รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บทกฎหมายปกครองสูงสุดของประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกันกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่ 20

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บทนำของรัฐธรรมนูญ
ภาพรวม
ท้องที่ใช้ประเทศไทย
สร้างขึ้น5 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
เสนอ29 มีนาคม พ.ศ. 2559
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
มีผลบังคับใช้6 เมษายน พ.ศ. 2560
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ระบบรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โครงสร้างรัฐบาล
แขนง3
ประมุขแห่งรัฐพระมหากษัตริย์
ฝ่ายนิติบัญญัติระบบสองสภา (รัฐสภา: วุฒิสภา, สภาผู้แทนราษฎร)
ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการศาลฎีกา
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
คณะผู้เลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประวัติศาสตร์
นิติบัญญัติชุดแรก24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (สภาผู้แทนราษฎร)
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วุฒิสภา)
บริหารชุดแรก9 มิถุนายน พ.ศ. 2562
แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้ง)1
แก้ไขครั้งล่าสุด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ผู้เขียนConstitution Drafting Commission
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับก่อนหน้า2014 interim constitution of Thailand
เอกสารฉบับเต็ม
Constitution of Thailand บนวิกิซอร์ซ
กฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
กฎมณเฑียรบาล
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด
ประมวลกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
บริหารบัญญัติ
องค์การบัญญัติ

รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 20 ฉบับ เคยผ่านการแก้ไขสำเร็จมาแล้ว 22 ครั้ง[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2564ได้มีการประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 นับเป็นการแก้ไขครั้งที่ 23

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ''

ภาพรวม

แก้

ในวิชากฎหมาย แนวคิดประชาธิปไตยตะวันตกได้ถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบของทฤษฎีกฎหมายที่เรียก รัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการสามประการ คือ การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล รัฐธรรมนูญของไทยหลายฉบับได้ยอมรับแนวคิดดังกล่าวและนำมาเป็นเจตนารมณ์แห่งรัฐ ธรรมนูญในการกำหนดกรอบในการตราบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติอย่างชัดแจ้งถึงหลักการดังกล่าวในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ [2]

ดังนั้นโดยสภาพแล้วรัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับที่มีกรอบความคิดแบบตะวันตก ควรเกิดผลตามครรลองประชาธิปไตยตะวันตกเหมือนอย่างประเทศตะวันตก แต่สิ่งที่เกิดในระบบการเมืองไทยดูเหมือนสวนทางระบบการเมืองตะวันตก ซึ่งต้องยอมรับว่า รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายลายลักษณ์อักษรสูงสุดของรัฐ ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งขัดกับแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ซึ่งควรมีความศักดิ์สิทธิ์และคงทนถาวร[ต้องการอ้างอิง]

พระราชอำนาจ

แก้

พระราชอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับอัน

รัฐธรรมนูญปี 2490 และ 2492 มีการเพิ่มพระราชอำนาจอย่างสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ทรงสามารถแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้กึ่งหนึ่ง[3]: 47 

รายชื่อ

แก้
ต้นฉบับของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เก็บรักษา ปัจจุบันจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์รัฐสภา
หน้าต้นของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้[4]

  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 [5] รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
  20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

การแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ

แก้

หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้

 
  1. สภาที่มาจากการเลือกตั้ง: สภานิติบัญญัติในกลุ่มนี้จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (ซึ่งสภาผู้แทนมีการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนสภาสูงซึ่งเรียกว่าพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม) และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ที่ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง)
  2. สภาที่มาจากการสรรหา: สภานิติบัญญัติที่เกิดมาจากการสรรหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยที่สมาชิกผู้มาจากการสรรหานั้นมีอำนาจมากพอในการจำกัดอำนาจสมาชิกที่มีมาจาการเลือกตั้งได้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  3. สภาที่มาจากการแต่งตั้ง: ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือเกือบจะเป็นเช่นนั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

ข้อวิจารณ์

แก้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก

มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า "ใช้อำนาจตามมาตรา 17"[ต้องการอ้างอิง]

ซึ่งมีบทบัญญัติดังนี้

มาตรา ๑๗ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำ การใดไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ

กรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 17 เช่น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเหนืออำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการซึ่งคล้ายคลึงกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 17 และมาตรา 48 ซึ่งนิรโทษกรรมความผิดของทหารทั้งในอดีตและอนาคต จนถูกวิจารณ์ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 265 ซึ่งยังคงใช้บทบัญญัติมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายหลังการการเลือกตั้งทั่วไปจะเข้ารับหน้าที่

อ้างอิง

แก้
  1. แก้ไขรัฐธรรมนูญ: รัฐธรรมนูญไทย 20 ฉบับ แก้สำเร็จมาแล้ว 22 ครั้ง
  2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี,กรุงเทพ,สำนักพิมพ์นิติธรรม,พิมพ์ครั้งที่1,2538
  3. ใจจริง, ณัฐพล (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (1 ed.). ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786167667188.
  4. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-27. สืบค้นเมื่อ 2007-01-29.
  5. รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  6. ดูเพิ่มที่ ปรีดี หงษ์สต้น. “เชือดไก่ให้ลิงดู: รัฐไทยกับการทำลายศัตรูด้วยนาฏกรรม.” วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 1, 2 (ต.ค. 2557-มี.ค. 2558), น. 53-99.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้