ตระกูลมาลีนนท์
ตระกูลมาลีนนท์ เป็นตระกูลของชาวไทยเชื้อสายจีน สืบเชื้อสายจากผู้ทรงอิทธิพลในวงการสื่อ นาย วิชัย มาลีนนท์ (16 สิงหาคม 2462 - 8 ตุลาคม 2561) ผู้ก่อตั้ง บีอีซีเวิลด์ ผู้ดำเนินกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 หรือ ช่อง 3 เอชดี ในปัจจุบัน เขามีบุตรชายสี่คน: ประสาร,ประวิทย์,ประชา,ประชุม และมีบุตรสาวสี่คน: รัตนา,นิภา,อัมพร,รัชนี นิพัฒน์กุศล ทุกวันนี้เขาและทายาทของเขาถือครองหุ้น 43% ใน บีอีซีเวิลด์ และถูกจัดอันดับโดย นิตยสารฟอร์บส์ ให้เป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 47 ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562[1]
มาลีนนท์ | |
---|---|
ประเทศ | ประเทศไทย |
ถิ่นพำนักปัจจุบัน | กรุงเทพมหานคร |
นิรุกติศาสตร์ | มา–ลี–นน ภาษาบาลี: मालिन् (มาลินฺ)+नहि (นนฺท) "ดอกไม้แห่งความยินดี" |
ถิ่นกำเนิด | จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ต้นตระกูล | วิชัย มาลีนนท์ |
ตำแหน่ง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ศ. 2548) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (พ.ศ. 2548–2549) |
ทรัพย์สิน | บีอีซีเวิลด์ ช่อง 3 เอชดี ช่อง 3 เอสดี (อดีต) ช่อง 3 แฟมิลี (อดีต) |
บุตรชายคนโตทั้ง 3 ของวิชัยได้เข้ามาช่วยบิดาบริหาร ช่อง 3 ตั้งแต่ต้น ประวิทย์ดูแลด้านการจัดการ แต่เขาออกจากตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เนื่องมาจากปัญหาทางด้านสุขภาพ ประสารเข้ามารับช่วงต่อการบริหารบริษัทสืบต่อจากบิดาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 แต่บริหารได้ไม่นานก็เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งตำแหน่งบริหารจึงตกมาอยู่ที่น้องชายคนเล็กคือ ประชุม มาลีนนท์[2][3] ส่วน ประชา หันหน้าเข้าสู่วงการเมืองด้วยการร่วมก่อตั้ง พรรคไทยรักไทย รับตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงแต่ถูกคำพิพากษาจำคุกเนื่องจากทุจริตคอรัปชั่นในปี พ.ศ. 2556 แต่หนีออกนอกประเทศ[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Family Maleenont". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
- ↑ "วิชัย มาลีนนท์ หนึ่งในตำนานโทรทัศน์ไทย". Manager 360. 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
- ↑ "ตระกูล "มาลีนนท์" เขย่าอีกรอบ "ประวิทย์" ขายหุ้นช่อง 3 3 สาวพี่น้อง "รัตนา-นิภา-อัมพร" คุมเบ็ดเสร็จ". Positioning Magazine. 8 March 2018. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
- ↑ "Pracha sentenced to 12 years". Bangkok Post. 11 September 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Phongpaichit, Pasuk; Baker, Chris (2004). Thaksin; The Business of Politics in Thailand. Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies (NIAS). ISBN 87-91114-78-0. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.