บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์

(เปลี่ยนทางจาก บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์)

บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย[1][2]

บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ประเทศไทย
คู่สมรสวารี ภู่จีนาพันธุ์

ประวัติ

แก้

นายบุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายดุสิต และ นางบัวดัว ภู่จีนาพันธุ์[3] สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) และ ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

บุณคณาวัฒน์ เป็นน้องชายของนายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [4]

งานการเมือง

แก้

บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนร���ษฎรครั้งแรก ใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง (พ.ศ 2543) รวม 3 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 13 กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

ข้าราชการการเมือง

แก้

ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง 3 ครั้ง คือ

  1. เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายปัญจะ เกสรทอง) ปี 2537 - 2538 (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.ต.วุฒิ สุโกศล) ปี 2540 - 2540 (สมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี )
  3. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายกร ทัพพะรังสี) ปี 2541 - 2544 (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี)[5]

กรรมาธิการสามัญ ประจำสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการ 3 คณะ คือ

  1. กรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกคณะกรรมาธิการการกีฬา ปี 2537 - 2538 (สมัยนายชุมพล กาญจนะ เป็นประธาน)
  2. กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2538 - 2539 (สมัยนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน)
  3. กรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา ปี 2540 - 2543 (สมัยนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นประธาน)

กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา

แก้

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค 3 ครั้ง

  1. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2538-2539 (สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นเลขาธิการพรรค)
  2. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2539-2541 (สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นเลขาธิการพรรค) : รักษาการกรรมการบริหารพรรคและรองเลขาธิการพรรค ปี 2541-2541 (สมัยพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รักษาการหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รักษาเลขาธิการพรรค เนื่องจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรม)
  3. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2541-2544 (สมัยนายกร ทัพพะรังสี เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นเลขาธิการพรรค)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เว็บส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
  2. ประวัติย่อ นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  4. "โค้งสุดท้ายภาคเหนือ 7 จ.ทรท.มีสิทธิ์ยกทีม/10 เก้าอี้ชม.นายกฯฝันค้าง-แม่เลี้ยงติ๊กพ่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙