บุพสัญญา
บุพสัญญา (”) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอัญประกาศคู่แต่มีด้านปิดเพียงด้านเดียว หรือคล้ายรูปสระ ฟันหนู (") ใช้สำหรับเขียนแทนคำหรือประโยคที่อยู่ในบรรทัดบนหรือเหนือขึ้นไปในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเขียนซ้ำอีก สามารถใช้ขีดกลางยาวประกอบเครื่องหมาย (เช่น ———”———) เพื่อกำหนดขอบเขตของการกล่าวซ้ำโดยสังเขป และอาจพบเครื่องหมายบุพสัญญามากกว่าหนึ่งตัวในการซ้ำครั้งเดียวกัน (เช่น —”———”—) เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม บทนิพนธ์หลายชนิดอาทิวิทยานิพนธ์ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ปรากฏในเนื้อหาเพื่อละข้อความ แต่ให้ใช้คำเต็มแทน [1]
” 〃 | |
---|---|
บุพสัญญา | |
ภาษาญี่ปุ่นก็มีการใช้บุพสัญญา มีปรากฏในรหัสยูนิโคด U+3003 ดังนี้ 〃 มีชื่อเรียกว่า ditto mark หรือ โนะโนะจิเท็น (ノノ字点) รูปร่างคล้ายกับของภาษาไทยแต่เขียนอยู่ในระดับเดียวกับบรรทัด ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่มีการใช้บุพสัญญา แต่อาจพบการใช้ขีดกลางยาว (em dash) หรือคำว่า Ibid. และ Id. แทนในบรรณานุกรม
ตัวอย่างการใช้งาน
แก้มหาชาติคำหลวง | เป็นวรรณคดีในรัชสมัย | สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ |
ลิลิตโองการแช่งน้ำ | ” | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ |
บุพสัญญาในกรณีนี้ใช้แทนวลี "เป็นวรรณคดีในรัชสมัย" ที่อยู่ข้างบน
ในทางปฏิบัติ การใช้เครื่องหมายนี้เหมาะกับการเขียนมากกว่าการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ เนื่องจากโปรแกรมประมวลคำหรือเว็บเบราว์เซอร์มักจัดตำแหน่งตามแนวดิ่งไม่ตรงกัน อันมีสาเหตุมาจากความกว้างของตัวอักษรแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน (หากใช้ไทป์เฟซแบบความกว้างเท่ากันจะไม่เกิดปัญหานี้) จึงต้องใช้ตารางเข้ามาช่วยจัดรูปแบบ นอกจากนั้นระบบคอมพิวเตอร์สามารถคัดลอกข้อความซ้ำไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้องการได้ เครื่องหมายนี้จึงมีความสำคัญน้อยลง
อ้างอิง
แก้- ↑ บทนิพนธ์ เก็บถาวร 2007-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เครื่องหมายบุพสัญญา เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน