พระพนัสบดี ศรีทวารวดี

พระพนัสบดี ศรีทวารวดี เป็นพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพรหมทินใต้ ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

พระพนัสบดี ศรีทวารวดี
ชื่อเต็มพระพนัสบดี ศรีทวารวดี วัดพรหมทินใต้
ชื่อสามัญพระพนัสบดี
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะกริยาทรงแสดงธรรม ศิลปะทวารวดี หมวดพระพนัสบดี
ความกว้าง24 เซนติเมตร
ความสูง21 เซนติเมตร
วัสดุแกะสลักจากหินสีดำ
สถานที่ประดิษฐานพระพนัสบดี ศรีทวารวดี ประดิษฐาน ณ วัดพรหมทินใต้ หมู่ที่ 11 ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ความสำคัญพระพุทธรูปสำคัญ ของ วัดพรหมทินใต้ จังหวัดลพบุรี
หมายเหตุพนัสบดี ศรีทวารวดีเป็นพระพุทธรูปที่มีเพียงองค์เดียวในจังหวัดลพบุรี
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

ขุดพบบริเวณที่มีการก่อสร้างศาลาการเปรียญในปีพ.ศ. 2535 แกะสลักจากหิน สีดำ สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี มีอายุประมาณ 1200-1300 ปี ประดิษฐานที่วัดพรหมทินใต้ วันที่ 17 มิถุนายน 2535 ���างวัดได้ติดต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ซึ่งขอเครื่องจักรกลมาขุดบ่อวัด และได้พบหินที่มีลักษณะแปลกประหลาดในวันที่ 17 มิถุนายน 2535 ทางวัดได้ทำการติดต่อกับหัวหน้ากรมศิลปากร จังหวัดลพบุรี และได้ทำการตรวจสอบดูแล้วพบว่า สิ่งที่ขุดพบนั้นมือชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ อายุประมาณ 1200-1300 ปี เป็นศิลปะที่มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะมอญ ในภาคกลาง ระหว่าง พ.ศ. 1000-1150 ปี เป็นพระพุทธรูป ที่แปลกกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ เพราะแกะสลักจากหินสีดำเนื้อละเอียดฝีมือประณีต ประทับยืนบนหลังสัตว์ ประหลาดที่ไม่มีในโลก เพราะเป็นสัตว์ที่สร้างขึ้นจากจินตนาการของพุทธศนิกชน ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพุทธศาสตร์พรหมศาสตร์และปฏิมากรรมศาสตร์โดยแท้

การค้นพบ

แก้

ก่อนที่ทางวัดจะขุดค้นพบพระพุทธรูป องค์นี้นั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งเป็นชาย ชื่อว่านายทอง โพธะนัน ได้ฝันเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์นี้และรุ่งเช้าได้นำวัวมาเลี้ยงที่วัด และได้ขุดบริเวณที่ตนฝันถึงแต่ก็ไม่พบสิ่งใด และที่น่าแปลกใจว่ายิ่งขุดเมื่อใดยิ่งรู้สึกง่วงนอนรู้สึกไม่อยากขุดต่อ พระพุทธรูปรูปนี้นั้นขุดพบบริเวณศาลาการเปรียญหลังใหม่ของวัดพรหมทินใต้

 
บริเวณที่ขุดค้นพบพระพนัสบดี ศรีทวารวดี ประมาณปี 2535

รูปร่างและลักษณะเฉพาะองค์

แก้

ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้นั้นนับว่าแตกต่างจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆที่เราเคยเห็นมารูปร่างลักษณะเป็นพุทธศิลป์ประยุกต์ที่ประยุกต์ฝีมือมาจากการแกะสลักหิน มาจากอินเดีย ตามแบบศิลปะสมัยราชวงศ์ปาละ (พุทธศตวรรษที่ 10-15) องค์ประทับยืนจีวรห่อคลุม ดวงพระพักตร์ละม้านใบหน้าของชนพื้นเมืองในสมัยนั้น ซึ่งคนทวารวดี มีรูปร่างไม่สูงใหญ่กว่าคนปัจจุบัน ไม่อ้วน ไม่ผอม ดวงหน้ามีทั้งกลมและสี่เหลี่ยม ริมฝีปากหนา ปลายคิ้วจรดเข้าหากันที่สันจมูก บางคนผมหยิก ทั้งชายและหญิง มีทรงผมแปลก พระเกศหมุ่นพระกรรณยาจรดพระพาหาพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกตั้งฉากกับพระวรกายจีบพระ องคุลี เหนือพระถันทั้งสองเป็นกริยิแสดงธรรม ความสูงจากพระบาทถึงพระเกศ 21 ซ.ม.

พาหนะที่ทรงประทับ

แก้

สัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปน โต แก้มเป็นกระพุ้ง จะงอยปากใหญ่ งุ้มแข็งแรง ปากจะงอยมีรูทะลุคล้ายกับจะแขวนกระดิ่งได้ มีเขาทั้งคู่บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค ตั้งอยู่เหนือตา ที่โคนเขามีหูสองหู อย่างหูโค มีปีสองข้างขนาดใหญ่ ขาทั้งสองข้างพับแนบทรวงอก อกเชิดขึ้นอย่างขาของครุฑ ที่กำลังเหินลม ซึ่งเรียกว่าเป็นปางเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ หลังจากทรงเทศโปรดพระพุทธมารดาที่ดุสิตาลัย ด้านหลังองค์พระมีประภามณฑล(ลายเปลวเพลิง)เป็นรูปกลมรีอย่างรูปไข่ รอบๆประภามณฑลมีรวดรายงดงามมาก ความสูงจากพื้นล่างสุดถึงประภามณฑล 20 ซ.ม. ความกว้างของปีกทั้งสองข้างคือ 24 ซ.ม. หลังองค์พระและประภามณฑลส่วนที่ตรงกับตัวนกมีเดือยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 4 ซ.ม. จวนจะสุดปลายมีรูเจาะทะลุไว้ใส่สลัก เมื่อประดิษฐานองค์พระจะได้ใส่สลักที่เดือยให้แน่น ไม่หลุดออกได้

 
พระพนัสบดี ศรีทวารวดี ด้านข้าง

วัตถุประสงค์ของการสร้าง

แก้

ลักษณะทั้งองค์เช่นนี้ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่จงใจสร้างขึ้นเอาไว้เพื่อประดิษฐานบนที่สูง เช่น โบสถ์ วิหาร หรือหอคอย ประตูเมือง จึงน่าเชื่อได้ว่า มิใช่พระพุทธรูปประธานของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดในเมืองโบราณนี้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อหรือเมืองอินทรปรัตภ์อะไรก็ตาม เท่าที่ได้พบโบราณวัตถุจะเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นปางนาคปรกแทบทั้งสิ้น มีทั้งสลักด้วยหินทรายสีเขียวและปูนปั้น(ยิ่งถ้าได้ศึกษาเกี่ยวปฐมเหตุเกี่ยวกับการเกิดของเมืองอินทรปรัตภ์ ซึ่งมีประวัติเกี่ยวข้องกับพญานาค ก็ยิ่งน่าเชื่อว่าพระสำคัญของเมืองนี้น่าจะเป็นพระปางนาคปรกมากกว่า)

ประเพณีและการประกอบพิธีที่สำคัญ

แก้

พระพนัสบดีองค์นี้มีชื่อเรียกเต็มว่า "พระพนัสบดี ศรีทวารวดี " ซึ่งในแต่ละปีจะมีการสรงน้ำพระพนัสบดีฯ เป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ และในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ทางวัดได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และมีการสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพนับดีฯไว้เพื่อเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนต่อไป


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้