มณฑลเจียงซี
เจียงซี (จีน: ; พินอิน: Jiāngxī)[4] หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี[5] เป็นมณฑลหนึ่งในภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือ หนานชาง มีพื้นที่ทอดยาวจากแม่น้ำแยงซีทางทิศเหนือไปยังพื้นที่เนินเขาทางทิศใต้และตะวันออก มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับมณฑลอานฮุย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับมณฑลฝูเจี้ยน ทิศใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ทิศตะวันตกติดกับมณฑลหูหนาน และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับมณฑลหูเป่ย์[6]
มณฑลเจียงซี 江西省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | เจียงซีเฉิ่ง (江西省 Jiāngxī Shěng) |
• อักษรย่อ | JX / กั้น (赣 (Gàn; ภาษาจีนกั้น: Kōm) |
• ภาษาจีนกั้น | Kongsi |
• พินอินภาษาแคะ | Gong1 Si1 Sen3 |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเจียงซี | |
พิกัด: 27°18′N 116°00′E / 27.3°N 116.0°E | |
ตั้งชื่อจาก | ย่อมาจาก 江南西 เจียงหนานชี แปลว่า ตะวันตกของเจียงหนาน |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | หนานชาง |
จำนวนเขตการปกครอง | 11 จังหวัด, 99 อำเภอ, 1549 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หลิว ฉี 刘奇 |
• ผู้ว่าการ | อี้ เลี่ยนหง 易炼红 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 166,919 ตร.กม. (64,448 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 18 |
ความสูงจุดสูงสุด | 2,158 เมตร (7,080 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2013)[1] | |
• ทั้งหมด | 45,200,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 13 |
• ความหนาแน่น | 270 คน/ตร.กม. (700 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 16 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น – 99.7% เชอ – 0.2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกั้น, ภาษาแคะ, ภาษาจีนฮุยโจว, ภาษาอู๋, ภาษาจีนกลางใต้แม่น้ำแยงซี |
รหัส ISO 3166 | CN-JX |
GDP (ค.ศ. 2017)[2] | 2.08 ล้านล้านเหรินหมินปี้ 308.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 16) |
• ต่อหัว | 45,187 เหรินหมินปี้ 6,693 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 20) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.727[3] (สูง) (อันดับที่ 23) |
เว็บไซต์ | http://www.jiangxi.gov.cn/ |
มณฑลเจียงซี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
"เจียงซี" เขียนด้วยตัวอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 江西 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Gan | Kong si | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Kiangsi | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "เจียง[หนาน]ตะวันตก" | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
คำว่า "เจียงซี" มาจากชื่อมณฑลที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังในปี 733 ซึ่งก็คือ เจียงหนานซีเต้า (江南西道; "มณฑลเจียงหนานตะวันตก")[7] ชื่อย่อของมณฑลคือ "กั้น" (赣) มาจากชื่อของแม่น้ำกั้น ซึ่งไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือบรรจบกับแม่น้ำแยงซี เจียงซียังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กั้นผัวต้าเตอ (贛鄱大地) แปลว่า "ดินแดนกั้นและผัวอันยิ่งใหญ่"
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เจียงซีกลายเป็นหนึ่งในฐานทัพในช่วงแรกสุดของคอมมิวนิสต์ และชาวนาจำนวนมากได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมการปฏิวัติของประชาชนที่ก่อตัวมากขึ้น การก่อการกำเริบหนานชางเกิดขึ้นในเจียงซีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1927 ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน ต่อมาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ได้ซ่อนตัวอยู่บริเวณภูเขาทางตอนใต้และตะวันตกของเจียงซี เพื่อหลบซ่อนจากพรรคก๊กมินตั๋งที่พยายามจะกำจัดคอมมิวนิสต์ ต่อมาในปี 1931 รัฐบาลสาธารณรัฐโซเวียตของจีน (Chinese Soviet Republic) ได้ก่อตั้งขึ้นในเมืองรุ่ยจิน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "เมืองหลวงเก่าสีแดง" (红色故都) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เมืองหลวงสีแดง" ต่อมาในปี 1935 หลังจากการปิดล้อมโดยกองกำลังชาตินิยม คอมมิวนิสต์ได้บุกเข้ามาและเริ่มการเดินทัพทางไกลไปยังเมืองหยานอัน
พื้นที่ครึ่งหนึ่งทางทิศใต้ของเจียงซีเป็นเนินเขาและภูเขาสลับกับหุบเขา ภูเขาและเทือกเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภูเขาหลู ภูเขาจิ่งกัง และภูเขาซานชิง ส่วนครึ่งหนึ่งทางทิศเหนือมีระดับความสูงที่ต่ำกว่า และมีแม่น้ำกั้นไหลผ่านมณฑล
ถึงแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ของเจียงซีจะเป็นชาวจีนฮั่น แต่ก็มีความหลากหลายทางภาษา เจียงซีถือเป็นศูนย์กลางของภาษาจีนกั้น และภาษาจีนแคะ ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษากั้นและมีพูดกันในระดับหนึ่ง เจียงซีอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเป็นมณฑลชั้นนำของจีนในด้านแหล่งสะสมแร่ ซึ่งได้แก่ ทองแดง ทังสเตน ทองคำ เงิน ยูเรเนียม ทอเรียม แทนทาลัม และไนโอเบียม
ภูมิศาสตร์
แก้มีลักษณะสำคัญเป็นภูเขา 36% และทิวเขาเล็กทอดยาวต่อกัน 42% ที่เหลือเป็นที่ราบและแม่น้ำ
มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตลอดปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,341 - 1,940 มิลลิเมตร โดยทางใต้ ตะวันออก และเขตภูเขาจะมีฝนตกชุกมากกว่าทางเหนือ ตะวันตก
เขตการปกครอง
แก้มณฑลเจียงซีแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด 11 แห่ง ทั้งหมดมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด
เขตการปกครองของมณฑลเจียงซี | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | อักษรจีน | พินอิน | ภาษากั้น��นอักษรโรมัน | |||||
นครหนานชาง | 南昌市 | Nánchāng Shì | lan31 chɔŋ11 si32 | |||||
นครจิ่งเต๋อเจิ้น | 景德镇市 | Jǐngdézhèn Shì | ćin2 tɛt41 cǝn31 si32 | |||||
นครผิงเซียง | 萍乡市 | Píngxiāng Shì | phin12 śiɔŋ11 si32 | |||||
นครจิ่วเจียง | 九江市 | Jiǔjiāng Shì | ćiu2 kɔŋ11 si32 | |||||
นครซินยฺหวี | 新余市 | Xīnyú Shì | śin11 y31 si32 | |||||
นครยิงถัน | 鹰潭市 | Yīngtán Shì | in11 ? si32 | |||||
นครกั้นโจว | 赣州市 | Gànzhōu Shì | ? cǝu11 si32 | |||||
นครจี๋อัน | 吉安市 | Jí'ān Shì | ćit41 ŋɔn11 si32 | |||||
นครอี๋ชุน | 宜春市 | Yíchūn Shì | ńi31 chun11 si32 | |||||
นครฝู่โจว | 抚州市 | Fǔzhōu Shì | ? cǝu11 si32 | |||||
นครชั่งเหรา | 上饶市 | Shàngráo Shì | sɔŋ32 ? si32 |
นครระดับจังหวัดเหล่านี้แบ่งย่อยเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ ทั้งหมด 100 แห่ง (ประกอบด้วย 23 เขต, 11 นครระดับอำเภอ, และ 66 อำเภอ) และแบ่งย่อยอีกเป็นระดับตำบลทั้งหมด 1,548 แห่ง (ประกอบด้วย 770 เมือง, 651 ตำบล, 7 ตำบลชาติพันธุ์, และ 120 แขวง)
เศรษฐกิจ
แก้เจียงซีมีการทำฟาร์มที่พัฒนาไปไกล นับเป็นผู้ผลิตพืชประเภทข้าวรายหลักแห่งหนึ่งของประเทศ และมีพืชเศรษฐกิจได้แก่ เรพซีด (เมล็ดให้น้ำมันจำพวกมัสตาร์ด) อ้อย ฝ้าย
เจียงซีเป็นแหล่งผลิตแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่ ทังสเตน ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี ไนโอเบียม หินเกลือ และดินสำหรับปั้นหม้อเป็นต้น เครื่องถ้วยชามของจิ่งเต๋อเจิ้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านเครื่องเคลือบดินเผาก็เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกด้วย
ประชากร
แก้มีประชากร 42,840,000 คน ความหนาแน่น 257/ก.ม. จีดีพี 349.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 8160 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
คมนาคม
แก้มณฑลเจียงซีมีระบบการคมนาคมที่สะดวกสบาย ทั้งทางบกและทางน้ำ การขนส่งระบบราง มีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อมณฑลใกล้เคียง อาทิ เจ้อเจียง อันฮุย ฯลฯ ระยะทางกว่า 2,241 กิโลเมตร มีสถานีรองรับผู้โดยสาร 200 สถานี เจียงซีมีชุมทางเส้นทางหลวงอยู่ในเมืองสำคัญ อาทิ หนันชาง กั้นโจว จี๋อัน อู๋โจว อี๋ชุน ฯลฯ เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเส้นทางหลวง ที่มีความยาวรวมกว่า 37,318 กิโลเมตร ทั้งนี้เป็นเส้นทางทันสมัยถึง 30.48%
อ้างอิง
แก้- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 江西省2017年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Jiangxi. 2018-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ "Encyclopaedia Britannica". สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
- ↑ "www.ctoptravel.com". www.ctoptravel.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24.
- ↑ Origin of the Names of China's Provinces เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, People's Daily Online.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์มณฑลเจียงซี เก็บถาวร 2009-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ภาษาจีน)
- "แผนที่ของมณฑลเจียงซีพร้อมคำอธิบาย" จากปี 1573 ถึง 1620
- ข้อมูลทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซี ที่องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง