พระอัศวิน (สันสกฤต: अश्विन्, อักษรโรมัน: Aśvin, แปลตรงตัว'ผู้ครอบครองม้า') เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส และ ดีมอส, ฮิปนอส และ ทานาทอส, แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ เป็นต้น[3]

พระอัศวิน
เทพแห่งสุขภาพและยา
ชื่ออื่นAshwini Kumara, Ashvinau, Nasatya, Dasra
ส่วนเกี่ยวข้องเทวะ
พาหนะGolden Chariot
คัมภีร์ฤคเวท, มหาภารตะ, ปุราณะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองSūryā[1][2]
บุตร - ธิดานกุล (spiritual son)
สหเทพ (spiritual son)
บิดา-มารดา
พี่น้องRevanta, เจ้าแม่ยมนา, พระยม, พระมนูไววัสวัต, พระศนิเทพ, กรรณะ, นางทัปตี และSavarni Manu
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกDioskuri
เทียบเท่าในBalticAšvieniai, Dieva Dēli

พระอัศวินเป็นพระโอรสของพระอาทิตย์ กับนางสัญญา นางสัญญาต้องการจะหนีพระอาทิตย์ไปบวชอยู่ในป่า จึงแปลงร่างเป็นม้าเพศเมีย แต่พระอาทิตย์ก็ยังแปลงร่างเป็นม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยจนเกิดเป็นพระอัศวินขึ้นมา

พระอัศวิน เป็นเทพที่ประทานนำทรัพย์ต่าง ๆ มาให้มนุษย์ และยังปกป้องมนุษย์จากภัยอันตรายต่าง ๆ จนถึงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะพระอัศวินยังมีหน้าที่เป็นแพทย์สวรรค์ด้วย

พระอัศวิน ยังเป็นเทพแห่งแสงสว่าง ทั้งคู่จะขับรถม้านำหน้าราชรถของพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง พระอัศวินได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งในคัมภีร์นั้นมีการกล่าวถึงพระนามของพระอัศวินถึง 400 ครั้ง

ในมหากาพย์รามายณะ ทวิวิท และ แมนทะ ทหารวานร ของพระรามเป็นบุตรของพระอัศวินทั้งคู่

ในมหากาพย์มหาภารตะ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีลูกกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน) [4]

อ้างอิง

แก้
  1. Kramisch & Miller 1983, p. 171.
  2. Jamison & Brereton 2014, p. 48.
  3. Mallory, J.P; Adams, D.Q. (2006). The Oxford Introduction to Proto-Indo-European and the Proto-Indo-European World. Oxford, England: Oxford University Press. p. 432. ISBN 978-0-19-929668-2.
  4. "อัศวิน". พจนานุกรมออนไลน์ อังกฤษ-ไทย.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้