิลเล็มที่ 1กับเจ้าหญิงวิลเฮลมิเนแห่งปรัสเซีย |
เจ้าหญิงแอนนา ปาฟลอฟนาแห่งรัสเซีย 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2359 9 พระองค์ |
17 มีนาคม พ.ศ. 2392 ทิลเบิร์ก พระชนมพรรษา 56 พรรษา | |
แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 3 แห่งลักเซมเบิร์ก (William III of Luxembourg) 17 มีนาคม พ.ศ. 2392-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 (17 March 1849-23 November 1890) |
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2360 พระราชโอรสในวิลเล็มที่ 2กับแอนนา ปาฟลอฟนาแห่งรัสเซีย |
เจ้าหญิงโซฟีแห่งเวือร์เทมเบิร์ก 18 มิถุนายน พ.ศ. 2382 3 พระองค์ เจ้าหญิงเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ 7 มกราคม พ.ศ. 2422 1 พระองค์ |
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 พระราชวังเฮ็ท ลู พระชนมพรรษา 73 พรรษา |
ภายใต้พ.ศ. 2328 ข้อตกลงราชสกุลนัสเซา ดินแดนต่างๆของราชวงศ์นัสเซาในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในข้อตกลง(ลักเซมเบิร์กและรัฐนัสเซา)ได้ถูกผูกมัดด้วยกฎบัตรซาลลิคได้นำมาซึ่งมรดกโดยสตรีหรือผ่านทางสตรีในโอกาสการสูญสิ้นทายาทที่เป็นบุรุษแห่งราชวงศ์ เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จสวรรคต เจ้าหญิงวิลเฮลมินาทรงเป็นรัชทายาทเพียงพระองค์เดียวได้ขึ้นครองราชสมบัติเนเธอร์แลนด์ โดยไม่ผูกมัดตามข้อตกลงของราชสกุล อย่างไรก็ตามราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กได้ผ่านไปถึงเชื้อสายบุรุษของราชวงศ์นัสเซาสายอื่น คือ ดยุกอดอลฟ์ผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งดยุกแห่งนัสเซาและเป็นประมุขของสายราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก
ในปีพ.ศ. 2448 เจ้าชายนิโคลอส วิลเฮล์มแห่งนัสเซาผู้เป็นพระอนุชาต่างมารดาของแกรนด์ดยุกอดอลฟีสิ้นพระชนม์ มีพระโอรสคือเคานท์จอร์จ นิโคลอสแห่งมาเรนเบิร์ก อย่างไรก็ตามทรงเป็นทายาทของการสมรสของต่างฐานะ เพราะฉะนั้นทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์เพียงทางนิตินัย ในปีพ.ศ. 2450 แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวของแกรนด์ดยุกอดอลฟ์ได้รับสิทธิการชอบธรรมแก่พระธิดาองค์โตคือ เจ้าหญิงมารี อเดเลด ซึ่งเป็นสิทธิในการสืบราชสมบัติด้วยความบริสุทธิ์แห่งการไร้บุรุษในราชวงศ์ และระบุไว้ในกฎดั้งเดิมราชสกกุลนัสเซา พระนางจึงทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกผู้ปกครองแกรนด์ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อพระบิดาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2455 และทรงสละราชสมบัติในปีพ.ศ. 2462 พระขนิษฐาจึงครองราชย์สืบต่อคือแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งบูร์บง-ปาร์มา เจ้าชายในอดีตดัชชีแห่งพาร์มา เชื้อสายของพระนางได้ครองราชย์สืบต่อมาจนปัจจุบัน เป็นการดำเนินต่อของราชวงศ์นัสเซาและได้สถาปนาราชวงศ์บูร์บง สายบูร์บง-ปาร์มา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Grand_Dukes_of_Luxembourg#House_of_Nassau-Weilburg
- Thewes, Guy (2003). Les gouvernements du Grand-Duché de Luxembourg depuis 1848 (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส) (Édition limitée ed.). Luxembourg City: Service Information et Presse. ISBN 2-87999-118-8. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - (ฝรั่งเศส)/(เยอรมัน) "Archives of Mémorial A". Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.