ปี
ปี หมายถึง คาบการโคจรของวัตถุดาวเคราะห์ เช่น การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห์
เนื่องจากความลาดเอียงของแกนโลกเป็นเหตุทำให้เห็นฤดูกาลหมุนเวียนผ่านไป สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ระยะเวลาของกลางวัน ในเขตอบอุ่นและกึ่งขั้วโลกรอบโลกโดยทั่วไปแล้วจะปรากฏสี่ฤดูกาลใน 1 ปี คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ส่วนในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ภาคภูมิศาสตร์หลายแห่งไม่มีฤดูกาลที่กำหนดแน่นอน แต่ในเขตร้อนชื้นตามฤดูกาลจะรับรู้และติดตามได้เพียงแค่ฤดูฝนและฤดูแล้งในแต่ละปี
ปีปฏิทินเป็นค่าประมาณของจำนวนวันของคาบการโคจรของโลก ปฏิทินเกรกอเรียนหรือปฏิทินสมัยใหม่กำหนดให้ปีปฏิทินมี 365 วันในปีสามัญ หรือมี 366 วันในปีอธิกสุรทินเช่นเดียวกับปฏิทินจูเลียน สำหรับปฏิทินเกรกอเรียน ความยาวเฉลี่ยของปีปฏิทิน (ปีเฉลี่ย) ตลอดวงจรอธิกสุรทินที่ครบ 400 ปีคือ 365.2425 วัน (97 จาก 400 ปีเป็นปีอธิกสุรทิน)
ในภาษาอังกฤษ หน่วยเวลาสำหรับปีมักย่อว่า "y" หรือ "yr" สัญลักษณ์ "a" นั้นพบได้ทั่วไปในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์แม้ว่าระยะเวลาที่แน่นอนอาจไม่สอดคล้องกันก็ตาม ในทางดาราศาสตร์ ปีจูเลียนเป็นหน่วยของเวลาที่กำหนดเป็น 365.25 วัน เท่ากับ 86,400 วินาที (หน่วยฐาน SI) เท่ากับ 31,557,600 วินาทีในปีดาราศาสตร์จูเลียน[1]
คำว่า ปี ยังใช้สำหรับช่วงเวลาที่สัมพันธ์กัน แต่ไม่เหมือนกับปีปฏิทินหรือดาราศาสตร์ เช่น ปีตามฤดูกาล ปีงบประมาณ ปีการศึกษา เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน ปี อาจหมายถึงระยะเวลาการโคจรของดาวเคราะห์ใดๆ เช่น ปีดาวอังคารและปีดาวศุกร์ที่เป็นตัวอย่างของระยะเวลาที่ดาวเคราะห์นั้น ๆ ใช้ในการโคจรครบหนึ่งวงโคจรที่สมบูรณ์ คำนี้ยังสามารถใช้เพื่ออ้างถึงระยะเวลาหรือวัฏจักรที่ยาวนานได้ เช่น ปีที่ดี
การนับปีบนโลก
แก้หนึ่งปีบนโลกตามปฏิทินสุริยคติ มีระยะเวลาทั้งหมด 365 วัน โดยที่โลกหมุนโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 12 วินาที หรือ 365.2425 วัน ส่งผลต่อการนับจำนวนวันให้ทุก ๆ 4 ปีจะมีวันเพิ่มขึ้นหนึ่งวันเป็น 366 วัน เพื่อทดแทนระยะเวลาที่ไม่พอดีวันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกปีที่มี 366 วันว่า ปีอธิกสุรทิน วันที่เพิ่มขึ้นมาจะถูกเพิ่มลงในเดือนกุมภาพันธ์จาก 28 วัน เป็น 29 วัน ในทุก ๆ 4 ปี เว้นปีที่หาร 100 ลงตัวแล้ว หารกับ 400 ไม่ลงตัว
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.iau.org/static/publications/stylemanual1989.pdf