ตระกูลเมดีชี (อังกฤษ: Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ

เมดีชี
พระราชอิสริยยศ
ปกครองดัชชีฟลอเรนซ์, แกรนด์ดัชชีแห่งทัสกานี, ดัชชีแห่งอูบิโน, ดัชชีแห่งโรแวร์ และดัชชีแห่งมอนเตเฟลโตร
เชื้อชาติทุสคัน
สาขาเจ้าชายแห่งออตตาเวียโน
ประมุขพระองค์แรกคอสโม เดอ เมดีชี
ประมุขพระองค์สุดท้ายเกียน กาสตอน เดอ เมดีชี แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี
สถาปนาคริสต์ศตวรรษที่ 14
สิ้นสุดค.ศ. 1743

ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system)

ประวัติ

แก้

ตระกูลเมดีชีเดิมมาจากชาวกสิกรในบริเวณมูเกลโล (Mugello) ทางตอนเหนือของฟลอเรนซ์ หลักฐานครั้งแรกที่กล่าวถึงครอบครัวนี้ก็มาจากเอกสารที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1260

ที่มาของชื่อ “เมดีชี” ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่คำว่า “เมดีชี” ในภาษาอิตาลีหมายถึง “หมอยา” สมาชิกตระกูลเมดีชีเริ่มมามีตำแหน่งสำคัญๆ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในกิจการค้าขายขนแกะ โดยเฉพาะกับประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศสเปน ถึงแม้ว่าจะเริ่มมีชื่อเสียงทางการปกครองในบางเมืองแต่ก็ยังไม่มีความสำคัญมากเท่าตระกูลใหญ่ๆ เช่นตระกูลอัลบิซซิ (Albizzi) หรือ ตระกูลสโตรซซิ (Strozzi) สมาชิกที่สำคัญคนหนึ่งที่น่าจะกล่าวถึงในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็คือซาลเวสโตร เดอ เมดีชี (Salvestro de Medici) ผู้เป็นวาทกรของ สมาคมพ่อค้าขนแกะระหว่างการปฏิวัติชิออมปิ (Ciompi) จนถูกเนรเทศเมื่อปี ค.ศ. 1382 การที่ตระกูลเมดีชีเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่งเมื่อปีค.ศ. 1400 ทำให้ทั้งตระกูลถูกห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการปกครองของเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาราว 20 ปี ยกเว้นเมื่ออาเวราร์โด (Averardo (Bicci) de Medici) ก่อตั้งวงศ์เมดีชี (Medici dynasty)

จิโอวานนิ ดิ บิชชิ (Giovanni di Bicci de Medici) ผู้เป็นลูกชายของอาเวราร์โด สร้างความร่ำรวยให้แก่ครอบครัวเมดีชีเพิ่มขึ้นอีกโดยการก่อตั้ง “ธนาคารเมดีชี” และกลายเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในฟลอเรนซ์ ถึงแม้ว่าจิโอวานนี ดิ บิชชิจะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองแต่ก็ได้รับการสนับสนุนเมื่อจิโอวานนิเสนอวิธีเก็บภาษีแบบสัดส่วน (proportional taxing system) โคสิโม เดอ เมดีชี หรือที่รู้จักกันในนาม “โคสิโมผู้อาวุโส” ผู้เป็นลูกชายของจิโอวานนิดำเนินกิจการต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1434 ในฐานะ “gran maestro” หรือ “grand master” ในภาษาอังกฤษและได้รับตำแหน่งประมุขของรัฐฟลอเรนซ์อย่างไม่เป็นทางการ

ตระกูลเมดีชี สาย “อาวุโส” ที่สืบสายมาจาก “โคสิโมผู้อาวุโส” ปกครองรัฐฟลอเรนซ์มาจนเมื่อ อเลสซานโดร เดอ เมดีชีผู้เป็นดยุกคนแรกของฟลอเรนซ์ถูกลอบสังหารเมื่อปี ค.ศ. 1537 การปกครองของตระกูลเมดีชีถูกขัดจังหวะลงสองหน (ระหว่างปี ค.ศ. 1494 ถึงปี ค.ศ. 1512 และ ระหว่างปี ค.ศ. 1527 ถึงปี ค.ศ. 1530) เมื่อมีการปฏิวัติจากประชาชนขับตระกูลเมดีชีออกจากเมือง

อำนาจของตระกูลเมดีชีจึงผ่านไปยังสาย “เล็ก” ที่สืบสายมาจากลอเรนโซ ดิ โคสิโม เดอ เมดีชี หรือที่รู้จักกันในนาม “ลอเร็นโซผู้พ่อ” ผู้เป็นลูกคนเล็กของจิโอวานนี ดิ บิชชิ โดยเริ่มจากโคสิโมที่ 1 เดอ เมดีชี หรือ “Cosimo the Great” การขยายอำนาจของตระกูลเมดีชีบรรยายไว้อย่างละเอียดโดยเบเนเด็ตโต เดอี (Benedetto Dei)

โคสิโมที่ 1 และพ่อเริ่มวางรากฐานตระกูลเมดีชีในทางการธนาคาร การผลิต (รวมทั้งการให้สัมปทานทางธุรกิจ) ทางฐานะทางการเงิน ทางศิลปะ ทางการอุปถัมภ์ศิลปิน และทางศาสนา���พื่อที่จะให้ตระกูลนี้มีอำนาจเป็นเวลานานหลายชั่วคนต่อมา ว่ากันว่าในสมัยของโคสิโม ครึ่งหนี่งของประชากรชาวฟลอเรนซ์เองก็ทำงานให้กับตระกูลเมดีชีในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง

คริสต์ศตวรรษที่ 15

แก้
 
ครอบครัวเปียโร ดิ โคสิโม เดอ เมดีชี (Piero di Cosimo de Medici) โดย ซานโดร บอตติเซลลี ในภาพ “Madonna del Magnificat”
 
ภาพเหมือน ลอเรนโซ เดอ เมดีชี โดย จิโรลาโม มาชิเอตตี (Girolamo Macchietti)
 
ภาพสมาชิกตระกูลเมดีชีภายในขบวนแมไจ 3 คนที่เดินทางมาถวายของขวัญให้พระเยซูเมื่อทรงสมภพ โดยมีฉากหลังเป็นทิวทัศน์ของแคว้นทัสเคนี เป็นจิตรกรรมฝาผนังโดยเบนนอซโซ กอซโซลิ ปี ค. ศ. 1459

เปียโร ดิ โคสิโม เดอ เมดีชี (Piero di Cosimo de Medici) (ค.ศ. 1416-ค.ศ. 1469) ผู้เป็นลูกชายของโคสิโมที่ 1 มีอำนาจอยู่เพียง 5 ปี (ค.ศ. 1464-ค.ศ. 1469) จนลอเรนโซ เดอ เมดีชี ผู้เป็นหลานปู่ที่จักกันในนาม “Lorenzo the Magnificent”--ลอเร็นโซผู้ปรีชา (ค.ศ. 1449-ค.ศ. 1492) มาดำเนินกิจการและการปกครองอย่างมีความสามารถต่อ แต่ความจริงแล้วตำแหน่ง “the Magnificent” เป็นตำแหน่งท้ายชื่อที่ใช้กันบ่อยและมิได้มีความหมายสมกับความหมายของคำ

ลอเร็นโซ เดอ เมดีชีก็เช่นเดียวกับสมาชิกตระกูลเมดีชีคนอื่นที่พยายามรักษาความสำคัญของตระกูลไว้โดยการวางอนาคตและอาชีพให้ลูกๆ ลอเร็นโซสอนให้ เปียโรที่ 2 มีความแข็งแกร่ง ให้จิโอวานนี เป็นผู้คงแก่เรียน และจุยเลียโน (คนละคนกัยจุยเลียโนผู้เป็นพี่ของลอเร็นโซ) เป็นคนดี จุยเลียโนผู้เป็นพี่ของลอเร็นโซถูกลอบสังหารในวัดเมื่อวันอีสเตอร์เมื่อปีค.ศ. 1478 ลอเร็นโซจึงรับเลี้ยง จุยลิโอ ลูกชายของจุยเลียโนเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (ค.ศ. 1478-ค.ศ. 1535) เปียโรที่ 2 ผู้เป็นลูกของลอเร็นโซ เดอ เมดีชีเองได้เป็นประมุขของฟลอเรนซ์ต่อมาหลังจากที่ลอเร็นโซเสียชีวิตแต่เปียโรไม่มีความสามารถเหมือนพ่อ จึงมีส่วนที่ทำให้ครอบครัวเมดีชีถูกไล่ออกจากเมือง

ตระกูลเมดีชีมีอำนาจมากที่สุดในอิตาลีในสมัยนั้นจากการที่มีสมาชิกในตระกูลได้เป็นพระสันตะปาปาสององค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 -- สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 และ สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 -- ซึ่งทำให้เมดีชีกลายเป็นผู้ปกครองโรม และ ฟลอเรนซ์โดยปริยาย พระสันตะปาปาทั้งสององค์เป็นผู้มีบทบาทในการอุปถัมภ์ศิลปะ ตระกูลเมดีชีอีกคนหนึ่งที่ได้เป็นพระสันตะปาคืออเลสซานโดร อ็อตาวิอาโน (Alessandro Ottaviano de' Medici) ผู้ต่อมาเป็น สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11

สมาชิกที่สำคัญที่สุดในตระกูลเมดีชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 คือ โคสิโมที่ 1 (Cosimo I de Medici) ผู้ที่กลับมาจากการปลดเกษียณที่มูเกลโลมาเป็นประมุขสูงสุดของแคว้นทัสเคนี ได้ชัยชนะในการรบกับรัฐเซียนนาเมืองคู่ปรับ และเป็นผู้ก่อตั้ง ราชอาณาจักรฟลอเรนซ์ (Grand Duchy of Tuscany)

ศิลปะและสถาปัตยกรรม

แก้

สิ่งที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดของตระกูลเมดีชีคือการอุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในสมัยศิลปะและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ตอนต้นและตอนที่รุ่งเรืองที่สุด งานศิลปะของฟลอเรนซ์เกือบทั้งหมดในสมัยนั้นเป็นอิทธิพลของครอบครัวนี้ ฉะนั้นงบประมาณที่ใช้ก็คงเป็นจำนวนมหาศาลเพราะศิลปินยุคนั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาและเงินล่วงหน้า

จิโอวานนี ดิ บิชชิผู้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนแรกของตระกูลเมดีชีช่วย มาซาชิโอ (Masaccio) และจ้างฟีลิปโป บรูเนลเลสกีให้บูรณะบาซิลิกาซานโลเร็นโซที่ฟลอเรนซ์เมื่อปี ค. ศ. 1419 โคสิโม เดอ เมดีชีเป็นผู้อุปถัมภ์งานของ โดนาเทลโล และ ฟราแอนเจลิโค แต่ศิลปินคนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับตระกูลเมดีชีคือมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี ซึ่งทำงานให้กับสมาชิกในตระกูลนี้หลายคนเริ่มด้วย ลอเร็นโซผู้ปรีชา ตั้งแต่ลอเร็นโซยังเป็นเด็ก ลอเร็นโซจ้างเลโอนาร์โด ดา วินชี่ทั้งหมดด้วยกัน 7 ปี ลอเร็นโซเองก็เป็นนักกวีและแต่งเพลง ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10ก็อุปถัมภ์ราฟาเอล ผู้ที่เรียกกันว่า “Prince of Painters” สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 จ้างมีเกลันเจโลเขียนผนังหลังแท่นบูชาของชาเปลซิสติน ตระกูลเมดีชีเองก็มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างชาเปลซิสทีนด้วย

เมื่อจิโรลาโม ซาโวนาโรลา (Girolamo Savonarola) ผู้เป็นพระลัทธิโดมินิคันพยายามปฏิรูปศาสนาโดยการเทศนาให้ทำลายหนังสือและภาพเขียนที่ท่านเชื่อว่าขาดคุณธรรมโดยการเผาสิ่งของเหล่านี้ที่เรียกว่า “พระเพลิงเผากิเลส” เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค. ศ. 1497 อึกปีหนึ่งต่อมา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค. ศ. 1498 ซาโวนาโรลากับลูกศิษย์อึกสองคนก็ถูกแขวนคอที่จตุรัสกลางเมืองที่เดียวกับที่เป็นที่ใช้เผาหนังสือ

นอกจากจะให้การสนับสนุนทางศิลปะและสถาปัตยกรรมแล้วตระกูลเมดีชียังเป็นนักสะสมอีกด้วย ปัจจุบันเราจะเห็นสิ่งที่ตระกูลเมดีชีสะสมไว้ได้ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเรนซ์

ทางสถาปัตยกรรมตระกูลเมดีชีมีอิทธิพลต่อสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในฟลอเรนซ์รวมทั้งพิพิธภัณฑ์อุฟฟิซิ, วังพิตติ, สวนโบโบลิ (Boboli Gardens), ป้อมเบลเวเดเร (Belvedere) และวังเมดีชีเอง

ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครในตระกูลเมดีชีที่เป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ตระกูลเมดีชีมีชื่อเสียงในการเป็นผู้อุปถัมภ์นักดาราศาสตร์คนสำคัญคือ กาลิเลโอ กาลิเลอีผู้เป็นครูลูกหลานในตระกูลเมดีชีหลายคน แต่มาหยุดการสนับสนุนเอาในสมัยเฟอร์ดินานโดที่ 2 (Ferdinando II de Medici) เมื่อกาลิเลโอถูกกล่าวหาโดยศาลศาสนาโรมัน (Roman Inquisition) ว่าคำสอนของกาลิเลโอเป็นคำสอนนอกรีต แต่ตระกูลเมดีชีก็ปกป้องกาลิเลโออยู่หลายปีจนกาลิเลโอตั้งชื่อพระจันทร์สี่ดวงของดาวพฤหัสบดีตามชื่อของลูกหลานตระกูลเมดีชี

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

คนสำคัญในตระกูลเมดีชี

แก้
 
โคสิโม เดอ เมดีชี หรือ
“โคสิโมผู้พ่อ”
 
แคทเธอรีน เดอ เมดีชี พระราชินีแห่งฝรั่งเศส
 
แอนนา มาเรีย หลุยซา เดอ เมดีชี

อ้างอิง

แก้
  1. Booth, p 163
  2. 2.0 2.1 Acton, p 208
  • Christopher Hibbert, The House of Medici: Its Rise and Fall (Morrow, 1975)
  • Ferdinand Schevill, History of Florence: From the Founding of the City Through the Renaissance (Frederick Ungar, 1936)
  • Paul Strathern, The Medici - Godfathers of the Renaissance (Pimlico, 2005)
  • Lauro Martines, "April Blood - Florence and the Plot Against the Medici" (Oxford University Press 2003)
  • Accounting in Italy
  • Herbert Millingchamp Vaughan, The Medici Popes. New York: G.P. Putnam’s Sons, 1908
  • Jonathan Zophy, A Short History of Renaissance and Reformation Europe, Dances over Fire and Water. 1996. 3rd ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall, 2003
  • PBS/Justin Hardy, Medici: Godfathers of the Renaissance
  • TLC/Peter Spry-Leverton.PSL, The Mummy Detectives: The Crypt Of The Medici

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้