มหาหิงคุ์
มหาหิงคุ์ | |
---|---|
Ferula scorodosma syn. assa-foetida | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Apiaceae |
สกุล: | Ferula |
สปีชีส์: | F. assa-foetida |
ชื่อทวินาม | |
Ferula assa-foetida L. |
มหาหิงคุ์ (ฮินดี: :हींग ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้วย
ศัพทมูลวิทยา/ที่มาของชื่อ
แก้ชื่อภาษาอังกฤษของมหาหิงคุ์คือ asafoetida ซึ่งมาจากคำภาษาลาติน asa ซึ่งแปลว่ายางไม้ และ foetidus ซึ่งแปลว่ากลิ่นเหม็นแรง บางทีอาจเรียกว่า Devil's dung ซึ่งแปลว่ามูลผี อนึ่งคำ aza มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า azā ส่วนชื่อภาษาฮินดี ใช้ หีค (हींग) เนื่องจากพืชชนิดนี้มีกลิ่นแรงมาก ในภาษาฝรั่งเศสจึงเรียกว่า แมร์ดดูดียาบล์ (merde du Diable) ซึ่งแปลว่ามูลผีเช่นเดียวกับชื่อภาษาอังกฤษ[1]
ประโยชน์
แก้การใช้ประกอบอาหาร
แก้มหาหิงคุ์เป็นเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร มักใช้ร่วมกันกับขมิ้น ใส่ในแกงกะหรี่ มหาหิงคุ์มีกลิ่นแรงมาก จึงต้องใส่ไว้ในโหลปิดแน่นมิให้อากาศเข้าออกได้ มิเช่นนั้นจะทำให้กลิ่นไปปะปนเครื่องเทศชนิดอื่น บางทีนิยมผสมกับแป้งปริมาณมาก เพื่อมิให้กลิ่นแรงเกินไปเวลาใช้[2]
ถึงจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อใส่ในน้ำมันร้อน ๆ หรือเนยใส จะได้กลิ่นหอมหวนคล้ายกับหัวหอมผสมกับกระเทียม (นิยมใช้ในบรรดาผู้ที่ไม่รับประทานหัวหอมหรือกระเทียม[3][4]) นิยมใส่ขณะทำการ tempering หรือการผัดเครื่องเทศกับน้ำมันในขั้นแรกของการทำอาหารอินเดีย มหาหิงคุ์ยังช่วยให้รสชาติของอาหารกลมกล่อม ใช้เพียงเล็กน้อยในการประกอบอาหาร
ในบางลัทธิเช่น โยคี จะห้ามการรับประทาน กระเทียม หัวหอม และมหาหิงคุ์ เช่นเดียวกับ เนื้อสัตว์และแอลกอฮอล์
การใช้เป็นยา
แก้มหาหิงคุ์เป็นยาแก้ท้องอืด ลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง โดยมีฤทธิ์ลดการเจริญและแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้[5][6] รวมทั้งใช้เป็นยาช่วยย่อย เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูกได้ด้วย[7] ในไทย มหาหิงคุ์ใช้ผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ทาท้องเด็กอ่อนเพื่อช่วยให้ขับลม หรืออาจจะผสมน้ำหยอดให้เด็กรับประทาน อาจใช้แก้พิษฝิ่นที่สูบเข้าไปด้วยได้[8]
เมื่อมหาหิงคุ์ถูกนำเข้าสู่โลกตะวันตก ก็ได้มีการทดลองใช้สารละลายมหาหิงคุ์ในแอลกอฮอล์รักษาแผล [9] แก้ไข้หวัด โดยมีการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจากไข้หวัดสเปนเมื่อ พ.ศ. 2461 จนในเวลาต่อมาได้มีการบรรจุลงในรายการตำรายากลางของสหรัฐอเมริกา (United States Pharmacopeia) เพื่อใช้เป็นยาป้องกันโรคไข้หวัด[10] ล่าสุดมีการทดลองใช้รากของมหาหิงคุ์เพื่อฆ่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1[11][12]
ยิ่งไปกว่านั้น มหาหิงคุ์สามารถใช้ลดอาการโรคลมชัก ได้อีกด้วย[13]
ลักษณะ
แก้ยางจากต้นมหาหิงคุ์ประกอบด้วยยางเหนียว 40 - 65% ยางภายในเซลล์ 25% น้ำมันหอมระเหย 10–15% โดยมีเถ้า 1.5–10% ประกอบด้วยสารสำคัญเช่น อะซาเรซิโนแทนนอล (asaresinotannol) A และ B, กรดเฟรูลิก, อัมเบลลิเฟอโรน และสารอื่น ๆ[14] ยางมหาหิงคุ์ได้จากการเจาะหรือตัดเอาน้ำเลี้ยงลำต้นและรากออกแล้วตากให้แห้งเป็นผลึกคล้ายอำพัน เวลาจะใช้ต้องนำไปบดกระแทกให้แตกเสียก่อน แล้วจึงเข้าผสมในยาหรือผสมกับแป้งเพื่อโรยอาหาร
ต้นมหาหิงคุ์ Ferula assafoetida เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์มหาหิงคุ์ มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร และชูดอกขึ้นสูงราว ๆ 2.5 - 3 เมตร ลำต้นตอนที่ชูดอกกลวง วัดผ่านศูนย์กลางได้ 10 เซนติเมตร ภายใต้เปลือกลำต้นเป็นยางสีจาง ๆ ดอกมีสีเหลือง ส่วนผลเป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลแดง ภายในมีน้ำยางสีขาวข้น รากมีลักษณะหนาหนักเนื้อมาก มียางเช่นเดียวกับลำต้น ทุกส่วนของพืชมีกลิ่นเหม็นฉุน[15]
ดูเพิ่ม
แก้การใช้ประกอบอาหาร
แก้http://www.seriouseats.com/2010/06/spice-hunting-asafoetida-hing.html
อ้างอิง
แก้- ↑ Asafoetida: die geur is des duivels! Vegatopia (in Dutch), Retrieved 8 December 2011. This used as source the book World Food Café: global vegetarian cooking by Chris and Carolyn Caldicott, 1999, ISBN 978-1-57959-060-4
- ↑ Vandevi Hing (Asafetida) http://www.amazon.com/dp/B000JMDJ52
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 2015-03-05.
- ↑ "I Spice: Asafetida". The Washington Post. 23 April 2010. คลั��ข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19.
- ↑ Srinivasan, K.(2005) "Role of Spices Beyond Food Flavoring: Nutraceuticals with Multiple Health Effects", Food Reviews International, 21:2, 167–188
- ↑ S. K. Garg, A. C. Banerjea, J. Verma and M. J. Abraham, "Effect of Various Treatments of Pulses on in Vitro Gas Production by Selected Intestinal Clostridia". Journal of Food Science, Volume 45, Issue 6 (p. 1601–1602).
- ↑ Hemla Aggarwal and Nidhi Kotwal. Foods Used as Ethno-medicine in Jammu. Ethno-Med, 3(1): 65–68 (2009)
- ↑ นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์. "มหาหิงคุ์ ยาเก่าเอามาเล่าใหม่". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ↑ Beaumont, William: Experiments and Observations on the Gastric Juice and the Physiology of Digestion (McLachlan & Stewart, Edinburgh, 1888), p.15
- ↑ "What's in your Acifidity Bag?". สืบค้นเมื่อ 2014-09-16.
- ↑ Lee, CL (August 2009). "Influenza A (H1N1) Antiviral and Cytotoxic Agents from Ferula assa-foetida". Journal of Natural Products. xxx (xx): 1568–72. doi:10.1021/np900158f. PMID 19691312.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Ancient Chinese Remedy May Work for Flu http://www.livescience.com/health/090910-flu-remedy.html
- ↑ "Ferula asafoetida: Traditional uses and pharmacological activity". สืบค้นเมื่อ 2013-05-27.
- ↑ Handbook of Indices of Food Quality and Authenticity. Rekha S. Singhal, Pushpa R. Kulkarni. 1997, Woodhead Publishing, Food industry and trade ISBN 1-85573-299-8. More information about the composition, p. 395.
- ↑ Abstract from Medicinal Plants of the World, Volume 3, Chemical Constituents, Traditional and Modern Medicinal Uses. Humana Press. ISBN 978-1-58829-129-5 (Print) 978-1-59259-887-8 (Online). DOI 10.1007/978-1-59259-887-8_6. Ivan A. Ross. http://www.springerlink.com/content/k358h1m6251u5053/[ลิงก์เสีย]
- Caldecott, Todd (2006). Ayurveda: The Divine Science of Life. Elsevier/Mosby. ISBN 0-7234-3410-7. Contains a detailed monograph on Ferula foetida, F. narthex, F. rubricaulis (Hing; Devil’s Dung; Asafoetida) as well as a discussion of health benefits and usage in clinical practice. Available online at http://www.toddcaldecott.com/index.php/herbs/learning-herbs/358-hingu เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน