มณฑลมหาราษฎร์
มณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยามที่แบ่งออกจากมณฑลพายัพในปี พ.ศ. 2458 ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันออกของมณฑลพายัพเดิม
มณฑลมหาราษฎร์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |||||||||
พ.ศ. 2459 – 2469 | |||||||||
แผนที่แสดงหัวเมืองในมณฑลมหาราษฎร์ | |||||||||
เมืองหลวง | แพร่ | ||||||||
การปกครอง | |||||||||
• ประเภท | สมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ | ||||||||
สมุหเทศาภิบาล | |||||||||
• พ.ศ. 2459–2465 | พระยาเพชรรัตน์สงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) (คนแรก) | ||||||||
• พ.ศ. 2465–2466 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ซม โชติกะพุกกณะ) | ||||||||
• พ.ศ. 2466–2469 | พระยาเดชานุชิตสยามมิศร์ภักดี (หนา บุนนาค) (คนสุดท้าย) | ||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | รัตนโกสินทร์ | ||||||||
• แยกออกมาจากมณฑลพายัพ | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 | ||||||||
• ยุบรวมกับมณฑลพายัพอีกครั้งหนึ่ง | 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย |
ประวัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้แยกนครลำปาง นครแพร่ และนครน่าน ออกเป็นมณฑลมหาราษฎร์ เนื่องจากมณฑลพายัพเป็นมณฑลที่มีเมืองใหญ่หลายเมือง และเมืองเหล่านั้นมีท้องที่กว้าง แยกอยู่ตามลุ่มน้ำถึง 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำของ(โขง) ลุ่มน้ำคง(สาระวิน) มีพื้นที่ครอบคลุมทางด้านตะวันออกของมณฑลพายัพเดิม [1] ตั้งสำนักข้าหลวงใหญ่มณฑลที่เมืองนครแพร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มหาอำมาตย์ตรีพระยาเพชรรัตน์สงคราม เป็นสมุหเทศาภิบาล และมหาอำมาตย์โทเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ เป็นอุปราชมณฑลผู้ตรวจตรากำกับราชการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์รวมกันมณฑลพายัพตามเดิม
รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง
แก้เจ้าผู้ครองนครลำปาง
แก้ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
13 | พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | เจ้านครลำปาง | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2440 - 2465 |
14 | เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) | รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปาง | ทิพย์จักร | พ.ศ. 2465[2] - 2468 |
เจ้าผู้ครองนครน่าน
แก้ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
8 | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | พระเจ้านครน่าน | ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | พ.ศ. 2436 - 2461 |
9 | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | เจ้านครน่าน | ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | พ.ศ. 2461 - 2474 |
เจ้าผู้ครองนครแพร่
แก้ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2445
สมุหเทศาภิบาล
แก้ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
1 | มหาอำมาตย์ตรี พระยาเพชรรัตน์สงคราม | สมุหเทศาภิบาลมณฑลมณฑลมหาราษฎร์ | - | พ.ศ. 2458 - 2468 |
อุปราชมณฑล
แก้ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
1 | มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | อุปราชมณฑลมณฑลมหาราษฎร์ | - | พ.ศ. 2458 - 2468 |
โรงเรียนประจำมณฑลมหาราษฎร์
แก้- โรงเรียนชายประจำมณฑลมมหาราษฎร์"พิริยาลัย" ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
- โรงเรียนสตรีประจำมณฑลมมหาราษฎร์"นารีรัตน์" ปัจจุบันคือ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
แหล่งอ้างอิงอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศ เลิกมณฑลเพชรบูรณ์เข้าเป็นเมืองในมณฑลพิษณุโลก และแยกมณฑลพายัพเป็นมณฑลมหาราษฎร์ และมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเป็นผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2013-01-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 เล่มที่ 40 หน้า82