วังไกลกังวล เป็นวังในพื้นที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่พระราชฐานที่ดูแลโดยสำนักพระราชวัง สำหรับเป็นรโหฐานที่ประทับแปรพระราชฐานในต่างจังหวัด

วังไกลกังวล
แผนที่
ชื่อเดิมสวนไกลกังวล
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทวัง
ที่ตั้งตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน
เมือง ประจวบคีรีขันธ์
ประเทศ ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2469
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

ประวัติ

แก้

วังไกลกังวลสร้างขึ้นตามรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7)โดยทรงพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากพระคลังข้างที่ ให้สร้างขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469 เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานในขณะนั้นเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เพื่อใช้งานในการแปรพระราชฐานมาพักในจังหวัดริมทะเล

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกพระนามเรียกวังแห่งนี้ว่า "สวนไกลกังวล" ทรงเอาแบบอย่างชื่อมาจากพระราชวังซ็องซูซีในประเทศเยอรมนีซึ่งมีความหมายเดียวกัน ทรงสมโภชขึ้นตรงวังเมื่อ พ.ศ. 2472 เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระบรมราชโองการประกาศยกเป็นพระราชวัง ดังนั้น จึงยังคงเรียกว่า วังไกลกังวล[1]

พระตำหนักและอาคารประกอบ

แก้

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงใช้วังไกลกังวลเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงออกนามเรียกวังแห่งนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "ทองแดง" ไว้ว่า "วังไกลกังวล"

ปัจจุบัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จมาประทับที่วังไกลกังวลอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง อยู่ระหว่างบูรณะซ่อมแซม

การเข้าเยี่ยมชม

แก้

ก่อนปี พ.ศ. 2549 มีการบูรณะส่วนต่างและให้เข้าได้เฉพาะในสวนสาธารณะเท่านั้น โดยต้องตรวจบัตรประชาชน สามารถเข้าใช้ออกกำลังกายและใช้สถานที่ได้เฉพาะเวลาเย็นเท่านั้น[3]

ปัจจุบัน ไม่ได้เปิดให้เข้าเยี่ยมชมแล้ว[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

แก้
  1. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม เก็บถาวร 2014-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า 16 จากเวปไซต์ราชบัณฑิตยสถาน
  2. "ความเป็นมาของศาลาราชประชาสมาคม". แนวหน้า. 5 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2024.
  3. ประกาศการใช้ที่พื้นที่สาธารณะในสวนสาธารณะทะเลน้อย[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

12°35′18″N 99°57′18″E / 12.588439°N 99.955121°E / 12.588439; 99.955121