ตริโปลี
ตริโปลี (อังกฤษ: Tripoli; อาหรับ: طرابلس / Ṭarābulus, ; ภาษาอาหรับลิเบีย: Ṭrābləs ; ภาษาเบอร์เบอร์: Ṭrables; มาจากกรีกโบราณ: Τρίπολις / Trípolis "สามเมือง") เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเมืองหลวงของประเทศลิเบีย บางครั้งเรียกว่า "ตริโปลีตะวันตก" (อาหรับ: طرابلس الغرب / Ṭarābulus al Gharb) เพื่อให้ต่างจากตริโปลีในประเทศเลบานอน
ตริโปลี طرابلس | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน : ทิวทัศนียภาพของตริโปลี, ย่านศูนย์กลางธุรกิจตริโปลี, ประตูชัยมาร์กุส เอาเรลิอุส, ถนนสายหนึ่งในตริโปลี, สวนชายหาดตริโปลี, จัตุรัสผู้พลีชีพ, พิพิธภัณฑ์ปราสาทแดง | |
พิกัด: 32°53′14″N 13°11′29″E / 32.88722°N 13.19139°E | |
ภูมิภาค | ตริโปลิเตเนีย |
เขต | เขตตริโปลี |
ตั้งถิ่นฐานครั้งแรก | ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช |
ผู้ก่อตั้ง | ฟินิเชีย |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | อิบราฮิม คาลิฟี |
• องค์กรปกครอง | สภาท้องถิ่นตริโปลี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,507 ตร.กม. (582 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 81 เมตร (266 ฟุต) |
ประชากร (2019) | |
• ทั้งหมด | 3,072,000[1] คน |
• ความหนาแน่น | 2,912 คน/ตร.กม. (7,540 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก) |
รหัสพื้นที่ | 21 |
ป้ายทะเบียนรถยนต์ของลิเบีย | 5 |
เว็บไซต์ | tlc.gov.ly |
ตริโปลีมีประชากร 1,065,405 คน (พ.ศ. 2549) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ที่ขอบของทะเลทราย เป็นส่วนของแผ่นดินที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตรงบริเวณที่เป็นอ่าว ชาวฟินิเชียก่อตั้งเมืองตริโปลีขึ้นเมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยตั้งชื่อว่า "Oyat"[2] ตริโปลีเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีท่าเรือ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยลิเบีย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประวัติยาวนาน จึงมีแหล่งโบราณคดีในเมืองมากมาย มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน คือ อากาศร้อน ฤดูร้อนแล้ง ฤดูหนาวฝนตก
เศรษฐกิจ
แก้ตริโปลีเป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักของเศรษฐกิจของลิเบียร่วมกับมิศรอตะฮ์ เป็นศูนย์กลางการธนาคาร การเงิน และการสื่อสารชั้นนำในประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองการค้าและการผลิตชั้นนำในลิเบีย บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานกึ่งที่พักในตริโปลี
ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบ นับตั้งแต่การยกเลิกการคว่ำบาตรลิเบียใน พ.ศ. 2542 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 มีการลงทุนจากต่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในตริโปลี และการจราจรมีความหนาแน่นขึ้นบริเวณท่าเรือของเมืองและสนามบินนานาชาติตริโปลีซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติหลักของลิเบีย[3]
ตริโปลีเป็นที่ตั้งของพื้นที่จัดงานแสดงสินค้านานาชาติตริโปลีซึ่งเป็นนิทรรศการอุตสาหกรรม การเกษตร และการค้าระดับนานาชาติ ตั้งอยู่ที่ถนนอุมัร อัลมุคตาร งานแสดงสินค้านี้หนึ่งในสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส งานแสดงสินค้านานาชาตินี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2–12 เมษายนของทุกปี โดยเฉลี่ยมีผู้เข้าร่วมงานจากประมาณ 30 ประเทศ และจากบริษัทและองค์กรมากกว่า 2,000 แห่ง
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของตริโปลี (1961–1990, 1944–1993) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 32.2 (90) |
35.3 (95.5) |
40.0 (104) |
42.2 (108) |
45.6 (114.1) |
47.8 (118) |
48.3 (118.9) |
48.3 (118.9) |
47.2 (117) |
42.2 (108) |
37.2 (99) |
31.1 (88) |
48.3 (118.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16.4 (61.5) |
18.5 (65.3) |
20.7 (69.3) |
23.7 (74.7) |
27.1 (80.8) |
30.4 (86.7) |
31.7 (89.1) |
32.6 (90.7) |
31.0 (87.8) |
26.5 (79.7) |
23.0 (73.4) |
18.7 (65.7) |
25.03 (77.05) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 12.7 (54.9) |
13.9 (57) |
15.3 (59.5) |
18.7 (65.7) |
21.9 (71.4) |
25.3 (77.5) |
26.7 (80.1) |
27.7 (81.9) |
26.2 (79.2) |
21.5 (70.7) |
16.8 (62.2) |
13.9 (57) |
20.05 (68.09) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 8.0 (46.4) |
9.1 (48.4) |
10.5 (50.9) |
13.7 (56.7) |
16.7 (62.1) |
20.1 (68.2) |
21.7 (71.1) |
22.7 (72.9) |
21.4 (70.5) |
17.6 (63.7) |
12.5 (54.5) |
9.3 (48.7) |
15.28 (59.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -0.6 (30.9) |
-0.6 (30.9) |
0.6 (33.1) |
2.8 (37) |
5.0 (41) |
10.0 (50) |
12.2 (54) |
13.9 (57) |
11.8 (53.2) |
6.6 (43.9) |
1.1 (34) |
-1.3 (29.7) |
−1.3 (29.7) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 62.1 (2.445) |
32.2 (1.268) |
29.6 (1.165) |
14.3 (0.563) |
4.6 (0.181) |
1.3 (0.051) |
0.7 (0.028) |
0.1 (0.004) |
16.7 (0.657) |
46.6 (1.835) |
58.2 (2.291) |
67.5 (2.657) |
333.9 (13.146) |
ความชื้นร้อยละ | 66 | 61 | 58 | 55 | 53 | 49 | 49 | 51 | 57 | 60 | 61 | 65 | 57 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 9.4 | 6.4 | 5.8 | 3.3 | 1.5 | 0.6 | 0.2 | 0.0 | 2.3 | 6.8 | 6.9 | 9.1 | 57.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 170.5 | 189.3 | 226.3 | 255.0 | 306.9 | 297.0 | 356.5 | 337.9 | 258.0 | 226.3 | 186.0 | 164.3 | 2,974 |
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[4] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Deutscher Wetterdienst (extremes and humidity),[5] Arab Meteorology Book (sun only)[6] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Major Urban Areas – Population". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2019.
- ↑ Hopkins, Daniel J (1997). Merriam-Webster's Geographical Dictionary (Index). Merriam-Webster. ISBN 0-8777-9546-0.
- ↑ "Tripoli Economy, Economy of Tripoli, Tripoli Industries, Tripoli Informations :: Traveltill.com". Traveltill.
- ↑ "World Weather Information Service – Tripoli". World Meteorological Organization. May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 13 April 2013.
- ↑ "Klimatafel von Tripolis (Flugh.) / Libyen" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
- ↑ "Appendix I: Meteorological Data" (PDF). Springer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.