ผู้ใช้:Jothefiredragon/ทดลองเขียน/.NET
นักพัฒนา | มูลนิธิดอตเน็ต และชุมชนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส |
---|---|
วันที่เปิดตัว | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 |
ที่เก็บข้อมูล | |
ภาษาที่เขียน | C++, C# |
ระบบปฏิบัติการ | cross-platform: Windows, Linux, macOS, Android, iOS |
แพลตฟอร์ม | IA-32, x86-64, s390x, ARM, |
ก่อนหน้า | .NET Framework |
ประเภท | Software framework |
สัญญาอนุญาต | สัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์[1] |
เว็บไซต์ | dotnet |
ดอตเน็ต (อังกฤษ: .NET) เดิมเรียกว่า ดอตเน็ตคอร์ (อังกฤษ: .NET Core) เป็นเฟรมเวิร์กที่ฟรีและโอเพนซอร์ส สำหรับวินโดวส์ ลินุกซ์ และแมคโอเอส [2] เป็นตัวพัฒนาฉบับข้ามแพลตฟอร์มที่ต่อเติมมาจากดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก [3] โปรเจกต์นี้ถูกพัฒนาโดยพนักงานของบริษัทไมโครซอฟท์ภายใต้การดูแลของมูลนิธิดอตเน็ต และปล่อยออกมาด้วยสัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
ความเป็นมา
แก้ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2014 ไมโครซอฟต์เปิดตัวดอตเน็ตคอร์ เพื่อสร้างการสนับสนุนแบบครอสแพลตฟอร์มสำหรับดอตเน็ต รวมไปถึงลินุกซ์และแมคโอเอส[4]
ดอตเน็ตคอร์ 1.0 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2016[5] พร้อมกับไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ 2015 รุ่นปรับปรุง 3 ซึ่งใช้ในการพัฒนาร่วมกับดอตเน็ตคอร์[6] ดอตเน็ตคอร์ 1.0.4 และดอตเน็ตคอร์ 1.1.1 ถูกปล่อยมาพร้อมกับเครื่องมือดอตเน็ตคอร์ 1.0 และวิชวลสตูดิโอ 2017 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2017[7]
ดอตเน็ตคอร์ 2.0 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2017 พร้อมกับวิชวลสตูดิโอ 2017 รุ่น 15.3, เอเอสพี ดอตเน็ตคอร์ 2.0, และ เอนทิตี เฟรมเวิร์ก คอร์ 2.0[8] ดอตเน็ตคอร์ 2.1 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2018[9] ดอตเน็ตคอร์ 2.2 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2018[10]
ดอตเน็ตคอร์ 3 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2019[11] ดอตเน็ตคอร์ 3 เพิ่มการรองรับการพัฒนาแอปฟลิเคชันบนเดสก์ทอปวินโดวส์[12] และการพัฒนาประสิทธิภาพทั่วทั้งคลังเนื้อหาพื้นฐาน
ดอตเน็ต 5 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020 ตั้งแต่รุ่นนี้เป็นต้นไปจะไม่มีคำว่า "คอร์" อยู่ในชื่อ นอกจากนี้รุ่น 4.0 ถูกข้ามไปเพื่อป้องกันการสับสนกับดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ซึ่งยังคงเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับวินโดวส์[13]
ดอตเน็ต 6 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2021[14] และดอตเน็ต 7 ถูกปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2022[15] แต่มีแค่ดอตเน็ต 6 เท่านั้นที่เป็นการปล่อยแบบสนับสนุนระยะยาว (long-term support หรือ LTS)
เวอร์ชัน | วันที่ปล่อย | ปล่อยออกมาพร้อมกับ | เวอร์ชันย่อยสุดท้าย | วันที่ปล่อยเวอร์ชันย่อยสุดท้าย | วันสิ้นสุดการสนับสนุน[16] |
---|---|---|---|---|---|
ดอตเน็ตคอร์ 1.0 | 27 มิถุนายน 2016[17] | วิชวลสตูดิโอ 2015 รุ่นปรับปรุง 3 | 1.0.16 | 14 พฤษภาคม 2019 | 27 มิถุนายน 2019 |
ดอตเน็ตคอร์ 1.1 | 16 พฤศจิกายน 2016[18] | วิชวลสตูดิโอ 2017 รุ่น 15.0 | 1.1.13 | 14 พฤษภาคม 2019 | 27 มิถุนายน 2019 |
ดอตเน็ตคอร์ 2.0 | 14 สิงหาคม 2017[19] | วิชวลสตูดิโอ 2017 รุ่น 15.3 | 2.0.9 | 10 กรกฎาคม 2018 | 1 ตุลาคม 2018 |
ดอตเน็ตคอร์ 2.1 | 30 พฤษภาคม 2018[20] | วิชวลสตูดิโอ 2017 รุ่น 15.7 | 2.1.30 (LTS) | 19 สิงหาคม 2021 | 21 สิงหาคม 2021 |
ดอตเน็ตคอร์ 2.2 | 4 ธันวาคม 2018[21] | วิชวลสตูดิโอ 2019 รุ่น 16.0 | 2.2.8 | 19 พฤศจิกายน 2019 | 23 ธันวาคม 2019 |
ดอตเน็ตคอร์ 3.0 | 23 กันยายน 2019[22] | วิชวลสตูดิโอ 2019 รุ่น 16.3 | 3.0.3 | 18 กุมภาพันธ์ 2020 | 3 มีนาคม 2020 |
ดอตเน็ตคอร์ 3.1 | 3 ธันวาคม 2019[23] | วิชวลสตูดิโอ 2019 รุ่น 16.4 | 3.1.32 (LTS) | 13 ธันวาคม 2022 | 13 ธันวาคม 2022 |
ดอตเน็ต 5 | 10 ตุลาคม 2020[24] | วิชวลสตูดิโอ 2019 รุ่น 16.8 | 5.0.17 | 10 พฤษภาคม 2022 | 10 พฤษภาคม 2022 |
ดอตเน็ต 6 | 8 พฤศจิกายน 2021[25] | วิชวลสตูดิโอ 2022 รุ่น 17.0 | 6.0.20 (LTS) | 11 กรกฎาคม 2023 | 12 พฤศจิกายน 2024 |
ดอตเน็ต 7 | 8 พฤศจิกายน 2022[26] | วิชวลสตูดิโอ 2022 รุ่น 17.4 | 7.0.9 | 11 กรกฎาคม 2023 | 14 พฤษภาคม 2024 |
ดอตเน็ต 8 | 8 พฤศจิกายน 2023[27] | (จะเป็น LTS) | 10 พฤศจิกายน 2026 | ||
ดอตเน็ต 9 | พฤศจิกายน 2024 (โครงการ) | พฤษภาคม 2026 (โครงการ) | |||
รุ่นเก่า ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป รุ่นเก่า ยังได้รับการสนับสนุน รุ่นล่าสุด การเปิดตัวในอนาคต |
ภาษาที่รองรับ
แก้ดอตเน็ตรองรับภาษาซีชาร์ปและภาษาเอฟชาร์ป นอกจากนี้ยังรองรับ วิชวลเบสิกดอตเน็ต[28]
ไมโครซอฟต์เดิมประกาศว่าดอตเน็ตคอร์ 3 จะมาพร้อมกับรันไทม์ของวิชวลเบสิก แต่สองปีถัดมาเส้นเวลาของการสนับสนุนดังกล่าวถูกเลื่อนไปเป็นดอตเน็ต 5[29][30]
สถาปัตยกรรม
แก้ดอตเน็ตรองรับการทำงานแบบข้ามแพลตฟอร์มดังต่อไปนี้: โปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่เขียนด้วยเอเอสพีดอตเน็ตคอร์, ส่วนต่อประสานรายคำสั่ง (Command Line Interface), คลังเนื้อหาต่าง ๆ และโปรแกรมยูนิเวอร์แซลวินโดวส์แพลตฟอร์ม ก่อนหน้าดอตเน็ตคอร์เวอร์ชัน 3 ดอตเน็ตยังไม่ได้รองรับ Windows Forms กับ Windows Presentation Foundation (WPF) ซึ่งเป็นตัวเรนเดอร์ ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้พื้นฐานของวินโดวส์[31] ตั้งแต่ดอตเน็ตคอร์ 3 เป็นต้นไปก็ได้รองรับฟังก์ชันเหล่านั้นรวมถึง Universal Windows Platform (UWP).[32]
ส่วนประกอบหลักสองอย่างของดอตเน็ตคือ CoreCLR และ CoreFX ซึ่งเทียบได้กับ รันไทม์ภาษาร่วม (CLR) และ Framework Class Library (FCL) ของ ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (ทั้งดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและดอตเน็ตพัฒนาตามมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานภาษาร่วม (CLI) )[33]
ดอตเน็ต MAUI
แก้.NET Multi-platform App UI (.NET MAUI) เป็นเฟรมเวิร์กแบบข้ามแพลตฟอร์มในการสร้างแอปด้วยภาษาซีชาร์ปและ Extensible Application Markup Language (XAML)[34]
อ้างอิง
แก้- ↑ "core/LICENSE.TXT". GitHub. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.
- ↑ "Download .NET Core". microsoft.com. Microsoft. สืบค้นเมื่อ October 31, 2017.
- ↑ ".NET Framework is dead – long live .NET 5". May 7, 2019.
- ↑ "Why a .NET Development Company Could Be the Perfect Boost | Pangea.ai". www.pangea.ai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-08.
- ↑ Bright, Peter (June 27, 2016). ".NET Core 1.0 released, now officially supported by Red Hat". Ars Technica. Condé Nast.
- ↑ Foley, Mary Jo (June 27, 2016). "Microsoft showcases SQL Server, .NET Core on Red Hat Enterprise Linux deliverables". ZDNet. CBS Interactive.
- ↑ "Announcing .NET Core Tools 1.0 | .NET Blog". Blogs.msdn.microsoft.com. March 7, 2017. สืบค้นเมื่อ January 18, 2020.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.0". .NET Blog. Microsoft. August 14, 2017.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.1". .NET Blog. Microsoft. May 30, 2018.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.2". .NET Blog. Microsoft. December 4, 2018.
- ↑ ".NET Core is the Future of .NET". .NET Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). May 6, 2019. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
- ↑ "What's new in .NET Core 3.0". .NET documentation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 30, 2020.
- ↑ "Announcing .NET 5.0". .NET Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). November 10, 2020. สืบค้นเมื่อ November 21, 2020.
- ↑ Lander, Richard (2021-11-08). "Announcing .NET 6 – The Fastest .NET Yet". .NET Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-05-06.
- ↑ Douglas, Jon (2022-11-08). ".NET 7 is Available Today". .NET Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
- ↑ ".NET Core official support policy". .NET. Microsoft.
- ↑ "Announcing .NET Core 1.0". .NET Blog. Microsoft. June 27, 2016.
- ↑ "Announcing .NET Core 1.1". .NET Blog. Microsoft. November 16, 2016.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.0". .NET Blog. Microsoft. August 14, 2017.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.1". .NET Blog. Microsoft. May 30, 2018.
- ↑ "Announcing .NET Core 2.2". .NET Blog. Microsoft. December 4, 2018.
- ↑ "Announcing .NET Core 3.0". .NET Blog. Microsoft. September 23, 2019.
- ↑ "Announcing .NET Core 3.1". .NET Blog. Microsoft. December 3, 2019.
- ↑ "Announcing .NET 5.0". .NET Blog. Microsoft. November 10, 2020.
- ↑ "Announcing .NET 6". .NET Blog. Microsoft. November 8, 2021.
- ↑ Douglas, Jon (2022-11-08). ".NET 7 is Available Today". .NET Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
- ↑ ".NET Release Notes". Github. 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2023-05-30.
- ↑ ".NET framework supports different programming languages". สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
- ↑ "Visual Basic in .NET Core 3.0 | Visual Basic Blog". Blogs.msdn.microsoft.com. October 12, 2019. สืบค้นเมื่อ January 18, 2020.
- ↑ "Visual Basic support planned for .NET 5.0 | Visual Basic Blog". Blogs.msdn.microsoft.com. March 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 26, 2020.
- ↑ Carter, Phillip; Knezevic, Zlatko (April 2016). ".NET Core – .NET Goes Cross-Platform with .NET Core". MSDN Magazine. Microsoft.
- ↑ Lander, Rich (May 7, 2018). ".NET Core 3 and Support for Windows Desktop Applications". MSDN. Microsoft.
- ↑ "Understanding .NET Framework, .NET Core, .NET Standard And Future .NET". www.c-sharpcorner.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ February 1, 2021.
- ↑ "What is .NET MAUI? - .NET MAUI". learn.microsoft.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-08.