ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม[1] ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [2]และกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[3] ในฐานะประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ถัดไป | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว 15 มกราคม พ.ศ. 2495 อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2549) ชาติไทย (2549–2551) |
คู่สมรส | กัญญา ปัญญาชาติรักษ์ |
อดีตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ต่อมาได้เป็นนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[4] ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105/2557 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[5]อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[6]
ประวัติ
แก้นายประพัฒน์เกิดที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2495 เข้ามาเรียนที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมในขณะเป็นนักศึกษา และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ทำงานรับจ้างปลูกป่า บริษัทลำปางทำไม้ จำกัด เป็นลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเป็นเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดลำปาง เริ่มต้นจากการนำต้นกล้าส้มพันธุ์โชกุลจากจังหวัดยะลามาปลูก ในพื้นที่จังหวัดลำปาง อำเภอแจ้ห่ม ตำบลแม่สุก ในชื่อของสวนส้มเพชรล้านนา แต่ต่อมาเจอภาวะภัยแล้งจนทำให้ต้องเลิกทำส้ม จนเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสานที่มีทั้งปศุสัตว์ ผลไม้ และพืชผัก โดยได้ทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ คือไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น " ฟาร์มเกษตรอินทรย์เพชรล้านนา" เมื่อ พ.ศ. 2544 เข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนแรกระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2547 [7]
ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นายประพัฒน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสมาชิกพรรคไทยรักไทย[8] แล้วย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย[9] ในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[10] ในระหว่างที่อยู่ในแวดวงการเมืองอยู่นั้น ฟาร์มที่จังหวัดลำปาง ก็ยังคงดำเนินกิจการอยู่ และเมื่อเว้นวรรคทางการเมืองได้กลับมาพัฒนางานด้านการเกษตรในพื้นที่และระดับชาติอย่างต่อเนือง จนได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกจากเกษตรกรจังหวัดลำปาง ให้เป็น "ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง" และได้รับเลือกเป็น "ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ "ในปี 2555 เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนแรกของประเทศไทย
หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาดำรงตำแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105/2557 กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[11]กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[12]ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [13]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามพรบ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
ใน วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[14]ใน วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[15]และได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [16]
ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นาย องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ บุตรชายของ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[17] และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สุวิทย์ เมษินทรีย์ ลาออกจากตำแหน่ง [18] จึงทำให้ นาย องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพร้อมกัน
เหตุการณ์ 14 ตุลา
แก้ก่อนช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 นายประพัฒน์เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษาหลายครั้ง ทั้งการประท้วงกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร การประท้วงต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น การเรียกร้อง��ัฐธรรมนูญ
นายประพัฒน์เป็นบุคคลในภาพถ่ายที่มีชื่อเสียง ในช่วงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลาประมาณเที่ยงวัน นายประพัฒน์ถือไม้หน้าสาม ประจัญหน้ากับทหารที่โอบล้อมเข้ามา และถูกยิงล้มลงบริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ มีนักข่าวหลายคนจับภาพนี้ได้ และเป็นภาพที่เป็นที่จดจำในเหตุการณ์ 14 ตุลา จากภาพถ่ายนี้ทำให้ได้รับฉายาว่า "ไอ้ก้านยาว"[19]
รูปภาพ
แก้-
ขณะยืนถือไม้ประจัญหน้ากับทหาร จึงได้ฉายา "ไอ้ก้านยาว"
-
ภาพถ่ายจากมุมบน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/079/1.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
- ↑ http://www.komchadluek.net/2006/08/31/k001_42740.php?news_id=42740
- ↑ http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=29011[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
- ↑ "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
- ↑ "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ ตรวจสอบรายชื่อที่นี่! มติครม.13 ส.ค. ‘แต่งตั้ง ขรก.การเมือง – วิปรัฐบาล’ ครบทุกตำแหน่ง
- ↑ https://www.prachachat.net/politics/news-491873
- ↑ บันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลา เก็บถาวร 2008-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สารคดีฉบับพิเศษ "รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย", พ.ศ. 2541
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภ��ณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เริ่มตำแหน่ง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547) |
สุวิทย์ คุณกิตติ |