ปัญญา นิรันดร์กุล
ปัญญา นิรันดร์กุล (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น: ตา[1] เป็นพิธีกร นักแสดงชาวไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ปัญญา นิรันดร์กุล | |
---|---|
เกิด | ปัญญา กิตินิรันดร์กุล 24 มีนาคม พ.ศ. 2498 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2521–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | วาสนา นิรันดร์กุล |
บุตร | 4 คน |
อาชีพแสดง | |
รางวัล | |
โทรทัศน์ทองคำ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534 - ตะวันชิงพลบ |
เมขลา | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2532 - สมการวัย พ.ศ. 2534 - ตะวันชิงพลบ พ.ศ. 2543 - เจ้าสัวน้อย |
ประวัติ
ปัญญา นิรันดร์กุล มีชื่อจริงว่า ปัญญา กิตินิรันดร์กุล ก่อนจะตัดคำว่า กิติ ออกและมีชื่อเล่นแรกเกิดว่า “เปียง” ปัจจุบันมีชื่อเล่นว่า “ตา” เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2498 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน มารดาชื่อ อำพัน นิรันดร์กุล เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2546
- จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2520
ปริญญากิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
- ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร[2] โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธานในพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2566 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566
- ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 18 ตุลาคม 2567
ครอบครัว
ปัญญาสมรสกับ วาสนา นิรันดร์กุล มีบุตร-ธิดารวม 4 คน
- น้ำตาล-ปานวาด (เกิด: พ.ศ. 2527) สมรสกับ อมรฤทธิ์ พูลสวัสดิ์
- น้ำหอม-ปานตา (เกิด พ.ศ. 2530) สมรสกับ พงศกร ดาวเรือง
- น้ำทอง-ปานฝัน (เกิด: พ.ศ. 2531) สมรสกับ สุกฤษฎิ์ ภูยาธร
- น้ำมนต์-ปรวัธน์ (เกิด: พ.ศ. 2537)
ปัจจุบัน ปัญญามีบ้านพักอยู่ภายในหมู่บ้านเมืองเอก ย่านรังสิต ใกล้กับเวิร์คพอยท์สตูดิโอ
ด้านวงการบันเทิง
ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรก ด้วยการแสดงภาพยนตร์ไทย เรื่องแรกคือ สืบยัดไส้ ในปี พ.ศ. 2521 ในบทบาทนักแสดงประกอบ และต่อมาในปีเดียวกัน ปัญญาจึงได้แสดงละครในบทพระเอกเป็นเรื่องแรกคือ ศรีธนญชัย ทางไทยทีวีสีช่อง 3 จากการชักชวนของภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ และยังได้รับโอกาสแสดงบทพระเอกในภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง โดยมีชื่อเสียงคู่กับอรพรรณ พานทอง และเพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร
รายการโทรทัศน์
ในปี พ.ศ. 2527 ปัญญาร่วมเป็นสมาชิกยุคบุคเบิกของรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางไทยทีวีสีช่อง 9 โดยใช้ชื่อว่า ซูโม่ตา มีบทบาทซึ่งสร้างชื่อเสียงเป็นที่จดจำของผู้ชมคือ การแสดงเป็นพิธีกรรายการ ภาษาไทยคำละวัน ล้อเลียนรายการ ภาษาไทยวันละคำ ของอาจารย์กาญจนา นาคสกุล และต่อมาในปีเดียวกัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2532) ปัญญาเข้าร่วมเป็นพิธีกรรายการ พลิกล็อก (ในชื่อ คู่หูพลิกล็อก, พลิกล็อกเพชร และ พลิกล็อกเหนือเมฆ) , ยุทธการขยับเหงือก, มหัศจรรย์วันเสาร์ ของเจเอสแอลทาง ททบ.5 เป็นต้น
การก่อตั้ง เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ในปี พ.ศ. 2532 ปัญญาร่วมกับ ประภาส ชลศรานนท์ รุ่นน้องของปัญญาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นทั้งนักคิดนักเขียนที่มีผลงานมากมายทางด้านเพลง หนังสือ และโทรทัศน์ ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (อังกฤษ: WorkPoint Entertainment Co., Ltd.) เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ โดยรายการแรกของบริษัทคือ เวทีทอง และรายการที่สองในปีต่อมาคือ ชิงร้อยชิงล้าน นับตั้งแต่นั้น ผลงานรายการ และละครของเวิร์คพอยท์ ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังแก่บริษัทเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2547 ปัญญาได้นำบริษัทเวิร์คพอยท์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขยายกิจการมาเป็น บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ได้มีพิธีเปิดอาคารสำนักงานและสตูดิโอบนเนื้อที่กว่า 25 ไร่ ตั้งอยู่ในซอยเลียบคลองเปรมประชากร ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เพื่อผลิตรายการคุณภาพในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชน และได้รับรางวัลต่างๆมากมายจากทุกสถาบันในประเทศไทย รวมทั้งรางวัลในระดับนานาชาติ เช่น Asian Television Awards ที่ประเทศสิงคโปร์ และ INTERNATIONAL EMMY AWARDS จากประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นขยายมาสู่ธุรกิจโทรทัศน์ดาวเทียม ในชื่อ เวิร์คพอยท์ทีวี ต่อมาได้ร่วมประมูลช่องทีวีดิจิตอลความคมชัดมาตรฐาน (SD) และได้รับใบอนุญาตออกอากาศ โดยเริ่มทดลองออกอากาศวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยใช้ชื่อช่องเวิร์คพอยท์ ออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 หลังจากออกอากาศเรตติ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ AGB Nielsen พบว่าออกอากาศได้เพียง 6 เดือน เรตติ้งของช่องพุ่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของประเทศ นับรวมทั้งช่องดิจิตอลทีวีและช่องแอนะล็อก และเป็นอันดับ 1 ของทีวีดิจิตอล นอกจากนี้แล้ว ยังได้ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย ดำเนินธุรกิจโรงละครในชื่อ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 7 สยามสแควร์วัน โดยเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558
เอกลักษณ์เฉพาะตัว
ปัญญาเป็นพิธีกรซึ่งให้ความเป็นกันเองกับผู้ร่วมรายการอย่างมาก ปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนลักษณะดังกล่าวก็คือ ท่าทางเฉพาะตัวระหว่างดำเนินรายการ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมาเป็นเวลานาน เช่นขณะเป็นพิธีกรในรายการพลิกล็อก เขาจะยืนกางขา ออกท่าทางตื่นเต้นเร้าใจ พร้อมยื่นมือไปข้างหน้าในระดับไหล่ แล้วกำมือโดยชูนิ้วหัวแม่โป้งขึ้น-ลงสลับกัน พลางกล่าวว่า “มากกว่าหรือน้อยกว่าครับ” หรือเมื่อดำเนินรายการแฟนพันธุ์แท้ ปัญญาจะยืนตรงพลางห่อปากไว้ แล้วยื่นมือไปข้างหน้าในระดับไหล่เช่นกัน โดยกางนิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วชี้ออกไปข้างหน้า แล้วค้างท่าไว้หลายวินาที ก่อนจะกล่าวว่า ถูกต้องนะคร้าบบบบบ!! ด้วยเสียงอันดัง พร้อมทั้งลากเสียงอย่างยาวนาน ซึ่งคำว่า "ถูกต้องนะคร้าบบบบบ!!" มาจากรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน ไชยา มิตรชัย ต่อมาเขายังนำลักษณะดังกล่าว ไปใช้ขณะดำเนินรายการเกมโชว์อื่น ๆ ที่ตนเป็นพิธีกรด้วย เช่น เกมทศกัณฐ์, อัจฉริยะข้ามคืน เป็นต้น ทั้งนี้ ในระยะหลัง ๆ ปัญญามักตะโกนและพูดเสียงดังขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนในรายการ รวมถึงผู้ชมเกิดความตื่นเต้นกับสถานการณ์ในรายการ โดยเฉพาะเมื่อกำลังแข่งขันเกม
ในภายหลัง เอกลักษณ์เฉพาะตัว จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางจากรายการปริศนาฟ้าแลบ คือ ท่าชูนิ้วชี้ขึ้นฟ้า แล้วพูดว่า "ปริศนาฟ้าแลบบบบ!!!" ก่อนเริ่มเข้าคำถาม
แต่ในปัจจุบัน ปัญญาไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว เพราะไม่ดำเนินรายการเกมโชว์แต่อย่างใด
ผลงาน
รายการโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์
- ขบวนการคนใช้ (2520)
- ศรีธนญชัย 21 (2521)
- เทพบุตรผู้ไร้ทวน (2521)
- จดหมายจากเมืองไทย (2525) รับบท อึ้งกิม
- คุณยายกายสิทธิ์ (2526)
- สุดหัวใจ (2526)
- เศรษฐีลูกทุ่ง (2527)
- สุดสายป่าน (2527) รับบท ประพันธ์
- นายแพทย์สนุกสนาน (2528)
- เทวดาตกสวรรค์ (2529) รับบท วาที
- หนุ่มทิพย์ (2530) รับบท เด่นชาติ
- เลขานินทานาย (2530)
- ดาวเรือง (2530) รับบท สุวรรณ
- ที่นี่ไม่มีปัญหา (2531)
- บริษัทจัดคู่ (2531)
- นายจ๋าเลขาขอโทษ (2531)
- อีสา (2531)
- เกมกามเทพ (2531)
- รักประกาศิต (2531) รับบท นิพนธ์
- มุกดามะดัน (2531)
- ทายาท (2531)
- รัตนาวดี (2531 - 2532) รับบท วิศาล ลูกรัฐมนตรี
- ใจ (2532)
- แก้วตาพี่ (2532)
- เทวดาเดินดิน (2532)
- สมการวัย (2532)
- กว่าจะถึง (ท่า) พระจันทร์ (2532)
- คู่กรรม (2533) รับบท หมอทาเคดะ
- ปีศาจแสนกล (2533) รับบท ไฮไฟ
- โหด เลว อ้วน (2533)
- ตะวันชิงพลบ (2534) รับบท ระพี (พ่อนางเอก)
- ลอดลายมังกร (2535) รับบท อาจั๊ว
- วิมานมะพร้าว (2537) รับบท อากง (เจ้าสัว)
- ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน (2538) รับบท พ่อ
- ไม่ย่อท้อมรสุม (2540)
- เจ้าสัวน้อย (2543) รับบท กิมซัว
- ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต (ละครพิเศษเทิดพระเกียรติ 2547)
- คือสายใยแห่งรัก (ละครพิเศษเทิดพระเกียรติ 2550)
- วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์ (2554) (รับเชิญ)
ภาพยนตร์ไทย
- สืบยัดไส้ (2521)
- ถ้าเธอยังมีรัก (2524) รับบท ไอ้จืด
- ยอดอนงค์ (2526)
- หนูเป็นสาวแล้ว (2526) รับบท พายัพ
- ไอ้ถึกเกณฑ์ทหาร (2527)
- กองพันทหารเกณฑ์ (2527) รับบท ชาตรี นทีท่วม
- ลูกหนี้ทีเด็ด (2527) รับบท นักรบ พบรัก
- ข้ามากับดวง (2528) รับบท ดวง อรรถพิทักษ์
- ผู้การเรือเร่ (2528)
- รักตะลุมบอน (2528)
- ลูกสาวป้าแช่ม (2528)
- รักพลิกล็อก (2529) รับบท ปัญญา
- เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
- ลูกทุ่งฮอลลิเดย์ (2529)
- ข่าวหน้า 1 (2529)
- เกมมหาโชค (2529)
- ผู้พันเรือพ่วง (2530)
- กะชุ่มกะชวย (2531)
- ผมรักคุณน่ะ (2531)
- รักด้วยชีวิต (2531)
- พ่อไก่แจ้ แม่ไก่ชน (2532)
- บ้านเล็กบุกบ้านใหญ่ (2532)
- ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) รับบท โต้ง (นักแสดงรับเชิญ)
- เดี๋ยวเล็ก เดี๋ยวใหญ่ (2534)
- วิมานมะพร้าว (2534)
- ไอ้คุณผี (2534) (นักแสดงรับเชิญ)
- โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง (2549) รับบท ท่านพระยา (นักแสดงรับเชิญ)
- เท่ง โหน่ง จีวรบิน (2554) รับบท ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ที่สนามบินทิเบต (นักแสดงรับเชิญ)
โฆษณา
- ขนมอบกรอบคาราด้า (2527, 2530-2532)
- เครื่องใช้ไฟฟ้าซิงเกอร์ (2531)
- แป้งเย็นตรางู (2532)
- แฟ้บลิควิด (2535)
- เครื่องดื่มช้าง (2538)
- โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ (2548)
- สีซุปเปอร์ชิลด์ (2554)
รางวัล
ปี พ.ศ. 2530
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น จากรายการ พลิกล็อก
ปี พ.ศ. 2532
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละคร สมการวัย ปี พ.ศ. 2532
- โล่เกียรติยศ จากสมาคมช่างตัดเสื้อไทย ผู้แต่งกายดีเด่น ประเภทนักแสดง
ปี พ.ศ. 2533
- WYNE BERG ACADEMY โล่ประกาศเกียรติคุณพิธีกรยอดเยี่ยม จาก ชิงร้อย ชิงล้าน
- รางวัลเกียรติยศนักบริหารยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2532 มอบโดยหนังสือพิมพ์ข่าวธุรกิจ
ปี พ.ศ. 2534
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม จากละคร ตะวันชิงพลบ
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม จากละคร ตะวันชิงพลบ
ปี พ.ศ. 2535
- รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย จาก ชิงร้อย ชิงล้าน
ปี พ.ศ. 2536
- เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2
ปี พ.ศ. 2542
- รางวัลศิลปินดีเด่นเพื่อเยาวชน ประเภทพิธีกรชาย จากเกมแก้จน มอบโดย คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.)
ปี พ.ศ. 2543
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละคร เจ้าสัวน้อย
- TOP AWARDS 2000 รางวัลดาราสมทบชายยอดเยี่ยม จากละคร “เจ้าสัวน้อย”
- รางวัลเทพทอง บุคคลดีเด่น “ด้านวิทยุและโทรทัศน์” ประจำปี พ.ศ. 2541-2542-2543
ปี พ.ศ. 2544
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการเกมโชว์ดีเด่น จากรายการแฟนพันธุ์แท้
- รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น จากรายการ แฟนพันธุ์แท้
- รางวัลผลงานบันเทิงดีเด่น (STAR ENTERTAINMENT AWARDS 2002) รางวัลพิธีกรหรือผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย จากรายการ “แฟนพันธุ์แท้”
ปี พ.ศ. 2545
- รางวัลเมขลา ประเภทผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น จากรายการ “แฟนพันธุ์แท้”
ปี พ.ศ. 2546
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภทผู้ดำเนินรายการที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2545-2546 จากรายการแฟนพันธุ์แท้ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์
- รางวัลสื่อมวลชนนิยมไทยดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2546 ประเภทสื่อโทรทัศน์
ปี พ.ศ. 2547
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภทผู้ดำเนินรายการที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2547 จากรายการแฟนพันธุ์แท้ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์
- รางวัลBOSS OF THE YEAR 2004 สาขาการบริหารจัดการธุรกิจบันเทิง จัดโดยนิตยสาร BOSS
- รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น จากรายการ “เกมทศกัณฐ์”
- รางวัลลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อพ่อ-แม่
ปี พ.ศ. 2548
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภทผู้ดำเนินรายการที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2548 จากรายการแฟนพันธุ์แท้ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภทผู้ดำเนินรายการที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ ประจำปี พ.ศ. 2548 จากรายการเกมทศกัณฐ์ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์
- เข็มที่ระลึกทองคำฝังเพชร และใบประกาศเชิดชูเกียรติ รางวัลผู้ดำเนินรายการที่ใช้ภาษาไทยดีเด่นทางวิทยุโทรทัศน์ ต่อเนื่อง 3 ปี จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์
- รางวัลเชิดชูเกียรติ “เพชรสยาม” ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2548 สาขาวิถีชีวิตไทย ด้านการจัดรายการทางโทรทัศน์ที่ส่งเสริมภูมิปัญญา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2005 - Best Entertainment Presenter : Winner พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ กล่องดำ (ชนะเลิศ สมัยที่ 1)
ปี พ.ศ. 2549
- รางวัล Ent Biz Award ผู้มีคุณูปการแก่วงการธุรกิจบันเทิงไทย จาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2006 - Best Entertainment Presenter : Winner พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ ทศกัณฐ์เด็ก (ชนะเลิศ สมัยที่ 2)
- รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2006 รางวัลผลโหวตสูงสุด พิธีกรชายยอดนิยม จากรายการเกมทศกัณฐ์ยกทัพ จัดโดยนิตยสารทีวีกอสซิปร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
- รางวัล TOP AWARDS 2006 พิธีกรยอดเยี่ยม จากรายการ “แฟนพันธุ์แท้”
- รางวัลเทพทอง นักวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น จากรายการเกมทศกัณฐ์เด็ก
ปี พ.ศ. 2550
- รางวัล TV GOSSIP AWARDS 2007 รางวัลผลโหวตสูงสุด พิธีกรชายยอดนิยม จากรายการชิงร้อย ชิงล้าน ชะชะช่า จัดโดยนิตยสารทีวีกอสซิปร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
- รางวัลยอดกตัญญู บุคคลที่เป็นแบบอย่างในความรักความกตัญญูที่มีต่อผู้มีพระคุณ จากกระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2007 - Best Entertainment Presenter :Runner Up พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ กล่องดำ (รองชนะเลิศ สมัยที่ 1)
ปี พ.ศ. 2551
- รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปี2551 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร รางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี พ.ศ. 2551 ผู้จัดรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ดีเด่นผู้ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและชัดเจน
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2008 - Best Entertainment Presenter : Highly Commended พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ กล่องดำ (รองชนะเลิศ สมัยที่ 2)
- รางวัล TOP AWARDS 2008 ประเภทพิธีกรยอดเยี่ยม จากรายการ “หลานปู่กู้อีจู้”
ปี พ.ศ. 2552
- รางวัลผู้มีคุณธรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นรางวัลที่มอบให้กับศิลปินบุคคลในสังคมและสื่อมวลชน ที่เป็นแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนที่ดี เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ. 2552
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2009 - Best Entertainment Presenter : Highly Commended พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ ยกสยาม (รองชนะเลิศ สมัยที่ 3)
- รางวัลประกายเพชร สาขาผู้ผลิตรายการส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2552 จากมูลนิธิเพชรภาษา
- รางวัล TOP AWARDS 2009 ประเภทพิธีกรยอดเยี่ยม จากรายการ “ชิงร้อยชิงล้าน”
ปี พ.ศ. 2554
- รางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ รางวัลผู้ดำเนินรายการชาย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จากรายการยกสยาม
- รางวัลพิธีกรที่สุดแห่งปี 2011 คุณปัญญา นิรันดร์กุล จัดโดย ดาราเดลี่
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 รางวัลผู้ดำเนินรายการชายดีเด่นเมขลามหานิยม จากรายการ SME ตีแตก
- โล่ประกาศเกียรติคุณ 25 ปี เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
- รางวัลระฆังทอง บุคคลแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2555 สาขานักพัฒนาองค์กรดีเด่น ประเภทนักธุรกิจ และบุคคล
- รางวัล "พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 รางวัลพิธีกรผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย จากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day
- รางวัลวัฒนคุณาธร ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านวัฒนธรรม จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
ปี พ.ศ. 2556
- รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่นเมขลามหานิยมแห่งปี จากรายการ “บ้านเจ้าปัญญา”
- รางวัล"พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2556 รางวัลกิตติมศักดิ์ด้านผู้ส่งเสริมวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น
- รางวัลคนดีศรีสยาม ประจำปี พ.ศ. 2556
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2013 - Best Entertainment Presenter : Winner พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ ���ดย์ (ชนะเลิศ สมัยที่ 3)
- รางวัลรัษฎากรพิพัฒน์ ประจำปี พ.ศ. 25๕๕ บุคคลที่เสียภาษีในระดับที่ดีมีคุณภาพ ควรค่าแก่การยกย่อง จัดโดย กรมสรรพากร
ปี พ.ศ. 2557
- รางวัลผู้บริหารแห่งปี พ.ศ. 2557 ( CEO THAILAND AWARDS 2014 ) จัดโดย สมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สนท.)
- รางวัล"พิฆเนศวร" รางวัลวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2557 ประเภทพิธีกรยอดเยี่ยม
- รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2557 รางวัลพิธีกรยอดเยี่ยม จากรายการ “ปริศนาฟ้าแลบ”
ปี พ.ศ. 2558
- รางวัล Creative Entertainment Award ในงานประกาศรางวัล Me Awards 2015
- รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษรายการโทรทัศน์ผู้สร้างโอกาสศิลปินลูกทุ่ง จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัล “พิฆเนศวร” ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2558 รางวัลพิธีกรชายดีเด่น จากรายการปริศนาฟ้าแลบ
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 30 ประจำปี พ.ศ. 2558 รางวัลผู้ดำเนินรายการเกมโชว์ดีเด่น จากรายการปริศนาฟ้าแลบ
- สุดยอดนักธุรกิจแห่งปี พ.ศ. 2558 จากผลโหวตในเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ http://www.bangkokbiznews.com/businessoftheyear/ เก็บถาวร 2016-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ปี พ.ศ. 2559
- รางวัลบุคคลสำคัญแห่งปี WORLD TOP AWARD สาขา CEO บริหารบันเทิงแห่งปี
- โล่ประกาศเกียรติคุณจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ในวันแม่แห่งชาติ 2559
- รางวัลพิธีกรชายขวัญใจมหาชน ประจำปี พ.ศ. 2559 ในงานประกาศรางวัล Maya Awards “มายามหาชน 2016” จากรายการปริศนาฟ้าแลบ
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2016 - Best Entertainment Presenter : Winner พิธีกรชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากรายการ ปริศนาฟ้าแลบ (ชนะเลิศ สมัยที่ 4)
ปี พ.ศ. 2560
- รางวัล Maya Awards 2017 (มายามหาชน ประจำปี 2560) รางวัลคนโทรทัศน์เกียรติยศขวัญใจมหาชน จัดโดย นิตยสารมายาแชนแนล วันที่ 8 สิงหาคม 2560
ปี พ.ศ. 2561
- รางวัล Thailand Digital Awards 2018 รางวัลกิตติมศักดิ์นักบริหารระดับสูงตัวอย่างด้านการบริหารจัดการและพัฒนาสื่อโทรทัศน์ไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล คุณปัญญา นิรันดร์กุล จัดโดยโครงการพัฒนานักบริหารภาครัฐและภาคเอกชน สู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ วันที่ 17 ก.พ. 2561
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 สาขารางวัลเกียรติยศคนทีวี
- รางวัลเกียรติคุณ “ดุษฎีปริญญา” ประจำปี พ.ศ. 2561 มอบโดยมูลนิธิสร้างสรรค์สังคมไทย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561
- รางวัล “Thailand Headlines Person Of The Year Awards 2018” คุณปัญญา นิรันดร์กุล รับรางวัลสาขาข่าวสารการเมือง จัดโดยสำนักข่าวไทยแลนด์ เฮดไลน์ และบ.เจียระไน เอ็นเตอร์เทน เม้นท์ จำกัด วันที่27 กันยายน 2561
ปี พ.ศ. 2562
- รางวัลเชิดชูเกียรติ “บุคคลแห่งชาติ” พุทธศักราช 2562 คุณปัญญา นิรันดร์กุล ได้รับรางวัลสาขาศิลปะการแสดง จัดโดยคณะกรรมการเครือข่ายสังคมไทย (วันที่ 2 ก.พ.62)
ปี พ.ศ. 2563
- รางวัล Asian Academy Creative Awards 2020 (AAA) รางวัล Grand Final Winner ประเภท Best Lifestyle ,Entertainment Presenter /Host (รางวัลชนะเลิศพิธีกรยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย) ได้แก่ คุณปัญญา นิรันดร์กุล รายการปัญญาปันสุข เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.63
ปี พ.ศ. 2565
- รางวัลไตรสรณะบูชา พระเสมาสยาม รางวัลประทาน ประจำปี 2565 สาขาบุคคลผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 9 ก.ค.65
- รางวัลเกียรติยศ "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022" ด้านสังคม จัดโดย มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เมื่อวันที่ 19 ต.ค.65
ปี พ.ศ. 2566
- รางวัล "HOWE AWARDS 2023" คุณปัญญา นิรันดร์กุล ได้รับรางวัล THE 50 INFLUENTIAL PEOPLE 2023 ประเภท HOWE SMART BUSINESS AWARD จัดโดย Howe Magazine เมื่อวันที่ 30 ต.ค.66
ปี พ.ศ. 2567
- รางวัล NINE ENTERTAIN AWARDS 2024 รางวัลคนเบื้องหลังแห่งปี จัดโดยบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 67
- โล่ประกาศเกียรติคุณ “วุฒิสภา ศรัทธาความดี” ในฐานะผู้ทำความดีแก่สังคม โดยเฉพาะรายการ "ปัญญาปันสุข" ที่ช่วยเหลือแบ่งปันให้กับคนทุกข์ยาก มอบ โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการ���ัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.67
- รางวัล Daily News Awards 2024 รางวัล D-ส่งเสริมสุข จากรายการปัญญาปันสุข จัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 67
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ
- ปัญญา นิรันดร์กุล…เจ้าพ่อเกมโชว์ จากเว็บไซต์นิตยสารโพสิชันนิง
- ภาวะผู้นำในดวงใจ ปัญญา นิรันดร์กุล