พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต)
พระพรหมวชิราธิบดี นามเดิม พีร์ ผ่องสุภาพ ฉายา สุชาโต เป็นพระพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร[1] ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร[2] นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[3]ผู้อำนวยการใหญ่กองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย [4]ในพระสังฆราชูปถัมภ์[5]
พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2473 (94 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 5 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2493 |
พรรษา | 74 |
ตำแหน่ง | อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้อำนวยการใหญ่กองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ |
ประวัติ
แก้พระพรหมวชิราธิบดี มีนามเดิมว่า พีร์ ผ่องสุภาพ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2473 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย ณ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายคำ และนางเจริญ ผ่องสุภาพ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
การอุปสมบท
แก้จนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดบ้านแค ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2493 โดยมีพระโพธิวงศาจารย์ (แผ้ว สุนฺทโร) เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง วัดอ่างทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระวิกรมมุนี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุชาโต” หมายความว่า “ชาติกำเนิดที่ดีงาม”
การศึกษา/วิทยฐานะ
แก้- จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถานศึกษาโรงเรียนราษฎร์สุธานุสรณ์ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ
- สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สถานศึกษาสำนักเรียนวัดมหาธาตุฯ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท M.A. สถานศึกษามหาวิทยาลัยแห่งประเทศอินเดีย สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
แก้- พ.ศ. 2532 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าคณะแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2535 เป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นหัวหน้าพระวินยาธิการ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2541 เป็นเจ้าคณะเขตบางเขน-จตุจักร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าคณะเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2544 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2547 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2548 เป็นอธิบดีสงฆ์(เจ้าอาวาสพระอารามหลวง)วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2554 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
งานด้านการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
งานด้านการเผยแผ่
แก้- เป็นผู้อำนวยการใหญ่กองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ในพระสังฆราชูปถัมภ์
- เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ ให้การบรรพชาอุปสมบท กุลบุตรกุลธิดา ในเขตปกครองทางคณะสงฆ์ของตนเองที่ได้รับผิดชอบอยู่
การลี้ภัยจากข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์
แก้- พ.ศ. 2505 พระมหาอาจ อาสโภ ป.ธ.8 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ถูกทางราชการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และจำคุกอยู่ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี จนกระทั่งศาลทหารสามารถพิสูจน์ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2509 พระเดชพระคุณพระพรหมวชิราธิบดีก็ถูกผลกระทบจากข้อกล่าวหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เนื่องจากจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องลี้ภัย ณ ประเทศอินเดีย
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งจากพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฐานานุศักดิ์ในราชทินนามที่ พระครูปลัดสุวัฒนสัทธาคุณ
- พ.ศ. 2535 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระเมธีธรรมาจารย์,(สป.)[6]
- พ.ศ. 2540 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชเมธี ศรีวรกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2545 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพเมธี ศรีสังฆโสภณ วิมลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมสุธี ศรีธรรมประสุต ประยุตกิจจานุกิจ พิศิษฏ์สังฆกิจจาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- พ.ศ. 2559 มีพระราชโองการโปรดพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระธรรมปัญญาบดี ศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกสุพพิธาน นายกสภาบริหารบัณฑิต ปริยัติกิจวรธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2565 มีพระบรมราชโองการพระราชทานราชทินนามพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิราธิบดี ศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกสุพพิธาน นายกสภาบริหารบัณฑิต ปริยัติกิจวรธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- กัมพูชา :
- พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรี ชั้นมหาเสนา
อ้างอิง
แก้- ↑ "เสนอขอแต่งตั้ง พระเทพเมธี ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์" (PDF). มหาเถรสมาคม. 8 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "เสนอแต่งตั้ง พระธรรมสุธี ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร" (PDF). มหาเถรสมาคม. 31 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พระธรรมสุธี รับพระบัญชา 'นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย'". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 21 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-09. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติศาสตร์!มอบใบตราตั้งพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระนายกสภา"มจร"". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Facebook". www.facebook.com.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109, ตอนที่ 155 ง ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2535, หน้า 16
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 114, ตอนที่ 26 ข, 2 ธันวาคม 2540, หน้า 8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 119, ตอนที่ 23 ข, 11 ธันวาคม 2545, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 15 ข, 6 กรกฎาคม 2549, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ,เล่ม 133, ตอนที่ 42 ข, 5 ธันวาคม 2559, หน้า 2
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานราชทินนามและสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 139, ตอนที่ 3 ข, 6 กรกฎาคม 2565,หน้า 1