ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
นักการเมืองชาวไทย
ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ (เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2499) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัย
ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ | |
---|---|
ประเสริฐ ในปี พ.ศ. 2555 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (18 ปี 160 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไพศาล ยิ่งสมาน |
ถัดไป | อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2538–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ เกิดเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นบุตรของนายพงษ์ไทย กับนางบริบูรณ์ พงษ์สุวรรณศิริ มีพี่น้อง 7 คน โดยประเสริฐ เป็นบุตรคนที่ 5 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา และ ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
งานการเมือง
แก้ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถฝ่ากระแสของพรรคความหวังใหม่ในเวลานั้นได้ และได้รับเลือกตั้งติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2554 รวม 6 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๔ กันยายน ๒๕๓๒