บุญชนะ อัตถากร
ศาสตราจารย์ บุญชนะ อัตถากร (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 - 17 เมษายน พ.ศ. 2547) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (ประเทศไทย) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ [1]
บุญชนะ อัตถากร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พจน์ สารสิน |
ถัดไป | ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 |
เสียชีวิต | 17 เมษายน พ.ศ. 2547 (93 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงแส อัตถากร |
บญชนะ สมรสกับท่านผู้หญิงแส อัตถากร มีบุตรสาว คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ทักษิณา สวนานนท์ (เสียชีวิตแล้ว)
การทำงาน
แก้ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร เริ่มงานสำคัญด้วยการเป็น เลขานุการของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผลงานทางราชการ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ อธิบดีกรมวิเทศสหการ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา มีผลงานด้านการศึกษา โดยเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศาสตราจารย์พิเศษศูนย์คอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตำแหน่งทางการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ[2] และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ[3]
ศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร มีความเชี่ยวชาญด้าน กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การบริหาร และพุทธศาสตร์ มีผลงานทางด้านวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 50 หัวเรื่อง ซึ่งปัจจุบันยังมีความทันสมัย และยังเป็นตำราที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าอ้างอิงจนถึงปัจจุบัน
เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2517[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ 100ปี ศ.บุญชนะ อัตถากร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ 100 ปี ศ.บุญชนะ อัตถากร
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๑. นายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธาน ๒. นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรองประธาน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๕๐, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
ก่อนหน้า | บุญชนะ อัตถากร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พจน์ สารสิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (9 มีนาคม 2512 – 17 พฤศจิกายน 2514) |
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |