ตำบลจรเข้สามพัน
จรเข้สามพัน เป็นตำบลในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในพื้นที่เป็นเทศบาลตำบลจรเข้สามพัน เป็นที่ตั้งของวนอุทยานพุม่วง[2]
ตำบลจรเข้สามพัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Chorakhe Sam Phan |
น้ำตกพุม่วงในวนอุทยานพุม่วง ปัจจุบันค่อนข้างแห้ง มีน้ำน้อย เพราะป่าต้นน้ำถูกทำลาย | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | อู่ทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 88.03 ตร.กม. (33.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 13,357 คน |
• ความหนาแน่น | 151.73 คน/ตร.กม. (393.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71170 (เฉพาะหมู่ 1-3, 8-9, 11-13) 72160 (เฉพาะหมู่ 4-7, 10, 14-15) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 720903 |
เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน | |
---|---|
พิกัด: 14°21′37″N 99°53′06″E / 14.36028°N 99.88500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
อำเภอ | อู่ทอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 88.03 ตร.กม. (33.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 13,357 คน |
• ความหนาแน่น | 151.73 คน/ตร.กม. (393.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05720901 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ 4 ถนนมาลัยแมน ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลจรเข้สามพัน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองโอ่ง และตำบลอู่ทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลยุ้งทะลาย และตำบลสระยายโสม
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองบ่อ (อำเภอสองพี่น้อง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลรางหวาย (อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี) ตำบลดอนแสลบ ตำบลสระลงเรือ (อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี) และตำบลหนองประดู่ (อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี)
ประวัติ
แก้พื้นที่จรเข้สามพัน หรือ "จระเข้สามพัน" สันนิษฐานว่าคงมีจระเข้อยู่มาก[4] บ้างก็สันนิษฐานว่ามีจระเข้อยู่สามพันธุ์ คือ พันธุ์ที่หนึ่งมีเท้าเป็นผังผืดคล้ายตีนเป็ด พันธุ์ที่สอง หน้าแด่น คือมีรอยสีขาวเป็นจุดบนหน้าผาก และพันธุ์ที่สามมีก้อนกลมเหมือนก้อนหูดติดอยู่บนหัวเรียกว่าพันธุ์ ก้อนขี้หมา ภายหลังคงเพี้ยนจาก "พันธุ์" มาเป็น "พัน" และยังมีนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งอาศัยอยู่เรือนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำได้ซื้อลูกจระเข้จากชาวประมงที่ราคา 3,000 เบี้ย เมื่อเลี้ยงได้เติบใหญ่ ทั้งสามีภรรยาก็ถูกจระเข้ที่ตนเองเลี้ยงนี้คาบไปกิน[5]
โดยชื่อ จรเข้สามพัน เป็นชื่ออำเภอเดิมของอำเภออู่ทอง[6] ใช้ชื่ออำเภอจรเข้สามพันแต่แรกตั้งจนปี พ.ศ. 2482 ทางจังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาว่าท้องที่อำเภอจรเข้สามพันเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่เรียกว่า "เมืองท้าวอู่ทอง" จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากหมู่บ้านจรเข้สามพันมาตั้ง ณ บริเวณเมืองโบราณท้าวอู่ทอง และให้เปลี่ยนชื่ออำเภอจรเข้สามพันเป็น อำเภออู่ทอง[7] เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์
การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลจรเข้สามพันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว
- หมู่ที่ 2 บ้านวังหลุมพอง
- หมู่ที่ 3 บ้านรางโพธิ์
- หมู่ที่ 4 บ้านจรเข้สามพัน
- หมู่ที่ 5 บ้านจรเข้สามพัน
- หมู่ที่ 6 บ้านจรเข้สามพัน
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองบอน
- หมู่ที่ 8 บ้านเขาชานหมาก
- หมู่ที่ 9 บ้านรางโพธิ์
- หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งยายฟัก
- หมู่ที่ 11 บ้านเขาวงพาทย์
- หมู่ที่ 12 บ้าน โพธิ์ทอง
- หมู่ที่ 13 บ้านวังทอง
- หมู่ที่ 14 บ้านเนินสมบัติ
- หมู่ที่ 15 บ้านวังขอน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ตำบลจรเข้สามพันเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลจรเข้สามพัน ในปี พ.ศ. 2517[8] ต่อมาปี พ.ศ. 2537 สภาตำบลจรเข้สามพันมี 15 หมู่บ้าน พื้นที่ 88.03 ตารางกิโลเมตร ประชากร 12,427 คน และ 2,542 ครัวเรือน[9] ปี พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลจรเข้สามพันอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน[10]
ปี พ.ศ. 2553 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพันมี 15 หมู่บ้าน พื้นที่ 88.03 ตารางกิโลเมตร ประชากร 13,019 คน และ 4,063 ครัวเรือน มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งแต่ 12.1 ล้านบาทและได้รับความเห็นชอบจากราษฎร[11] พ.ศ. 2554 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพันอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาตะโกปิดทองและป่าเขาเพชรน้อย ในท้องที่ตำบลอู่ทอง และตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นวนอุทยาน พ.ศ. ๒๕๖๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 301 ง): 22. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 37 ง): 30–72. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. "จรเข้สามพัน ในแม่น้ำเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี". มติชน.
- ↑ "ตำนานที่มาของ..แม่น้ำจรเข้สามพัน.. อู่ทอง..สุพรรณบ้านเรา". สุพรรณบ้านเรา.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ให้นายอินนายอำเภอกำแพงแสนเป็นนายอำเภอบางปลา ให้นายจงนายอำเภอจรเข้สามพัน เป็นนายอำเภอกำแพงแสน ให้นายกรปลัดอำเภอเป็นนายอำเภอจรเข้สามพัน]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (8 ง): 142–143. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (เขตตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (เขตตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเทศบาลตำบลจรเข้สามพัน". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 128: 1. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 ตุลาคม ปีเดียวกัน