ตอร์ติยาข้าวโพด
ในอเมริกาเหนือ ตอร์ติยาข้าวโพด (สเปน: tortilla de maíz) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า ตอร์ติยา (tortilla) คือขนมปังแผ่นบางชนิดหนึ่งที่ไม่ใส่สารช่วยให้ขึ้นฟู โดยใช้แป้งที่ได้จากเมล็ดข้าวโพดแห้งบ่มในน้ำปูนใส ผสมกับเกลือ น้ำ และบางครั้งน้ำมันพืช ในเม็กซิโกมีแป้งข้าวโพดสามสีสำหรับทำตอร์ติยา ได้แก่ ข้าวโพดขาว ข้าวโพดเหลือง และข้าวโพดน้ำเงิน (หรือข้าวโพดดำ)
ประเภท | ขนมปังแบน |
---|---|
แหล่งกำเนิด | กัวเตมาลา, เม็กซิโก, เอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส |
ส่วนผสมหลัก | แป้งข้าวโพด |
ขนมปังที่คล้ายคลึงกันจากอเมริกาใต้ที่เรียกว่าอาเรปา (ทำจากข้าวโพดบดโดยตรง ไม่ใช่จากข้าวโพดบ่มน้ำปูนใส และโดยทั่วไปมีความหนากว่าตอร์ติยามาก) มีอยู่ก่อนที่ชาวยุโรปจะเดินทางมาถึงทวีปอเมริกา และถูกชาวสเปนเรียกว่า ตอร์ติยา เนื่องจากมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเค้กไร้สารช่วยให้ฟูและไข่เจียวสเปนดั้งเดิม (แต่เดิมไม่มีมันฝรั่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้) ชาวแอซเทกและกลุ่มชนอื่น ๆ ที่พูดภาษานาวัตล์เรียกตอร์ติยาว่า ตลัชกัลลี (tlaxcalli)[1] และอาหารเหล่านี้ได้กลายเป็นรูปลักษณ์ต้นแบบของตอร์ติยาในปัจจุบัน
เมล็ดข้าวโพดตามธรรมชาติมีหลายสีขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูก ตั้งแต่สีขาวซีด สีเหลือง ไปจนถึงสีแดงและสีม่วงอมน้ำเงิน ในทำนองเดียวกัน ข้าวโพดบดหยาบและตอร์ติยาที่ทำจากข้าวโพดบดหยาบอาจมีสีใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม แผ่นตอร์ติยาสีขาวและสีเหลืองนั้นพบได้บ่อยที่สุด
อ้างอิง
แก้- ↑ Nahuatl Dictionary. (1997). Wired Humanities Project. University of Oregon. Retrieved August 29, 2012, from link เก็บถาวร 2016-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน