พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Борѝс III ; Boris Treti; 30 มกราคม พ.ศ. 2437 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) (พระนามเต็ม:บอริส คลีเมนต์ โรเบิร์ต มาเรีย ปิอุส ลุดวิก สตานิสเลาส์ ซาเวียร์[1]) เป็นพระโอรสในพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระบิดาทรงสละราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2461 หลังจากความพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรบัลแกเรียในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นการพ่ายแพ้ครั้งที่ 2 หลังจากกองทัพบัลแกเรียพ่ายแพ้ในสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2456 ด้วยสนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ทำให้บัลแกเรียต้องแบ่งดินแดนและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการคุกคามความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดกระแสการต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างมากในช่วงรัชกาลของพระองค์[2]
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย | |
ครองราชย์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย |
ถัดไป | พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |
พระราชสมภพ | 30 มกราคม พ.ศ. 2437 โซเฟีย, ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
สวรรคต | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (49 ปี) โซเฟีย, ราชอาณาจักรบัลแกเรีย |
ฝังพระศพ | ลิลา มอเนสเตรี |
คู่อภิเษก | เจ้าหญิงโจวันนาแห่งซาวอย |
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา |
พระราชบิดา | พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิน-ปาร์มา |
ศาสนา | ศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออทอร์ดอกซ์ |
ลายพระอภิไธย |
ภายใต้การปกครองของพระบิดาผู้เข้มงวด
แก้การรับศีลจุ่มที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง
แก้เจ้าชายบอริสได้ประสูติในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ประเทศบัลแกเรีย เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิน-ปาร์มา พระมเหสีได้ประกาศให้มีการยิงปืนร้อยเอ็ดนัดเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติบุตรองค์แรก ในนาม เจ้าชายบอริสแห่งทูร์นูโว [3]
ในช่วงที่ประสูตินี้บัล���กเรียอยู่ในท่ามกลางปัญหาความซับซ้อนทางการเมือง เนื่องจากเป็นประเทศใหม่ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ นิกายกรีกออร์ทอด็อกซ์ และเคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิออตโตมัน เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิกอย่างแรงกล้า ทำให้ปัญหาทางด้านศาสนาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องแก้ไขในดินแดนนี้[4]
บัลแกเรียกับรัสเซียมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน รัสเซียไม่พอใจกับการเป็นพระเจ้าซาร์ของเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายเยอรมันที่เป็นพันธมิตรกับอังกฤษและพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศส คือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ได้รับการเลือกให้เป็นเจ้าผู้ครองบัลแกเรียซึ่งทรงเกลียดชังรัสเซีย
แต่เจ้าชายบอริส พระโอรสของของพระองค์ทรงแบ็ฟติสท์ตามคาทอลิกแล้ว พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงจริงจังอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนมานับถือออร์ทอด็อกซ์ การแบ็ฟติสท์ในนิกายนี้จะช่วยให้พระองค์ใกล้ชิดกับชาวบัลแกเรียได้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียทรงปฏิเสธที่จะรับรองพระองค์
อย่างไรก็ตามการที่ทรงกระทำเช่นนี้ทำให้เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วยุโรป สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 แห่งโรมันคาทอลิกทรงบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียทรงร้องขอให้เจ้าหญิงมารี หลุยส์ทูลเตือนการกระทำของพระสวามี ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงลังเลพระทัยเล็กน้อยแต่ในที่สุดฝ่ายรัฐชนะ ทำให้พระองค์ทรงยืนยันความคิดเดิม ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารีตนับถือออร์ทอด็อกซ์ และจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (พระโอรสในจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 ซึ่งพระเจ้านิโคลัสทรงอภิเษกสมรสกับพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร) ได้กลายเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าชายบอริส พระเจ้าเฟอร์ดินานด์และเจ้าหญิงมารี หลุยส์ พระมเหสีหลังจากทรงถูกบัพพาชนียกรรม ทรงตัดสินใจให้พระโอรสองค์ที่ 2 คือ เจ้าชายคีริลแห่งบัลแกเรียเข้ารีตโรมันคาทอลิก เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา
การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด
แก้ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2442 หลังจากเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงพระประสูติกาลพระธิดาองค์ที่ 2 คือ เจ้าหญิงนาเด็จดาแห่งบัลแกเรีย พระนางก็สิ้นพระชนม์ [5]ทำให้ทุกพระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูจากพระอัยยิกาคือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แค่พระนางก็สิ้นพระชนม์ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระบิดาจึงทรงเลี้ยงดูและให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง[6]
ครูสอนพิเศษของพระองค์เป็นครูชาวสวิส[7] โดยพระเจ้าเฟอร์ดินานด์จะทรงคัดเลือกครูด้วยพระองค์เองและมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เจ้าชายบอริสทรงศึกษาทุกวิชาในโรงเรียนบัลแกเรีย ทรงสำเร็จการศึกษาในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน [8] ทรงศึกษาต่ออิตาลีและอังกฤษ แม้แต่ภาษาแอลเบเนียก็ทรงสำเร็จการศึกษา พระบิดาของพระองค์ทรงให้ศึกษาวิทยาศสตร์ธรรมชาติ ทำให้พระองค์ศึกษาตลอดชีวิตซึ่งทำให้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ พระบิดาให้พระองค์ศึกษากลศาสตร์เฉพาะหัวรถจักร [9]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2453 ทรงผ่านการสอบวิศวกรรถไฟเมื่อมีพระชนมายุเพียง 15 ชันษา [10]
อย่างไรก็ตามชีวิตในวังนั้นไม่เรียบง่าย พระโอรสธิดาทุกพระองค์ต้องเรียกพระบิดาว่า "ฝ่าบาท" ไม่มีการเรียกพระนามแบบสนิทสนม ทำให้พระโอรสธิดาทรงเก็บกด อารมณ์รุนแรงหรืออ่อนไหวง่าย เมื่อไม่มีภารกิจเจ้าชายบอริสจะไม่ได้ทรงติดต่อภายนอกต้องอยู่ในพระราชวังในสภาพไม่ต่างจากคุก [11]
ทรงเป็นพยานในเหตุการณ์ใหญ่
แก้ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2451 เกิดการขัดแย้งทางการเมืองภายในจักรวรรดิออตโตมัน พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ประกาศตนเป็น "สมเด็จพระเจ้าซาร์" และทรงประกาศอิสรภาพบัลแกเรียจากจักรวรรดิออตโตมันอย่างสมบูรณ์[12]
ในปี พ.ศ. 2454 เจ้าชายบอริสทรงเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวแทนของบัลแกเรียในเวทีโลก[13] เช่น ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอน และพระราชพิธีฝังพระศพสมเด็จพระราชินีมาเรีย เพียแห่งโปรตุเกสที่เมืองตูริน ทำให้มีการติดต่อกับระดับผู้นำประเทศต่าง ๆ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2454 ทรงเข้าเยี่ยมพระบิดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงได้เป็นพยานในเหตุการณ์สำคัญ คือ การลอบสังหารพอยเทอ สตอฟพิน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งทรงเห็นด้วยพระองค์เองที่โรงละครโอเปร่าในเคียฟ
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2455 เจ้าชายบอริสทรงเฉลิมฉลองวันประสูติครบรอบ 18 ชันษา และทรงบรรลุนิติภาวะ ในเดือนเดียวกันพระองค์ได้ดำรงเป็นนายทหารและเป็นนายกองร้อยที่ 6[14] 9 เดือนหลังจากเริ่มต้นสงครามบอลข่านครั้งที่ 1 ที่ซึ่งเซอร์เบีย, กรีซ, มอนเตเนโกรและบัลแกเรียร่วมกันต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันเพื่ออิสรภาพแห่งภูมิภาคมาซิโดเนีย โดยพระองค์ทรงเข้าร่วมรบในแนวหน้าของสมรภูมิ หลังจากได้รับชัยชนะแต่บัลแกเรียไม่ได้ผลประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้บัลแกเรียตัดสินใจเข้าโจมตีอดีตพันธมิตรในพ.ศ. 2456 กลายเป็นสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ซึ่งจบลงด้วยโรคระบาด กองทัพถูกทำลายยับเยินด้วยอหิวาตกโรค[15]
หลังจากเกิดความล้มเหลวทางทหารอย่างมาก ทำให้พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ต้องทรงสละราชบัลลังก์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เจ้าชายบอริสได้ถูกเรียกกลับพระราชวังเพื่อเตรียมตัวสืบราชสมบัติ แต่เจ้าชายทรงปฏิเสธและกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการ เมื่อฝ่าบาทจำเป็นต้องไป ข้าพเจ้าจะไปกับพระองค์" พระเจ้าเฟอร์ดินานด์จึงไม่สละราชสมบัติและให้เจ้าชายบอริสไปศึกษาที่วิทยาลัยการสงคราม
ในปี พ.ศ. 2458 พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ทรงตัดสินใจนำประเทศบัลแกเรียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เจ้าชายบอริสทรงพยายามขัดขวางการตัดสินพระทัยของพระบิดาแต่พระเจ้าซาร์ทรงหยุดพระองค์ไว้ จากนั้นมกุฎราชกุมารได้รับการแต่งตั้งในการมอบหมายพิเศษกับสำนักงานใหญ่ของภารกิจของกองทัพ
ต้นรัชกาล
แก้พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 กษัตริย์แห่งปวงชนบัลแกเรีย
แก้บัลแกเรียในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ ทรงประสบความล้มเหลวทางด้านการทหาร ได้แก่
- สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทำให้เกิดสนธิสัญญาบูคาเรสต์(1913)ที่ซึ่งบัลแกเรียต้องสูญเสียดินแดนและต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาลแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
- สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ซึ่งให้ผลในทางเดียวกันคือ สนธิสัญญานิวอิลี-เซอร์-แซน ทำให้สูญเสียขอบเขตอำนาจของประเทศที่ครอบคลุมถึงทะเลอีเจียน
ประชาชนชาวบัลแกเรียได้หมดความศรัทธาในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ในที่สุดพระองค์ได้สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 เจ้าชายบอริสได้ครองราชสมบัติ พระนามว่า พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย
มีทรงครองราชย์ลางร้ายเริ่มเกิดขึ้น พระองค์ทรงถูกแยกจากพระราชวงศ์ พระองค์ทรงไม่ได้พบกับพระขนิษฐาทั้ง 2 พระองค์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2464 และไม่ได้พบกับพระอนุชาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2469 ผลผลิตไม่ดีในปีพ.ศ. 2460 และพ.ศ. 2461 เกิดพวกฝ่ายซ้ายคือ สหภาพอกราเรียนและพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพวกฝ่ายซ้ายได้ถูกกำจัดในปีพ.ศ. 2462 และยังคงระบอบกษัตริย์ไว้
ยุคไร้อำนาจแห่งเผด็จการ
แก้1 ปีหลังจากทรงครองราชสมบัติ อเล็กซานเดอร์ สแตมบอลิยิสกี้จากพรรคสหภาพประชาชนบัลแกเรียได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเขาจะได้รับคะแนนนิยมจากเหล่าเกษตรกรและชนชั้นกรรมาชีพ นายกรัฐมนตรีแสดงตนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน ในไม่ช้าประธานคณะมนตรีได้จัดตั้งเผด็จการชาวนาขึ้นมาและแสดงตนเป็นปริปักษ์กับเหล่าผู้นำกองทัพระดับสูงและคนชนชั้นกลาง
พระเจ้าซาร์ทรงพยายามให้นายกรัฐมนตรีควรมีความเคารพ พระองค์ทรงพยายามเตือนถึงความทะเยอทะยานของสแตมบอลิยิสกี้ว่ายังคงมีกษัตริย์อยู่แต่ไม่มีอำนาจปกครอง พระองค์ทรงบอกความลับแก่พระญาติว่า "ฉันพบว่าตัวเองนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเจ้าของร้านเครื่องแก้ว ที่ซึ่งเรานำช้างมา ซึ่งทำให้เกิดเศษกระด้างและสนับสนุนความเสียหาย"
ท้ายที่สุดในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2466 การรัฐประหารกลายเป็นสิ่งเลวร้ายและฝ่ายค้านรัฐบาลอกราเรียน[16] หนึ่งในผู้นำการรัฐประหารบัลแกเรีย พ.ศ. 2466 อเล็กซานเดอร์ ซานคอฟ และจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นมาใหม่[17]
ระหว่างรัฐบาลนี้เสถียรถาพของประเทศเริ่มดีขึ้น ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2466 เกิดการลุกฮือในเดือนกันยายนโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ล้มเหลว จึงเริ่มต้นยุคสมัย"หวาดกลัวขาว" ที่ซึ่งผู้ก่อการร้ายและผู้สนับสนุนกลายเป็นเหยื่อมากกว่า 20,000 คน นักการเมืองกว่า 200 คนถูกลอบสังหาร
ในขณะเดียวกันกรีซได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรียจากเหตุการณ์ที่เพทริคที่เป็นกรณีพิพาทกัน และกรีซก็ได้รับการสนับสนุนจากสันนิบาตชาติ ซึ่งกรีซสามารถยึดครองเพทริคได้
การโจมตีจากทั้งสองฝ่าย
แก้ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2468 พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และพระสหายสี่คนได้กลับจากการล่าสัตว์ที่อราโบคอนัก ใกล้เมืองโอฮานี ในขณะที่ทางกลับ ทรงได้ยินเสียงกระสุนปืนจำนวนมาก คนเฝ้าสัตว์ป่าและพนักงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติถูกสังหาร กระสุนปืนทำให้คนขับรถได้รับบาดเจ็บ พระเจ้าบอริสทรงควบคุมรถไว้ได้แต่รถพระที่นั่งได้พุ่งชนกับเสา โชคดีที่มีรถบัสผ่นมาทำให้พระองค์และพระสหายอีกสองคนหลบหนีมาได้ และในวันเดียวกันอดีตนายพลและผู้แทนราษฎร คอนสแตนติน จอร์เจียฟ ได้ถูกลอบสังหาร
3 วันต่อมาที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยาในกรุงโซเฟีย มีพิธีฝังศพอดีตนายพลอาวุโสคอนสแตนติน จอร์เจียฟ ที่ซึ่งมีข้าราชการระด��บสูงบัลแกเรียเข้าร่วมพิธีมากมาย เหล่าคอมมิวนิสต์และพวกอนาธิปัตย์ได้วางแผนที่จะฝังระเบิดที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยา เพื่อปลงพระชนม์พระเจ้าบอริสที่ 3 และสังหารคณะรัฐบาล ได้เกิดการระเบิดขึ้นในช่วงกลางพิธีและมีผู้เสียชีวิต 128 คน ซึ่งรวมทั้ง นายกเทศมนตรีแห่งโซเฟีย, นายพลทั้ง 11 คน, ข้าราชการระดับสูง 25 คน, หัวหน้ากองตำรวจและเหล่าเยาวชนหญิงที่เข้าร่วมพิธี พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ซึ่งต้องเข้าร่วมพิธี บังเอิญในวันนั้นพระองค์ทรงมาสายเพราะทรงไปร่วมพิธีฝังศพพระสหายฮันเตอร์ ผู้ร่วมแผนการระเบิดครั้งนี้ถูกจับ 3,194 คน ถูกประหาร 268 คน
พระเจ้าซาร์ของประชาชน
แก้พระเจ้าซาร์เพื่อประชาชน
แก้ตั้งแต่การครองราชสมบัติของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย พระองค์อุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการพักผ่อน เช่น การเก็บดอกไม่ป่าและจับผีเสื้อหรือทรงศึกษากลศาสตร์ โดยเฉพาะหัวรถจักร พระองค์ทรงเริ่มประพาสทั่วประเทศ ได้แก่ ทรงเข้าเมือง, หมู่บ้าน, โรงงาน, ฟาร์ม และบางครั้งทรงพำนักในบ้านของชาวนาและทรงจัดทำพันธบัตรแก่ประชาชนบัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสทรงปรากฏอยู่ในข่าวเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างฤดูร้อน พ.ศ. 2474 ในขณะที่ทะเลดำสภาพอากาศแปรปรวน พระเจ้าซาร์ทรงขับเรือมอเตอร์ออกไปช่วยเหลือประชาชน 6 คนที่กำลังจมน้ำได้อย่างปลอดภัย ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2477 ระหว่างที่ทรงเดินทางเพื่อไปพักผ่อนอยู่ริมฝั่งทะเลดำ รถไฟของพระองค์เกิดหยุด พระองค์ทรงตกพระทัยรีบต่อเครื่อง พบว่ารถไฟไหม้อย่างรุนแรงจากน้ำมันเครื่องของล้อติดไฟ พระองค์ทรงพยายามให้ผู้โดยสารสงบสติ และทรงควบคุมขบวนรถไฟไปยังสะพานที่ใกล้ที่สุด พระองค์ทรงใช้ทรายเปียกดับไฟและทรงดูแล ควบคุมรถไฟจนถึงเมืองวาร์นา
ในปี พ.ศ. 2469 พระเจ้าซาร์บอริสเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกหลังจากทรงครองราชสมบัติ เสด็จประพาสสวิสเซอร์แลนด์และอิตาลี จนกระทั่ง พ.ศ. 2473 ทรงข้ามไปยุโรปพร้อมกับเจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย พระขนิษฐา แต่ด้วยความเกรงกลัวจะถูกลอบโจมตี พระองค์ทรงใช้นามแฝงว่า "เคานท์สตานิสลาส วอร์ซอ ริลสกี้" และเป็นพระเจ้าบอริสที่ 3 เมื่อพบปะบุคคลสำคัญอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงเข้าร่วมสันนิบาตชาติในสวิสเซอร์แลนด์ ทรงเข้าพบ แกสตัน โดวเมอกูร์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส, พอล ฟาน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมนี, สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม, พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีและทรงล่าสัตว์ร่วมกับพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ยังทรงเข้าพบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนักปรัชญา เฮนรี เบิร์กสัน
ในการเสด็จประชุมครั้งแรกที่โรม ทรงเข้าพบเบนิโต มุสโสลินีครั้งแรก มีพระปฏิสันถารกับเขาว่า "ผมชื่นชมท่านที่มีการจัดการเพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงอิตาลี แต่เผด็จการเป็นระบอบเบ็ดเสร็จนิยมมีความสามารถชั่วคราวเท่านั้น จำคำพูดของบิสมาร์กที่ว่า คุณสามารถทำทุกอย่างด้วยดาบปลายปืนยกเว้นนั่งบนมัน ผมชื่นชมคุณมากขึ้นถ้าคุณออกจากระบอบนี้ด้วยตนเอง แต่เมื่อจำเป็นที่ต้องออก คุณควรให้อำนาจกลับคืนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย"
ซารีนาเพื่อชาวบัลแกเรีย
แก้ในปีพ.ศ. 2470 พระองค์มีพระชนมายุกว่า 30 ปีแล้ว พระเจ้าซาร์บอริสยังไม่ทรงอภิเษกสมรส ทั้งในยุโรปและอเมริกาได้มีการลือมากมายเกี่ยวกับราชินีในอนาคตของบัลแกเรีย ในที่สุดพระองค์ทรงตกหลุมรักเจ้าหญิงชาวอิตาเลียน พระนามว่า เจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอย[18] พระธิดาพระองค์ที่ 3 ใน พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงเอเลนาแห่งมอนเตเนโกร หลังจากพระราชพิธีอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารอุมแบร์โตแห่งอิตาลีกับเจ้าหญิงมารี-โจเซแห่งเบลเยียม พระเจ้าซาร์บอริสได้ขอเจ้าหญิงจีโอวันนาอภิเษกสมรส
แต่เรื่องของนิกายทางศาสนาทำให้เกิดปัญหาขึ้น โดยรัฐธรรมนูญบัลแกเรียได้เขียนไว้ว่า รัชทายาททุกพระองค์ต้องเป็นนิกายออร์ทอด็อกซ์ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงต้องการให้พระโอรสธิดาที่ประสูติเข้ารีตโรมันคาทอลิก พระเจ้าซาร์ทรงไม่ยินยอม พระสันตปาปาได้เตรียมบัพพชนียกรรมพระเจ้าซาร์บอริส แต่พระคาร์ดินัลด์ อันเจโล จิอูเซปเป รอนกัลลีซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้ห้ามปรามพระสันตปาปาไว้ พระเจ้าซาร์บอริสจึงทำข้อตกลงกับพระสันตปาปา
ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นแบบคาทอลิกที่อาซิซิ ประเทศอิตาลี และต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน จัดแบบออร์ทอด็อกซ์ที่กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย ทั้ง 2 พระองค์ทีพระโอรสและธิดารวมกัน 2 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบัลแกเรีย ประสูติ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 ทรงอภิเษกสมรสกับ
- ในปี พ.ศ. 2500 เจ้าชายคาร์ลแห่งเลนนินเกน มีพระโอรสธิดารวมกัน 2 พระองค์
- ในปี พ.ศ. 2512 บรอนิสลอว์ โครว์บอก มีพระโอรสธิดารวมกัน 2 พระองค์
- พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ประสูติ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2480 เป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 – 15 กันยายน พ.ศ. 2489 ได้ลี้ภัยไปยังสเปน และได้กลับมายังบัลแกเรียในปี พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย
ทั้งสองพระองค์ได้ตัดสินใจที่จะให้พระโอรสและธิดาทำพิธีแบ็ฟติสท์และมีพระนามแบบออร์ทอด็อกซ์ ทำให้ทางวาติกันประท้วงและกล่าวว่า
"พระเจ้าซาร์ต้องลงนามในสัญญาเพื่อทำพิธีล้างบาปเจิมน้ำมนต์และตั้งชื่อลูก ๆ ของเขาให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หากไม่ทำตาม พระองค์ต้องยอมรับในสิ่งที่ทรงตอบตามมโนธรรมของพระองค์เอง" และซารีนาจีโอวันนาจะไม่ถูกบัพพาชนียกรรม
อำนาจเต็มแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์
แก้ขึ้นสู่อำนาจ
แก้บัลแกเรียในยุคนี้เป็นยุคที่ต่างจากยุคอื่นมาก ถ้าสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศสูงขึ้น จะส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจจนถึงขั้นวิกฤต ผลผลิตลดลงถึง 40% ในเวลาเพียง 2 ปีและอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 200,000 คนจากประชากรทั้งหมด 7 ล้านคน ได้มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2474 ประชาชนผิดหวังมากเพราะบุคคลที่เลือกไปไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งสภาเทศบาลในปี พ.ศ. 2475 พรรคคอมมิวนิสต์ได้คะแนนเสียงในเมืองหลวงโซเฟียแต่สภาถูกสลายอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาล
สถานการณ์แย่ลงทุกวัน กลุ่มปัญญาชนและกลุ่มทหารซเวโน ได้ทำการรัฐประหารในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2477[19] พันเอกดาเมียน วาลเชฟและพันเอกจอร์เจียฟ คิมอน เป็นผู้ดำเนินการ พระเจ้าซาร์บอริสทรงถูกบีบบังคับให้ลงพระนามยอมรับรัฐบาลใหม่ รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเผด็จการทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและได้ประกาศเป็นศัตรูกับราชสำนักและสนับสนุนการจัดตั้งสาธารณรัฐ
พระเจ้าซาร์บอริสตัดสินใจที่จะนำอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2478 8 เดือนหลังจากจอร์เจียฟยึดอำนาจ พระเจ้าซาร์ได้แต่งตั้งนายพลเพนโช สลาเตฟ ทำหน้าที่ "ล่าพวกสาธารณรัฐ" และปฏิรูปรัฐบาลใหม่[20] พระองค์ได้เข้ามาในการเมือง ทำให้พระองค์ได้อำนาจที่แท้จริงในการปกครอง
การจัดตั้งพระราชอำนาจเผด็จการ
แก้การครองอำนาจของพระเจ้าซาร์บอริสในช่วงต้น เป็นการก่อจั้งรัฐบาลของจอร์เจียฟ คิมอน รัฐบาลชุดใหม่นั้ได้ประกอบด้วย 3 นายพล, สมาชิกจากพรรคต้องห้ามทั้ง 3 คือ พรรคเกษครกร, พรรคประชาธิบไตยแลสกอวอร์ และพรรค Agreement และสมาชิกจาก 3 คณะพลเรือน
พระเจ้าซาร์ทรงลดอำนาจและบทบาททางการทหาร พระองค์ได้เสริมสร้างอำนาจแก่พระองค์เองและจัดตั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แผนใหม่ ซึ่งคือ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการทหาร กลุ่มทหารซเวโนและรับอบรัฐสภาแบบดั้งเดิม
ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2479 เสรีภาพแห่งฝูงชนและสิทธิในการรวมกลุ่มทางการเมืองได้รับการฟื้นฟูแต่เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมืองยังคงห้าม การเลือกตั้งเทศบาล พ.ศ. 2480 ได้ให้สิทธิการลงคะแนนเสียงแก่สตรีที่สมรสแล้วและเยาวชน ในปีพ.ศ. 2481 สมัชชาแห่งชาติบัลแกเรียได้รับการฟื้นฟูและมีการเลือกตั้งขึ้น แต่สมัชชาไม่ได้มีอำนาจที่แท้จริง ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มของพระเจ้าซาร์บอริส ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 พระองค์ปฏิเสธที่จะไว้วางใจคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี จอร์กี คียอเซอิวานอฟ ทำให้เขาจำเป็นต้องปรับคณะรัฐมนตรีของเขา
นโยบายต่างประเทศผิดแปลก
แก้การสร้างสัมพันธไมตรีกับนาซีเยอรมนี
แก้จากสนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ ทำให้กองทัพบัลแกเรียเป็นอันตรายและหลายครั้งที่รัฐบาลต้องการการแก้ไข ในปีพ.ศ. 2478 ได้เผชิญหน้ากับตุรกี เพื่อป้องกันช่องแคบที่ เธรซทางตะวันตก เมื่อขอบเขตแดนถูกรุกล้ำ บัลแกเรียได้เตรียมทำการโจมตีโดยมีมหาอำนาจยินยอม บัลแกเรียได้หันไปพึ่งฝรั่งเศส, อังกฤษ และเยอรมนี เพื่ออาวุธที่ทันสมัย จักรวรรดิไรช์ที่สามได้ตอบรับพร้อมข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในขณะที่รับข้อเสนอพระเจ้าซาร์บอริสทรงพยายามไม่มีสัญญาณที่ผูกมิตรกับทหารเยอรมัน
ในเชิงพาณิชย์ นาซีเยอรมนีได้ค้นหาประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตเกี่ยวกับอาหารและบัลแกเรียมีทรัพยากรมาก ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจกันทั้ง 2 ประเทศ บัลแกเรียส่งออก 70% แม้จะมีการเจริญเติบโตของฝ่ายประชาชนที่พระองค์ทรงกลัว บัลแกเรียได้อยู่ภายใต้การครอบงำของเยอรมันตามที่ทรงคาด พระองค์จึงพยายามหันไปหาประชาธิปไตยตะวันตก
นโยบายทางการทูตของพระเจ้าซาร์
แก้ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 พระเจ้าซาร์บอริสและนายกรัฐมนตรี จอร์กี คียอเซอิวานอฟ พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาธิปไตยตะวันตก พระองค์เสด็จไปฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งเพื่อรองรับประชาธิปไตยแต่ไม่สำเร็จด้านสัญญาการค้า ในช่วงหนึ่งทรงเดินทางไปอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2481 พระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิลล์ แซมเบอร์เลน เกี่ยวกับวิกฤตชูเดเตน พระองค์ทรงทราบว่า ฟือเรอห์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์รู้สึกเห็นใจเขาและได้มีบทบาทเป็นตัวกลางในกิจการของพระองค์ในเยอรมนี ซึ่งพระองค์ได้พบปะเป็นการลับกับฟือเรอห์ หลังจากการพบปะนี้พระองค์ทรงเขียนถึงเลขาธิการที่จะใช้คำแนะนำการติดต่อโดยตรงกับฮิตเลอร์และกำหนดขอบเขตแคว้นชูเดเตน
ในปี พ.ศ. 2478 ในระหว่างการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอิตาลีโดยสัมพันธมิตร ในกรณีที่อิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปีย พระเจ้าซาร์บอริสทรงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการคว่ำบาตรอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เตือนพระองค์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์บัลแกเรียและอิตาลี พระองค์ทรงตอบกลับว่า "ผมไม่ต้องการดำเนินนโยบายโดยใช้ความรู้สึกต่อพ่อแม่ภรรยาผม"
สำหรับค��ามสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในกลุ่มบอลข่านนับว่าตึงเครียดยิ่งกว่า บัลแกเรียได้ปฏิเสธที่เกี่ยวข้องกับ "ข้อตกลงบอลข่าน" โรมาเนีย, ยูโกสลาเวีย, ตุรกี และกรีซได้กำหนดข้อตกลงขึ้นเพื่อไม่ให้บัลแกเรียเกิดลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน โดยข้อตกลงนี้บังคับให้บัลแกเรียยอมรับสภสพที่เป็นอยู่ ทำให้ต้องยอมแพ้ทางพฤตินัย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ สัญญามิตรภาพระหว่างบัลแกเรียและยูโกสลาเวียลงนามในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2480
เมื่อสงบ พระเจ้าซาร์บอริสทรงมั่นใจได้ว่าลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนของบัลแกเรียสามารถแก้ไขได้ผ่านช่องทางการทูตและจะเพิ่มขึ้นด้วยการสนับสนุนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นกลาง
แก้ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความคิดเห็นในสาธารณะระหว่างการสนับสนุนเยอรมนี ซึ่งสัญญาจะจะได้รับอาณาเขตที่เสียไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเห็นใจฝ่ายที่ต่อต้านฝ่ายอักษะ พระเจ้าซาร์บอริสทรงกล่าวในปีพ.ศ. 2483 ว่า "นายพลของข้าคือผู้นิยมเยอรมัน ข้าคือผู้นิยมนโยบายอังกฤษ,พระราชินีและพสกนิกรคือผู้นิยมอิตาลีและผู้นิยมรัสเซีย ดังนั้นข้าบัลแกเรียเป็นกลาง"
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 ฮิตเลอร์ประสบความสำเร็จ พระเจ้าซาร์บอริสทรงเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรีบ็อกดาน ฟิลอฟ ซึ่งนิยมเยอรมัน หลังจากการเข้าพบฮิตเลอร์ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พระองค์ทรงบอกว่า โรมาเนียมีแนวโน้มที่จะยึดครองโดบรุลยา ดังนั้นหลังจากเจรจาโดบรุลยาใต้ถูกคืนสู่บัลแกเรียในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยสนธิสัญญาคราอิโอวา พระองค์ทรงส่งผลของสนธิสัญญาให้กับฮิตเลอร์, มุสโสลินี และรวมทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสด้วย
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 มุสโสลินีได้เชิญพระองค์ให้ร่วมในสงครามอิตาลี-กรีซ ซึ่งทำให้บัลแกเรียได้รับพื้นที่ถึงทะเลอีเจียนแต่พระองค์ปฏิเสธคำเชิญ ในทำนองเดียวกันแม้จะมีแรงกดดันที่ว่าซาร์ทำให้ฮิตเลอร์ไม่ประสบความสำเร็จ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 บัลแกเรียได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาไตรภาคี พระเจ้าซาร์ทรงต้องการที่จะเป็นกลางและตามคำเชิญของฟือเรอห์ พระองค์ตอบว่า "ไม่ตอนนี้" ทัศนคติของพระองค์ตอนนี้ทำให้ได้ชื่อเล่นจากฮิตเลอร์ว่า"จิ้งจอกเขี้ยวลากดิน"
ความกังวลเกี่ยวกับการพบปะกับฮิตเลอร์ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน สหภาพโซเวียตเสนอพระเจ้าซาร์บอริสให้เป็นสัญญาทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ พระเจ้าซาร์ปฏิเสธ นาซีได้ย้ำอีกครั้งถึงสนธิสํญญาไตรภาคีแต่พระองค์ทรงปฏิเสธไปทั้งหมด
พันธมิตรที่ผิดแปลก
แก้เยอรมนี พันธมิตรใหม่
แก้ในเดือรมกราคม พ.ศ. 2484 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ช่วยเหลือเบนิโต มุสโสลินี หลังจากกรีทาทัพเข้ายึดกรีซ กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนทัพผ่านโรมาเนียและได้เคลื่อนทัพต่อไปยังบัลแกเรีย พระเจ้าซาร์บอริสทรงถูกบังคับให้ร่วมสนธิสัญญาไตรภาคี โดยบ็อกดาน ฟิลอฟเป็นผู้ลงนามในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 และในวันเดียวกันกองทัพเยอรมนีได้เข้าสู่บัลแกเรีย
พระเจ้าซาร์บอริสทรงปฏิเสธที่เจ้าเข้าร่วมดำเนินการทางทหาร แต่เยอรมันได้ขอกำลังบัลแกเรียในวันที่ 19 และ 20 เมษายน กองทัพบัลแกเรียสามารถยึดครองเทรซและมาซิโดเนีย ซึ่งเยอรมันยังมีปัญหากับลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน ทำให้บัลแกเรียเป็นผู้ดูแลประเทศในแถบบอลข่าน ชาวบัลแกเรียได้ให้ขนานนามพระเจ้าซาร์ว่า "ผู้รวมแผ่นดิน"
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ราชอาณาจักรบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
ชาวยิวในบัลแกเรีย
แก้ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้วางแผนก่อตั้งองค์กรยุวชน เบรนนิกซึ่งเป็นแรงบันดาลใจจากฮิตเลอร์ แต่สี่วันก่อนหน้ารัฐสภาโหวตกฎหมาย "การป้องกันชาติ" ผ่ายต่อต้านเซมิติกได้เสนอมาตรการซึ่งมีผลต่อชาวยิวในประเทศ 50,000 คน แต่แผนการนี้ได้ถูกคัดค้าน ในปี พ.ศ. 2483 กลุ่มต่อต้านเซมิติไม่ได้อยู่ในบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามมาตรการของกลุ่มได้รับการตอบรับในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2484
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 ฮิตเลอร์ได้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับ "ปัญหาพวกยิว" แผนการนี้ได้ใช้ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ข้าหลวงของชาวยิวได้ถูกโจมตี ในการจัดการขั้นต้น ได้มีการประกาศเคอร์ฟิว, บุกตรวจบ้านเรือน, ลดการแบ่งปันอาหารแก่ชาวยิว, ให้ชาวยิวปักดาวสีเหลือง ในขั้นต่อมาได้มีการส่งชาวยิวเข้าค่ายกักกัน โดยได้รับการปรึกษาจากนาซีเยอรมนีหน่วย SS ธีโอดอร์ เดนเน็คเกอร์
มีการเริ่มต้นการส่งชาวยิว 11,363 คนสู่ค่ายกักกัน โดยเป็นชาวยิวจากดินแดนที่บัลแกเรียครอบครองคือในเทรซและมาซิโดเนีย เมื่อแผนขั้นต้นสำเร็จจึงมีการกวาดล้างชาวยิวในบัลแกเรีย ได้มีการประท้วงรุนแรงจากรองประธานสภา ดิมิทาร์ เปเชฟและอาร์คบิชอปสเตฟานที่เป็นสัญลักษร์ในการเคลื่อนไหวช่วงแรก
ในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลมีแผนการที่จะกำจัดประชาชนที่ต่อต้าน ประชาชนได้ถูกส่งเข้าค่ายกักกันที่ซึ่งก่อตั้งใกล้พระราชวังของซาร์ ได้มีการกักขังประชาชนกว่าแสนคน พระเจ้าซาร์ทรงมีดำริเหมือนประชาชนคือการไม่กักกันชาวยิว ฮิตเลอร์ได้โกรธและกล่าวว่า"ยิวไว้สำหรับดูแลข้างถนน" ชาวยิวจำนาวนมากได้หลบหนีออกจากค่ายกักกันในบัลแกเรีย
การสวรรคตอย่างลึกลับและกะทันหัน
แก้ในปี พ.ศ. 2486 สงคามใกล้ถึงจุดเปลี่ยนที่สตาลินกราด เยอรมันเริ่มเพลี่ยงพล้ำ พระเจ้าซาร์บอริสทรงตระหนักถึงเรื่องนี้ดีและต้องการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเช่นเดียวกันกับพระบิดา เมื่อ 25 ปีก่อน พระองค์ทรงติดต่อกับอเมริกาอย่างเป็นการลับ
ฮิตเลอร์ได้รู้ถึงการติดต่อนี้ ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2486 เขาได้เรียกพระองค์มาที่ศูนย์บัญชาการแนวรบด้านตะวันออกใกล้กับราสเตนเบิร์ก ในปรัสเซียตะวันออก การพบปะกันเป็นการขัดแย้งที่สุด ฮิตเลอร์ได้เตือนถึงบุญคุณของเขาที่มีต่อพระองค์ที่เยอรมนี มันเป็นความจริงว่าตั้งแต่เริ่มต้นของสงครามที่บัลแกเรียไม่ได้เกี่ยวข้องมากในความขัดแย้ง
ฮิตเลอรืพยายามชักจูงพระองค์และจะให้ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นทางภาคใต้และตะวันตกเพื่อต่อต้านการขยายตัวของสหภาพโซเวียต พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับ พระองค์ทรงกลับในวันถัดไปไปที่กรุงโซเฟียกับเครื่องบินของเยอรมัน 9 วันหลังจากเสด็จกลับ พระเจ้าซาร์บอริสทรงอาเจียนอย่างรุนแรงและเสด็จสวรรคตในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 สิริพระชนมายุ 49 พรรษา
การเสด็จสวรรคตของพระองค์ยังเป็นที่โต้แย้งกันมาก บางคนกล่าวโทษฮิตเลอร์ แม้พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายค��ริลแห่งบัลแกเรียทรงประกาศถึงการสวรรคตของพระองค์ในปี พ.ศ. 2488 ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษระหว่างเสด็จกลับทางเครื่องบิน แต่การชันสูตรพระศพแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าซาร์บอริสทรงหัวใจวายจากอาการที่ทรงเครียด
ชาวบ้านในพื้นที่โอซอยได้แกะสลักไม้แล้วนำไปตั้งที่หน้าสุสานของพระองค์ที่สำนักปฏิบัติธรรมริลา ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ข้อความเขียนว่า
"สำหรับกษัตริย์บอริสผู้กู้อิสรภาพ, มาซิโดเนียขอขอบคุณ"
บัลแกเรียหลังการสวรรคตของพระองค์
แก้หลังจากพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 สวรรคต พระโอรสของพระองค์ซึ่งพระชนมายุ 6 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่า พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย โดยมีเจ้าชายคิริล ผู้เป็นเสด็จอาเป็นผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ รัฐบาลได้ประกาศเป็นกลางในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่ช้าเกินไป สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย
ในวันต่อมา ฝ่ายจลาจลได้นำกำลังบ้านเกิดเมือนนอนโดนมีการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์และซเวโน รัฐบาลใหม่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีจอร์เจียฟ คิมอน ได้กวาดล้างผู้ต่อต้านถึง 16,000 คน และต่อมาได้มีการประหาร 2,730 คน อันประกอบด้วย เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรีย และคณะผู้สำเร็จราชการ, อดีตรัฐมนตรี 22 คน, ผู้แทนราษฎร 67 คน, ที่ปรึกษาพระราชวงศ์ 8 คนและเจ้าหน้าที่ระดับสูง 47 คน ผู้คนเหล่านี้ได้ถูกกวาดล้างโดยรัฐบาลที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลได้โจมตีสถาบันกษัตริย์และบังคับเนรเทศไปยังสเปน
อย่างไรก็ตามแม้คอมมิวนิสต์จะกุมอำนาจทั้งหมดและทำการลบรอยประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกเรื่องราวของพระเจ้าซาร์ ประชาชนบัลแกเรียยังจดจำภาพลักษณ์ของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 หลังจากคอมมิวนิสต์หมดอำนาจไปแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการฉลองครบรอบ 50 ปีการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 โดยมีการฝังที่สำนักปฏิบัติธรรมริลาอีกครั้งหลังจากที่เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้จงรักภักดีต้องเคลื่อนย้ายพระศพไปที่ลับเพื่อหลบภัยคอมมิวนิสต์
พระราชตระกูล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Pachanko Dimitrov, "Boris III tsar des Bulgares (1894-1943). Travailleur, citoyen, tsar", Sofia, Ed. Universitaire "Sveti Kliment Ohridski", 1990 (Пашанко Димитров, "Борис ІІІ цар на българите (1894-1943). Труженик, гражданин, цар", София, УИ "Свети Климент Охридски", 1990)]
- ↑ Ludendorff, E. (1919). Ludendorff's Own Story, August 1914-November 1918: The Great War from the Siege of Liège to the Signing of the Armistice as Viewed from the Grand Headquarters of the German Army. Harper. ISBN 9780836959567. สืบค้นเมื่อ 15 September 2015.
- ↑ Dimitrina Aslanian, Histoire de la Bulgarie de l'Antiquité à nos jours p.246]
- ↑ ibid p.232-233
- ↑ ibid p.257
- ↑ ibid p.299
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.15
- ↑ Données p.5 de Zagreb-Sofia : Une amitié à l’aune des temps de guerre 1941-1945
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.16-17
- ↑ ibid. p.213
- ↑ ibid. p.24
- ↑ Dimitrina Aslanian, Histoire de la Bulgarie de l'Antiquité à nos jours p.273
- ↑ Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.24
- ↑ Nikolaĭ Petrov Nikolaev, La destinée tragique d’un roi. p.119
- ↑ ibid. p.120
- ↑ Tsar's Coup Time, 4 February 1935. retrieved 10 August 2008.
- ↑ Balkans and World War I เก็บถาวร 12 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SofiaEcho.com
- ↑ "Royal Wedding At Assisi 1930". British Pathe News.
- ↑ Tsar's Coup Time, 4 February 1935. retrieved 10 August 2008.
- ↑ Balkans and World War I เก็บถาวร 12 กรกฎาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SofiaEcho.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Tsar Boris III Honored by the United States Congress. TsarBoris III, Savior of Bulgarian Jewry[ลิงก์เสีย]
- Tsar Boris III, concealed savior of the Bulgarian Jews
- The Case of Tsar Boris III, Unsung Hero of the Holocaust
- "The Rescue of the Bulgarian Jews during World War II". สืบค้นเมื่อ 15 September 2015 – โดยทาง Scribd.
- Tsar Boris III, Savior of the Bulgarian Jews[ลิงก์เสีย]
- Historical photographs of the royal palace in Sofia
- Empty Boxcars ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Empty Boxcars Vimeo
- Wayback Machine Saving Bulgaria's Jews: An analysis of social identity and the mobilisation of social solidarity
- "Guide to Jewish Bulgaria" by Dimana Trankova & Anthony Georgieff, Sofia, 2011;
- กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย ในหอจดหมายเหตุข่าวสารคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของ ZBW
ก่อนหน้า | พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย | พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย (บัลแกเรีย) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486) |
พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |